ทึ่ง!! แค่ปลูกต้นไม้มหัศจรรย์นี้ในบ้าน อาการภูมิแพ้อากาศ หืดหอบจะหายไป


7,326 ผู้ชม

เมื่อ 17 ปีก่อน Kamal Meattle พำนักที่ Delhi ประเทศอินเดีย สภาพอากาศใน Delhi มีมลภาวะสูง ละอองฝุ่นผงมีปริมาณสูง ทำให้ Kamal ป่วยเป็นโรคแพ้อากาศรุนแรง แพทย์ประจำตัวทำการตรวจปอดอย่างละเอียด ปรากฎว่า อาการแพ้ทำให้ปอดทำงานได้เพียง 70% เท่านั้น หากไม่ทำการรักษา อาการจะยิ่งทรุดถึงขั้นเสียชีวิตได้...


ทึ่ง!! แค่ปลูกต้นไม้มหัศจรรย์นี้ในบ้าน อาการภูมิแพ้อากาศ หืดหอบจะหายไป

เมื่อ 17 ปีก่อน Kamal Meattle พำนักที่ Delhi ประเทศอินเดีย สภาพอากาศใน Delhi มีมลภาวะสูง ละอองฝุ่นผงมีปริมาณสูง ทำให้ Kamal ป่วยเป็นโรคแพ้อากาศรุนแรง แพทย์ประจำตัวทำการตรวจปอดอย่างละเอียด ปรากฎว่า อาการแพ้ทำให้ปอดทำงานได้เพียง 70% เท่านั้น หากไม่ทำการรักษา อาการจะยิ่งทรุดถึงขั้นเสียชีวิตได้

Kamal Meattle ลงมือหาข้อมูลทันที เพื่อฟื้นฟูสุขภาพตนเอง เขาได้รับการช่วยเหลือด้านคำแนะนำ/ผลการทดลองต่างๆจาก :

IIT : Indian Institutes of TechnologyTERI : The Energy and Resources Instituteและ NASA

เขาค้นพบว่า เราสามารถปรับ/เพิ่มคุณภาพอากาศภายในอาคารได้ เพื่อสุขภาพของผู้พักอาศัย ด้วยการปลูกต้นไม้ 3 ประเภทนี้ :

1. Areca Palm – ปาล์มหมาก

2. Mother-in-law’s Tongue – ลิ้นมังกร

3. Money Plant – พลูด่าง

• ปาล์มหมาก

มีประสิทธิภาพสูงในการขจัด คาร์บอนไดออกไซด์ แล้วแปลงเป็นออกซิเจน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ/ผล ต้องปลูกปาล์มหมาก ความสูงขนาดเท่าหัวไหล่ผู้ใหญ่ จำนวน 4 ต้น/คน ( หมั่นเช็ดใบให้สะอาด และนำออกรับแดดกลางแจ้งทุกๆ 3-4 เดือน )

• ลิ้นมังกร

มีประสิทธิภาพในการปรับคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นออกซิเจน โดยเฉพาะช่วงกลางคืน จึงมักปลูกในห้องนอน เพื่อให้อากาศบริสุทธิ์ยามพักผ่อน เพื่อประสิทธิภาพ/ผล ต้องปลูกลิ้นมังกร ความสูงเท่าเอว จำนวน 6-8 ต้น/คน

• พลูด่าง

มีคุณสมบัติขจัด formaldehyde ( ชื่อที่คุ้นๆ คือ ฟอร์มาลีน – น้ำยาอาบศพ ) และสารเคมีอื่นๆที่ระเหยง่าย ( volatile chemicals ) Kamal Meattle ทำการทดลองปลูกต้นไม้สามประเภทนี้ ในอาคารเก่า ( 20 ปี ) เนื้อที่ 50,000 ตารางฟุต มีผู้พักอาศัย 300 คน ต่อต้นไม้สามประเภทนี้จำนวน 1,200 ต้น

ภายในเวลา 10 ชั่วโมง ปริมาณออกซิเจนในระบบเลือดสูงขึ้นถึง 42% และทำการทดลองต่อเนื่อง ปรากฎว่า โรคระคายเคืองตาของคนในอาคารนี้ ลดลง 52% โรคระบบทางเดินหายใจ ลดลง 34% โรคปวดศีรษะ ลดลง 24% โรคปอด ลดลง 12% โรคหืดหอบ ลดลง 9%

ที่มา       www.pageqq.com 

อัพเดทล่าสุด