พระราชทินนามแบบมลายู


9,187 ผู้ชม

พระราชทินนามแบบมลายูมี 3 ชั้นคือ


พระราชทินนามแบบมลายู

พระราชทินนามแบบมลายูมี 3 ชั้นคือ 

ตวนกู Tuanku เป็นคำใช้เรียกเจ้าผู้ครองรัฐและชายา


เต็งกู Tengku เป็นคำแสดงศักดิ์ของเจ้า บุตรของราชา

กู Ku เป็นคำนำหน้าชื่อผู้สืบเชื้อสายจากพระยาเมือง เข้าใจว่ากร่อนมาจาก เอิงกู Enjku หมายถึงผู้สืบสายเจ้า


ตุน Tun เป็นบรรดาศักดิ์ของสามัญชน


นิ Nik เป็นผู้สืบเชื้อสายจากขุนนางชั้นสูง

วัน หรือ แว Wan เป็นผู้สืบเชื้อสายขุนนางชั้นสูงที่ต่ำกว่า นิ


เจ๊ะ Cek เป็นคำยกย่องชื่อผู้ดีมีตระกูล


ดาโต๊ะ Datok เป็นบรรดาศักดิ์

ตู-แว,ตู-วัน,ต่วน,ตน-กู,กู ถือเป็นราชทินนามชั้นสูงสุดหมาบถึงบุตรของพระราชา คำเรียกจะเพี้ยนเสียงกันไปตามสถานที่ต่างๆ แต่คำว่า"ตูแว"พบที่ปัตตานีเท่านั้นและยอมรับกันทางภาษาศาสตร์ว่าน่าจะเป็นคำดังเดิมที่สุด

แว,วัน,นิ ถือเป็นชั้นรองลงมา บุคคลในไทยที่ใช่ราชทินนามนี้คือ นายมูฮัมมัดนอร์ มะทา ซึ่งมักถูกเรียกตามราชทินนามแบบมลายูว่า"วันนอร์" สำหรับคำว่า"นิ"พบน้อยมากและส่วนใหญ่มีแต่ในยะลา

เจ๊ะ,อิง-เจ๊ะ ถือเป็นชั้นสุดท้ายและจะไม่มีต่ำกว่านี้ เป็นราชทินนามชั้นนี้บางครั้งจะใช่เพื่อยกย่องคนธรรมดาที่มีเกียรติก็ได้ ส่วนตัวผมเอง พ่อและปู่ของผมใช่ราชทินนามชั้นนี้

ราชทินนามแบบมลายูจะเป็นแบบพ่อไปสู่ลูก พ่อใช่ราชทินนามชั้นไหนลูกก็ใช่ตาม แต่หากแม่แต่งกับชายที่ราชทินนามชั้นต่ำกว่า ลูกที่เกิด จะลดราชทินนามลง 1 ชั้น เช่น-

แม่เป็น"ตู-แว" พ่อเป็น"เจ๊ะ"หรือสามัญชน ลูกที่เกิดก็จะเป็น"วัน"

ตำแหน่ง แบบ นี้ จะเรียกกันใน แทบ ภาคใต้ของไทยผู้มีสายเจ้าเมือง แขก และ รัฐในมาเล อินโด บูไน

อัพเดทล่าสุด