สุดยอด! อินทผลัม ประโยชน์กับคุณแม่ตั้งครรภ์-หลังคลอด-ให้นมลูก


3,669 ผู้ชม

อินทผลัม  เป็นพืชในตระกูลปาล์ม ซึ่งกำเนิดในตะวันออกกลาง เป็นผลไม้ที่เติบโตได้ดีในที่มีอากาศร้อน อินทผลัมเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์และให้คุณค่ากับร่างกายสูงและยังเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศทางตะวันออกกลางอีกด้วย


สุดยอด! อินทผลัม ประโยชน์กับคุณแม่ตั้งครรภ์-หลังคลอด-ให้นมลูก

อินทผลัม  เป็นพืชในตระกูลปาล์ม ซึ่งกำเนิดในตะวันออกกลาง เป็นผลไม้ที่เติบโตได้ดีในที่มีอากาศร้อน อินทผลัมเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์และให้คุณค่ากับร่างกายสูงและยังเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศทางตะวันออกกลางอีกด้วย

สารอาหารสำคัญที่มีอยู่ในอินทผลัม มีดังนี้

  • คาร์โบไฮเดรต
  • น้ำตาล
  • เส้นใยอาหาร
  • โปรตีน
  • วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี วิตามินเค
  • วิตามินบี 1,2,3,5,6,9
  • แคลเซียม
  • แมงกานีส
  • แมกนีเซียม
  • ธาตุเหล็ก
  • ฟอสฟอรัส
  • โพแทสเซียม
  • สังกะสี
  • โซเดียม

ดังที่กล่าวมาจะเห็นว่าในอินทผลัม 1 ผลจะมีสารอาหารที่สำคัญอยู่มาก และสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ที่ให้นมลูก และคุณแม่หลังคลอด ไม่ควรพลาดที่จะได้ทานอินทผลัมเพราะมีประโยชน์กับคุณแม่ดังนี้

1. ในอินทผลัมมีเส้นใยอยู่สูง เหมาะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการท้องผูกบ่อย ๆ เส้นใยอาหารในอินทผลัมจะทำให้ระบบขับถ่ายของคุณแม่ดีขึ้น

2. ช่วยให้กระดูกแข็งแรง ในอินทผลัมมีแคลเซียมอยู่มากเหมาะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะขณะตั้งครรภ์คุณแม่ต้องได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ เพื่อให้เสริมสร้างกระดูกและฟันให้ลูกที่อยู่ในท้องค่ะ

3. อินทผลัม เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูก เพราะในอินทผลัมมีแร่ธาตุธรรมชาติอยู่มาก สารอาหารที่มีในอินทผลัมจะช่วยให้น้ำนมแม่คงที่และสร้างความอุดมสมบูรณ์ด้วยคุณค่าทางอาหารที่สำคัญสำหรับทารก และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกอีกด้วย

4. สำหรับหญิงตั้งครรภ์ การรับประทานอินทผลัมในช่วงเดือนท้าย ๆ ก่อนคลอดบุตร จะช่วยขยายมดลูกในช่วงการคลอด และยังช่วยลดอาการตกเลือดหลังจากการคลอดได้อีกด้วย

5. สำหรับคุณแม่หลังคลอดการทานอินทผลัมจะช่วยลดอาการซึมเศร้าหลังคลอดได้ดี

6. สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน การรับประทานอินทผลัม จะช่วยบำรุงตับอ่อนและรักษาโรคเบาหวานได้ค่ะ

อินทผลัม เป็นผลไม้ที่ชาวมุสลิมนิยมทานกันมาก โดยเฉพาะในช่วงเดือนรอมฏอน(เดือนถือศีลอด) เพราะในอินทผลัมให้สารอาหารที่สำคัญกับร่างกายหลายอย่างจึงทำให้ร่างกายของผู้ถือศีลอดไม่เป็นผู้ขาดสารอาหารนั่นเอง

อัพเดทล่าสุด