เห็นแล้วรู้สึกทึ่งเลย!! มะละกอตอนต้นเตี้ย ปลูกทานได้ในกระถาง ทำขายรวย


3,988 ผู้ชม

มะละกอตอนได้คุณสมบัติต้นแม่ครบทุกประการ การรอเมล็ดจากผลผลิตไปปลูกจะเพี้ยนไปทุกช่วงรุ่น เช่น เพี้ยนรสชาติ เพี้ยนสี เพี้ยนขนาด เพี้ยนเนื้อบางหนา จนกระทั่งเพี้ยนไม่เหลือเค้าสายพันธุ์เดิมก็มี


เห็นแล้วรู้สึกทึ่งเลย!! มะละกอตอนต้นเตี้ย ปลูกทานได้ในกระถาง ทำขายรวย

เห็นแล้วรู้สึกทึ่งเลย!! มะละกอตอนต้นเตี้ย ปลูกทานได้ในกระถาง ทำขายรวย
ทำไม ต้องตอนมะละกอล่ะ?

1. มะละกอตอนได้คุณสมบัติต้นแม่ครบทุกประการ การรอเมล็ดจากผลผลิตไปปลูกจะเพี้ยนไปทุกช่วงรุ่น เช่น เพี้ยนรสชาติ เพี้ยนสี เพี้ยนขนาด เพี้ยนเนื้อบางหนา จนกระทั่งเพี้ยนไม่เหลือเค้าสายพันธุ์เดิมก็มี
2. เมื่อซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัทมาปลูก จะได้คุณภาพดีเฉพาะรุ่นแรก หากรอเมล็ด(ตามข้อ 1 ) รุ่นสองและรุ่นต่อไปเพี้ยนไปเรื่อย เพราะเป็นการขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศ
เมล็ดพันธุ์จากบริษัทต่าง ๆ ถูกโปรแกรมมาให้ได้ผลผลิตดีรุ่นเดียวเท่านั้น ถ้ารุ่นต่อไปเราเอาเมล็ดพันธุ์ไปปลูกต่อได้ดีเหมือนรุ่นแรก บริษัทจะขายออกเหรอครับ
3. มะละกอตอน ต้นเตี้ย ไม่ต้องชะเง้อสอยให้ลูกตกจนช้ำ การปลูกเพื่อการตลาดจะห่อผลง่าย ดูแลง่าย เก็บง่ายผลไม่ช้ำเป็นแผล ตลาดต้องการ
4. สามารถปลูกลงกระถาง เหมาะสำหรับสังคมเมือง ผู้ไม่มีที่ดินสำหรับลงปลูก เคลื่อนย้ายสะดวก
5. ใช้ประดับได้ ทานด้วย
การตอนมะละกอ มี 2 แบบคือ
1. ตอนจากกิ่งแขนงของต้นแม่ที่ให้ผลผลิตดี มะละกอนั้นจะมี 3 เพศคือต้นตัวเมีย ต้นตัวผู้และต้นกระเทย มะละกอที่ให้ผลผลิตดีคือมะละกอกระเทย เราจะตัดต้นแม่
ที่มีอายุสูงจากพื้นราว 1.5 เมตร มะละกอมีลำต้นกลวง ให้ใช้พลาสติกผูกปิดไว้ด้านบน รอให้แตกแขนง หรือมะละกอแก่จัดบางต้นอาจมีแขนงก็สามารถตอนได้เลย
2.การตอนจากต้นพันธุ์ดีที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์รุ่นแรก ขนาดตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว จนถึงขนาดใหญ่ โดยกะระยะที่ตอนจากยอดลงมาราว 1 – 2 ฟุต (ตามความ
ต้องการว่าต้องการให้เตี้ยแค่ไหน
อุปกรณ์การตอน
1.ถุงบรรจุขุยมะพร้าวขนาดใหญ่กว่าทั่วไป(ราวถุงแกง)
2.มีดคมหรือคัตเตอร์ใหญ่
3.เชือกฟางสำหรับผูกรัด
4.ไม้เสียบลูกชิ้น/ไม้จิ้มฟันหรือไม้อื่นใด สำหรับกันรอยตัดไม่ให้เนื้อต้นมะละกอกลับมาทบกันอีก
การบากกิ่งแขนง
บากด้วยมีดคมลึก 2 ใน 3 ของกิ่ง ขั้นตอนนี้ต้องระวังไม่ให้แขนงขาดจนเสียเปล่า นำไม้อัดเข้าไปตรงรอยแผล แยกให้เนื้อแขนงมะละกอออกจากกัน
การบากมะละกอต้นอ่อน อาจพบปัญหาจากต้นอ่อนที่มีรูกลางต้น จะทำให้หักโค่นง่ายเมื่อเกิดลมแรง อาจใช้ไม้ดามต้นไว้ระยะหนึ่ง …การบากต้นอ่อนบางต้นแม้จะใช้
ไม้ยันไว้ แต่เนื้อลำต้นอ่อนอาจยุบตัวลงมาทบกันอีก ให้แก้ไขโดยบาก 2 ครั้ง คือตัดเนื้อออกมาแล้วอัดไม้เข้าไป
การอัดไม้ ไม่มีวิธีตายตัว อาจอัดขวางหรือตามยาวก็ได้ สาระสำคัญอยู่ที่เนื้อต้นมะละกอต้องไม่กลับมาทบกันอีก
ผ่าถุงขุยมะพร้าวที่หมาดน้ำปิดคร่อมส่วนที่บากให้มิด จะคร่อมกิ่ง/ต้น ทั้งหมดหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องมิดรอยบาก การผ่าถุงขุยมะพร้าว ผ่าแนวตั้งหรือแนวยาวก็ให้ดูสภาพ
แต่ละกิ่ง/ต้น เป็นหลักความเหมาะสม (ดูหน้างาน)
จากนั้นใช้เชือกฟางผูกรัดถุงขุยมะพร้าวให้แน่น อย่าให้หลวมจนขยับได้
การตอนมะละกอใช้ระยะเวลาประมาณ 40 วัน จึงจะเกิดรากใหม่แข็งแรง สามารถตัดได้ ส่วนต้นแม่หลังจากตัดกิ่งแขนงออกไปแล้วอาจโทรม ให้ใช้ปุ๋ยยูเรีย(46-0-0)
บำรุงให้เกิดกิ่งแขนงต่อไปได้เรื่อย ๆ
กิ่งแขนงหรือต้นที่ตัดออกมาจะเกิดอาการใบเฉาในไม่กี่นาที เนื่องจากมะละกอใบใหญ่ คายน้ำเร็วมาก เมื่อขาดน้ำเลี้ยงจากต้นแม่ จึงควรเลือกเวลาตัดในตอนเย็นหรือ
ในวันแดดน้อย ยิ่งมีฝนด้วยจะดีมาก เพื่อป้องกันการเสียน้ำของกิ่งตอน ควรตัดก้านใบห่างจากกิ่งราว 1 นิ้ว ให้เหลือใบน้อยที่สุดราว 2 – 3 ใบและเหลือยอดไว้แค่นั้น
ก้านใบที่เหลือจากการตัดออก จะถูกสลัดทิ้งเองในเวลา 3 – 5 วัน
การนำลงปลูก จะปลูกในกระถางหรือปลูกลงดินก็ได้ ระวังอย่ากดดินเหนือกระเปาะตอนหนักมือเกินไปเพราะจะทำให้รากมะละกอขาดได้
มะละกอที่ลงปลูก อาจมาจากกิ่งแขนงที่โค้งงอ แก้ไขโดยให้วางกระถางหันยอดที่โค้งงอนั้นเข้าหาร่ม มะละกอจะดัดตัวเองให้ตรงในไม่กี่วัน พร้อมกับการแตกใบใหม่
ในระยะแรกราว 12 วัน …หลังจากนั้นเริ่มให้ปุ๋ยยูเรียและสูตรอื่นที่ต้องการได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : เกษตรอินเตอร์เชียงใหม่

อัพเดทล่าสุด