ความจริงตอนตั้งครรภ์ เรื่องอะไร? ที่แม่ท้องต้องกลัว


5,583 ผู้ชม

แม่ท้องหลายคนมักจะกังวลเรื่องที่ไม่น่ากังวล หรือใส่ใจกับปัญหาต่างๆมากไปจนส่งผลร้ายต่อการตั้งครรภ์และลูกน้อย มาดูว่าความกังวลของคุณเหมือนกับแม่ท้องคนอื่นๆ หรือไม่ และแม่ท้องจะมีวิธีรับมืออย่างไร


ความจริงตอนตั้งครรภ์ เรื่องอะไร? ที่แม่ท้องต้องกลัว

แม่ท้องหลายคนมักจะกังวลเรื่องที่ไม่น่ากังวล หรือใส่ใจกับปัญหาต่างๆมากไปจนส่งผลร้ายต่อการตั้งครรภ์และลูกน้อย มาดูว่าความกังวลของคุณเหมือนกับแม่ท้องคนอื่นๆ หรือไม่ และแม่ท้องจะมีวิธีรับมืออย่างไร

ความจริงตอนตั้งครรภ์ เรื่องอะไร? ที่แม่ท้องต้องกลัว

ความจริงตอนตั้งครรภ์ แม่ท้องส่วนใหญ่จะรู้สึกตื่นเต้น และมักจะมีความกังวล คุณแม่บางคนอาจกังวลว่าลูกจะคลอดออกมามีสุขภาพดีหรือไม่ หรือกังวลว่าจะแท้งหรือไม่ หรือจะทนความเจ็บปวดได้หรือไม่ หรือจะให้นมลูกได้หรือไม่ และอื่นๆ อีกมากมาย แต่จริงๆ แล้ว ความเสี่ยงต่ออันตรายจากการตั้งครรภ์นั้นค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงที่สุขภาพแข็งแรง ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า การรับมือกับความกังวลนั้น ต้องพยายามเปลี่ยนความคิดแง่ลบ “คุณควรเชื่อหลักฐานที่หักล้างความวิตกได้” ซาริ เชปเพิร์ด นักจิตวิทยาในลอสแอนเจลิสกล่าว

และต่อไปนี้คือผลวิจัยเกี่ยวกับ ความจริงตอนตั้งครรภ์ ที่แม่ท้องกังวล และวิธีการเอาชนะความกังวล และเพิ่มโอกาสให้คุณและลูกแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

#1 ความพิการแต่กำเนิด (78%)

ข้อเท็จจริง เด็กทุกๆ 97 คน จาก 100 คนที่เกิดในสหรัฐอเมริกาเกิดมาปกติและไม่มีความพิการ เช่น กระดูกสันหลังผิดปกติ หรือดาวน์ซินโดรม ความพิการแต่กำเนิด เช่น โรคเท้าปุก พังผืดระหว่างนิ้วเท้า หรือโรคหัวใจที่เป็นปัญหาเล็กและรักษาได้ “สมัยนี้ การผ่าตัดมีมากมายและรักษาได้หลายโรค” ริชาร์ด โอลนีย์ แพทย์ด้านพันธุกรรมคลินิก แห่ง National Center on Birth Defects and Developmental Disabilities ในแอตแลนตากล่าวไว้

หากคุณไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง โอกาสที่คุณจะมีลูกที่มีความพิการแต่กำเนิดนั้นต่ำมาก ปัจจัยเสี่ยงประกอบด้วยเบาหวาน โรคลมชัก สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า และโรคอ้วน อย่างไรก็ตาม 70% ของความพิการแต่กำเนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด

สิ่งที่คุณทำได้ ทำตัวเหมือนคุณท้องทันทีที่ตัดสินใจจะมีลูก (หรืออาจจะก่อนหน้านั้น ครึ่งหนึ่งของการตั้งครรภ์ในสหรัฐไม่ได้มีการวางแผนมาก่อน) “ความพิการในทารกจะเริ่มขึ้นในช่วงอาทิตย์แรกหรือ 2 อาทิตย์หลังจากที่ประจำเดือนขาดไป” นายแพทย์ไมเคิล ลู ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านสูตินรีและพันธุกรรม แห่ง David Geffen School of Medicine มหาวิทยาลัย University of California, Los Angeles ระบุว่าการรอจนถึงคุณตั้งครรภ์อาจสายเกินไป

รับประทานกรดโฟลิกอย่างน้อยวันละ 400 ไมโครกรัม เพื่อลดความเสี่ยงความพิการทางสมอง เช่น กระดูกสันหลังผิดปกติ แม่ท้องควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงปลาที่มีสารปรอท หยุดดื่มเหล้า หยุดสูบบุหรี่ หรือหยุดกินยาที่ซื้อเอง ห้ามรับประทานอาหารที่ไม่สุก และเปลี่ยนที่นอนของแมว (ทั้งสองปัจจัยนำให้เกิดการติดเชื้อจากสัตว์ ซึ่งส่งผลต่อความพิการของลูก) ลดน้ำหนักหากจำเป็น และพยายามให้ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ

ความจริงตอนตั้งครรภ์ เรื่องอะไร? ที่แม่ท้องต้องกลัว

#2 แท้ง (75%)

ข้อเท็จจริง ความเสี่ยงในการแท้งอาจน้อยกว่าที่คุณคิด สำหรับผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 35 ปี  มีความเสี่ยง 12% ส่วนผู้หญิงอายุ 35 – 39 ปี มีความเสี่ยง 18% (และความเสี่ยงจะเพิ่มเป็น 34% หากอายุ 40 – 44 ปี) การแท้งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อแม่ไม่ทราบว่ามีลูกในท้อง หากคุณเห็นหัวใจลูกเมื่ออัลตราซาวน์ (ประมาณอาทิตย์ที่ 6 – 7) โอกาสแท้งจะลดลงเหลือ 5% นายแพทย์ลูกล่าว

สิ่งที่คุณทำได้ จำไว้ว่าการแท้งเกิดขึ้นเพราะความผิดปกติของโครโมโซมที่ไม่สามารถป้องกันได้ งานวิจัยระบุว่าการออกกำลังกาย การมีเพศสัมพันธุ์ หรือยกของหนักทำให้แท้งได้ การศึกษาล่าสุดระบุว่าการดื่มกาแฟตั้งแต่ 2 แก้ขึ้นไปทุกวัน เพิ่มความเสี่ยง และทำให้เกิดการติดเชื้อ รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเหงือก

#3 เครียดเกินไป (74%)

ข้อเท็จจริง ความเครียดที่พบทุกวัน เช่น การทำงานจนดึก รถติด หรือทะเลาะกับสามีไม่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์และลูก แต่ความเครียดที่ต่อเนื่องในเรื่องใหญ่ๆ ที่ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนอาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการคลอด หรือทำให้ทารกมีน้ำหนักน้อย หรือลูกอาจมีปัญหาด้านนิสัยในระยะยาว

“หากคุณมีความเครียด เช่น เข้ากับเพื่อนร่วมงานหรือคนรักไม่ได้ นั่นอาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์” ศาสตราจารย์ทอม โอคอนเนอร์ ภาควิชาจิตวิทยา University of Rochester Medical Center ในนิวยอร์กกล่าว “หากคุณไม่ได้เครียดถึงขั้นที่กล่าวมา ก็ไม่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์”

สิ่งที่คุณทำได้ สำหรับความเครียดระยะยาวหรืออารมณ์แปรปรวน แม่ท้องควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง ซึ่งสามารถสอนวิธีการรับมือ เช่น ถามคำถามว่าความกังวลเกิดจากอะไร ผู้เชี่ยวชาญสามารถสอนวิธีการออกกำลังกาย เพื่อช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียด คุณสามารถออกกำลังกายด้วยการหายใจที่สอนในห้องเรียนการคลอด หรือฝึกการหายใจลึกๆ คิดถึงความกังวลเมื่อหายใจเข้า และคิดถึงภาพของคุณปล่อยความกังวลเมื่อหายใจออก คุณสามารถพูดว่า “ช่างมัน” เมื่อคุณหายใจออก

ความจริงตอนตั้งครรภ์ เรื่องอะไร? ที่แม่ท้องต้องกลัว

#4 การคลอดก่อนกำหนด (71%)

ข้อเท็จจริง การคลอดก่อนกำหนดเป็นเรื่องที่แม่ท้องหลายคนกังวล 12% ของเด็กที่คลอดก่อนกำหนดเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ ซึ่ง 70% คลอดระหว่างสัปดาห์ที่ 34 – 37 ซึ่งเด็กที่คลอดช่วงหลังนี้ ก็ยังมีความเสี่ยง แต่น้อยกว่าเด็กที่คลอดก่อนกำหนด ปัจจัยความเสี่ยงของเด็กคลอดก่อนกำหนดนั้นเกิดจากการคลอดก่อนกำหนดหลายครั้ง การตั้งครรภ์ลูกหลายคน หรือความผิดปกติของมดลูกหรือปากมดลูก

สิ่งที่คุณทำได้ ปัจจัยเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดคือโรคอ้วน ความดันสูง และโรคเบาหวาน ดังนั้น แม่ควรมีน้ำหนักตามเกณฑ์ ระดับน้ำตาลและความดันปกติ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเหล้า ควรมีภูมิคุ้มกันครบถ้วน และหากมีการติดเชื้อ ต้องรักษาอย่างถูกวิธี เพราะการติดเชื้อสามารถทำให้คลอดก่อนกำหนด ความเครียดระยาวก็ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดเช่นกัน เพราะฉะนั้นควรดูแลความวิตกและอารมณ์แปรปรวน ควรใช้ยาคลายเครียดที่ปลอดภัยสำหรับการตั้งครรภ์ และปรึกษาแพทย์ว่ายาชนิดใดเหมาะสำหรับคุณ

#5 ความเจ็บปวดจากการคลอด (70%)

ข้อเท็จจริง การคลอดนั้นมีความเจ็บปวดแน่นอน ผู้หญิงส่วนใหญ่ให้คะแนนความเจ็บปวดจากการคลอด 7 หรือ 8 จากคะแนนเต็ม 10 คุณสามารถหลีกเลี่ยงการใช้ยา มีวิธีมากมายที่คุณสามารถบรรเทาความเจ็บปวดหรือความกังวล เช่น การคลอดในน้ำ เปลี่ยนท่าระหว่างคลอด หรือฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เช่น ใช้จินตนาการ

สิ่งที่คุณทำได้ ขั้นแรก คุณควรเรียนรู้วิธีการคลาดปวด หากคุณพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ยา การวิจัยระบุว่าคุณสามารถใช้วิธีธรรมชาติ ด้วยการกระตุ้นลมหายใจ พูดคุยกันระหว่างคลอด และไม่มีสิ่งกระตุ้นความปวด คุณแม่ควรรู้ว่าจะเจอกับอะไร เพราะการไม่รู้ทำให้เกิดความกังวล “หากคุณรู้สาเหตุความเจ็บปวด จะช่วยบรรเทาความกังวล” เอริกา บลีเบิร์ก โค้ชการคลอด ในเกลนริจ์ รัฐนิวเจอร์ซีย์กล่าว ความกังวลทำให้เกิดความเครียด และทำให้หายใจลำบากขึ้นและความเจ็บปวดมากขึ้น คุณควรลงคอร์สสอนคลอดแต่เนิ่นๆ

ควรมีแผนการคลอด แต่อย่าเพิ่งตัดสินใจเร็ว “ผู้หญิงจะผิดหวัง หากต้องเปลี่ยนแผน” วองกล่าว ถ้าคุณยังไม่แน่ใจว่าจะรับมือกับความเจ็บปวดอย่างไร ให้รอจนกว่าคุณจะทนไม่ไหว ซึ่งอาจใช้เวลา 20 – 30 นาที ตั้งแต่ที่คุณขอยา กว่าที่ความเจ็บปวดจะบรรเทา

ที่มา : fitpregnancy

อัพเดทล่าสุด