G6PD โรคแพ้ถั่วปากอ้า คืออะไร?


5,489 ผู้ชม

โรคนี้เมื่อเอ่ยถึง หลายๆคนคงเคยได้ยินแต่ไม่เข้าใจ แพ้ถั่วปากอ้าจริงหรือ? แพ้ยังไง? ทำไมถึงแพ้?แน่นอนโรคนี้ไม่ใช้โรคใหม่เลย แต่ก็มีคนอีกมากมายที่ยังไม่รู้จัก วันนี้เรามีคำตอบค่ะ...


G6PD โรคแพ้ถั่วปากอ้า คืออะไร?

โรคนี้เมื่อเอ่ยถึง หลายๆคนคงเคยได้ยินแต่ไม่เข้าใจ แพ้ถั่วปากอ้าจริงหรือ? แพ้ยังไง? ทำไมถึงแพ้?แน่นอนโรคนี้ไม่ใช้โรคใหม่เลย แต่ก็มีคนอีกมากมายที่ยังไม่รู้จัก วันนี้เรามีคำตอบค่ะ

G6PD คืออะไร? G6PD เป็นเอ็นไซม์ที่มีอยู่ในเซลล์ทั่วไปของร่างกาย รวมทั้งเม็ดเลือดแดง ถ้าร่างกายขาดเอนไซม์ชนิดนี้ เมื่อถูกกระตุ้นด้วยของแสลง โดยเฉพาะการทานยาบางชนิด หรือทานถั่วปากอ้า จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกตัวง่ายค่ะ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อโรคอีกอย่างหนึ่งว่า โรคแพ้ถั่วปากอ้านั่นเองค่ะ (Favism) G6PD Deficiency มีการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ผ่านทางโครโมโซมเอกซ์ (X-linked recessive fashion) ทำให้มีผลกระทบต่อเพศชายมากกว่าเพศหญิง การวินิจฉัยโรคนี้ใช้การตรวจสอบทางพันธุกรรม สิ่งสำคัญคือ ถ้าคุณมีภาวะนี้ เมื่อไม่สบายคุณจะต้องบอกแพทย์ พยาบาล หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในทีมสุขภาพ เพื่อจะได้ระมัดระวังในการใช้ยารักษา

อาการของผู้ป่วยโรค G6PD ที่ได้รับยาที่แสลง หรือรับประทานถั่วปากอ้าเข้าไป

– มีไข้สูง หนาวสั่น ซีดเหลือง อ่อนเพลียมาก ปัสสาวะสีดำคล้ายน้ำปลาหรือโคล่า อาการมักจะเกิดขึ้นทันทีหลังเป็นโรคติดเชื้อ หรือหลังได้รับยาที่แสลง หรือหลังจากที่กินถั่วปากอ้า มีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ได้บ่อย

– สำหรับทารกแรกเกิดจะมีอาการ ตัวเหลือง ตาเหลือง หลังคลอดเพียงไม่กี่วันได้ ซึ่งอาจมีอาการเหลืองจัด หรือเหลืองนานกว่าปกติ หรือมีภาวะซีดร่วมด้วย

สิ่งที่ผู้ที่เป็นโรค G6PD ควรหลีกเลี่ยงสำหรับ

– ไวน์แดง
– พืชตระกูลถั่ว
– บลูเบอร์รี
– โยเกิร์ตที่มีส่วนประกอบของถั่วปากอ้า ไวน์แดง พืชตระกูลถั่ว บลูเบอร์รี
– ถั่วเหลือง
– โทนิค (tonic)
– โซดาขิง
– การบูร
– น้ำมันหอมระเหยต่างๆ

คำแนะนำสำหรับผู้ที่เป็นโรค G6PD

– แจ้งแพทย์ทุกครั้งว่ามีภาวะพร่อง G6PD พร้อมกับแสดงบัตรประจำตัว (Identification Card) ที่โรงพยาบาลออกให้ ภายในบัตรจะระบุชื่อยาและสารเคมีที่ต้องหลีกเลี่ยงไว้

– ไม่ควรซื้อยาเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์

– หลีกเลี่ยงการรับประทานถั่วปากอ้า เพราะในถั่วปากอ้ามี Vicine ทำให้สารอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงอาจแตกได้ง่าย

– เมื่อมีอาการซีด เหลือง หรือปัสสาวะเป็นสีโคล่า ต้องรีบปรึกษาแพทย์

– โรคนี้จะเป็นติดตัวไปตลอดชีวิตโดยไม่เกิดอันตรายร้ายแรงถ้ารู้จักระวังรักษาตัว โดยหลีกเลี่ยงยาหรือสารที่แสลง ถ้าเกิดมีภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเนื่องจากภาวะการติดเชื้อผู้ป่วยต้องดื่มน้ำมาก ๆ แล้วรีบไปพบแพทย์

– โรคนี้แยกออกจากธาลัสซีเมีย โดยธาลัสซีเมียมักจะมีอาการซีดเหลือง ตับม้ามโตมาตั้งแต่เกิด

– ผู้ที่เป็นโรคนี้ไม่สามารถบริจาคเลือดได้

รายชื่อยาที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ที่พร่องเอนไซน์ G6PD
1.ยารักษามาเลเรีย ได้แก่ PRIMAQUINE,PAMAQUINE,PENTAQUINE,QUINAQUINEและQUININE
2.ยาลดไข้แก้ปวด ได้แก่ ACETANILID,ASPIRIN,PHENACETIN,PYRAMIDONE
3.ยาจำพวกซัลฟา ได้แก่ SULFANILAMIDE,SULFAPYRIDINE,SULFACETAMIDE, SULFISOXAZOLE,SULFANETHOXYPYRIDAZINE
4.ยาบางอย่างเช่น FURAZOLIDONE,NITROFURANTOIN,CHLORAMPHENICOL, PARAMINOSALICYLIC,NAPIHALINE(ลูกเหม็นที่ใช้ไล่แมลง),VITAMIN K, TRINITROTOLUENE,METHYLENE BLUE, DIMEREAPROL,PHENYLHYDRAZINE,QUINIDINE

โรคนี้ไม่ได้รายแรงอะไร เพียงแต่ว่าผู้ปกครองหรือผู้ป่วย ต้องเข้มงวดเรื่องอาหารบางชนิด และยาบางประเภท เท่านั้นเองค่ะ ส่วนการใช้ชีวิตประจำวันนั้นเหมือนคนปกติทั่วไป

ที่มา  นานาสุขภาพ

อัพเดทล่าสุด