ตะขบ มีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น โพแทสเซียม แคลเซียม และฟอสฟอรัส ตะขบจะมีสารที่ให้สีแดงคือสารไลโคปีน กรดเอลลาจิก แอนโธไซยานิน
ตะขบ มีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น โพแทสเซียม แคลเซียม และฟอสฟอรัส ตะขบจะมีสารที่ให้สีแดงคือสารไลโคปีน กรดเอลลาจิก แอนโธไซยานิน
และกรดแกลลิก ที่ช่วยทำให้ระบบการทำงานของต่อมลูกหมากดีขึ้น
ทั้งยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด รวมถึงปกป้องเซลล์จากการถูกทำลายจากสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะช่วยดูแลหัวใจ นอกจากนี้ แพทย์แผนไทยยังใช้ตะขบในการรักษาอาการไข้ และเป็นยาบำรุงกำลังอีกด้วย
ล่าสุดทางสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประสบความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนา “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสารสกัดตะขบ” พบว่ามีการออกฤทธิ์ช่วยเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ ช่วยลดความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อสามารถทำงานได้ทนทานขึ้น
ใช้บริโภคเสริมอาหารเพื่อช่วยให้เกิดความแข็งแรงทนทานของกล้ามเนื้อดีขึ้น เมื่อมีการทำงานหนัก หรือออกกำลังกายเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อให้แข็งแรงเร็วขึ้น เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้เริ่มออกกำลังกายใหม่ ผู้ฝึกฝนร่างกายเพื่อให้สมรรถภาพร่างกายดีขึ้นหรือนักกีฬา
สรรพคุณตะขบ
ผลสุก (รับประทานสด)
– ให้พลังงาน บำรุงร่างกาย และช่วยให้เจริญอาหาร
– เป็นยาเสริมแคลเซียม ป้องกันโรคกระดูกพรุน
– ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคมะเร็ง และการเสื่อมสภาพของเซลล์
– ช่วยในการขับถ่าย
ใบ (มีรสฝาดใช้ตากแห้งสำหรับชงเป็นชาดื่ม)
– ใช้เป็นยาระบาย
– ช่วยระงับอาการไอ อาการเจ็บคอ
ดอก (ตากแห้งนำมาต้มหรือชงเป็นชาดื่ม)
– บรรเทาอาการไอ อาการเจ็บคอ
– บำรุงตับ ป้องกันการเสื่อสภาพของตับ
– บรรเทาอาการเป็นหวัด และลดไข้
– แก้อาการท้องเสีย อาการอาหารเป็นพิษ
– ลดอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อแขนขา
– บรรเทาอาการปวดศรีษะ ปวดไมเกรน
ราก ลำต้น และเปลือกลำต้น (นำมาต้มน้ำดื่ม)
– ช่วยเป็นยาระบาย
– ช่วยในการย่อยอาหาร
– บรรเทาอาการไอ ทำให้ชุ่มคอ
– ช่วยขับเสมหะ และบรรเทาอาการอักเสบบริเวณคอ
– ช่วยลดไข้
– บรรเทาอาการท้องเสีย ท้องร่วง
– ช่วยในการขับระดู
– ลดอาการท้องผูก
ราก และลำต้น (บดทา หรือ ต้มใช้ภายนอกร่างกาย)
– นำมาบดทารักษาอาการผื่นคัน
อ้างอิงข้อมูลจาก มูลนิธิหมอชาวบ้านและหนังสือสมุนไพรไทย