เคยมั้ยที่เวลาขับรถทางไกลผ่าน ปั๊มน้ำมัน หลายปั๊ม แต่สุดท้ายก็ขี้เกียจแวะ คิดเข้าข้างตัวเองในใจว่าเดี๋ยวถ้ามีปั๊มข้างหน้าค่อยจอดก็ได้ รถกำลังทำเวลาทำความเร็วรอบกำลังได้...
เคยมั้ยที่เวลาขับรถทางไกลผ่าน ปั๊มน้ำมัน หลายปั๊ม แต่สุดท้ายก็ขี้เกียจแวะ คิดเข้าข้างตัวเองในใจว่าเดี๋ยวถ้ามีปั๊มข้างหน้าค่อยจอดก็ได้ รถกำลังทำเวลาทำความเร็วรอบกำลังได้ แต่พอขับไปเรื่อยๆ จนออกนอกเขตชุมชน เข้าป่าเขาหรือเส้นที่เปลี่ยวปราศจากผู้คน ทันใดนั้นสัญญาเตือน น้ำมันหมด ก็แสดงขึ้นมา ทีนี้คนที่เคยมีประสบการณ์ดังกล่าวน่าจะเข้าใจถึงความรู้สึกตอนนั้นดีว่า มันเป็นการขับรถที่เต็มไปด้วยความหวาดระแวง และกระสับกระส่าย ไม่สบายใจอย่างมาก กลัวว่าน้ำมันรถจะหมดก่อนถึง ปั๊มน้ำมันหรือไม่
โดยปกติแล้วสัญญาณเตือน น้ำมันหมด จะแสดงต่อเมื่อเหลือน้ำมันในถังอย่างน้อย 10 ลิตร ส่วนคำถามที่ว่า แล้วเราจะขับรถที่สัญญาณแจ้งเตือนตต่อไปได้อีกกี่กิโลเมตร คำตอบนี้ไม่สามารถตอบแบบเป็นตัวเลขชัดๆ ได้ แต่จะขอตอบแบบกว้างๆ ว่า เมื่อสัญญาณแจ้งเตือนน้ำมันใกล้หมดขึ้นมาที่หน้าปัด รถยนต์แต่ละคันจะสามารถขับขี่ได้ในระยะทางที่ไม่เท่ากัน แล้วแต่อัตราสิ้นเปลืองน้ำมันของรถแต่ละรุ่น หากเป็นรถยนต์รุ่นใหม่ระบบรถจะคำนวนระยะไว้ท่หน้าปัดว่าคุณสามารถขับไปได้อีกกิโลเมตร แต่ถ้าเป็นรถยนต์รุ่นเก่าหรือไม่มีระบแจ้งเตือนระยะ ให้คิดไว้เลยว่า จากระยะทางที่ไฟสัญญาณเตือนขึ้น พยายามขับรถหาปั๊มให้ได้ภภายในรัศมี 30 กิโลเมตร ถ้าตัวเลขระยะทาง 50 กิโลเมตร คือตัวเลขเฉลี่ยที่จะไม่ทำให้รถยนต์ของคุณต้องดับกลางทาง
นอกจากต้องคำนวนระยะทางเพื่อวิ่งหา ปั๊มน้ำมัน เติมแล้ว ช่วงนั้นคุณสามารถช่วยประหยัดอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันให้กับตัวรถ เพื่อยืดระยะเวลาให้รถคุณวิ่งได้ไกลอีกด้วย พูดง่ายๆ ว่าเป็นวิธีช่วยเซฟน้ำมันแบบฉุกเฉินจริงๆ
1. พยายามอย่าเบรครถบ่อย เพราะเมื่อเบรครถหรือชะลอควาเร็ว คุณต้องกลับมาเหยียคันเร่งใหม่ การเหยียบคันเร่งบ่อยๆ แบบไม่เลีร้ยงความเร็วให้คงที่ จะทำให้อัตราสิ้นเปลืองน้ำมันรถเพิ่มขึ้น
2. ควบคุมความเร็วของรถให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ หากเป็นรถเครื่องยนต์ 1.3 – 1.8 ลิตร ควรเลี้ยงความเร็วให้อยู่ระวห่าง 45-65 กม. หากเป็นเครื่องยนต์ใหญ่อย่างเครื่อง 2.0 -3.0 ควรเลี้ยงความเร็วให้อยู่ที่ 55 – 75 กม/ชม.
3. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในรถ แอร์, วิทยุ ระบบนำทาง, การชาร์จระบบไฟต่างๆ
4. ปิดกระจก หรือพยายามให้ลมเข้ามาในห้องโดยสารภายในให้น้อยที่สุด เพราะลมที่เข้ามาจะทำให้มีอากาศในรถมากขึ้น รถต้องใช้แรงวิ่งมากขึ้นเพราะมีมวลอากาศอยู่ด้านใน
5. ศึกษาเส้นทางแผนที่ปั๊มน้ำมันในโทรศัพท์มือถือ เพื่อหาปั๊มที่ใกล้ที่สุด
6. นอกจากหาปั๊มน้ำมันใน GPS ในโทรศัพท์มืแถือแล้ว ควรดูด้วยว่าเส้นทางที่กำลังมุ่งหน้าไปการจราจรติดขัดแค่ไหน เพราะหากเกิดการจราจรติดขัดมาก ก็เหมือนคุณนำรถคุณเข้าไปขัง รอวันน้ำมัน
หมดเปล่าๆ
ที่มา mthai.com