น่าทึ่ง! วิธีบีบนิ้วมือ 5 นาที วิถีญี่ปุ่นรักษาโรค ทำง่ายๆได้ในชีวิตประจำวัน


3,784 ผู้ชม

บีบนิ้วมือ 5 นาที วิถีญี่ปุ่นรักษาโรค : แต่ละนิ้วมือมีความเชื่อมต่อกับอวัยวะในร่างกาย เป็นที่ทราบกันดีว่าคนญี่ปุ่นให้ความใส่ใจกับเรื่องการดูแลสุขภาพเป็นอย่างมาก และพวกเขามีความเชื่อว่าแต่ละนิ้วมือของคนเรามีความเชื่อมต่อกับอวัยวะในร่างกาย


น่าทึ่ง! วิธีบีบนิ้วมือ 5 นาที วิถีญี่ปุ่นรักษาโรค ทำง่ายๆได้ในชีวิตประจำวัน

บีบนิ้วมือ 5 นาที วิถีญี่ปุ่นรักษาโรค : แต่ละนิ้วมือมีความเชื่อมต่อกับอวัยวะในร่างกาย เป็นที่ทราบกันดีว่าคนญี่ปุ่นให้ความใส่ใจกับเรื่องการดูแลสุขภาพเป็นอย่างมาก และพวกเขามีความเชื่อว่าแต่ละนิ้วมือของคนเรามีความเชื่อมต่อกับอวัยวะในร่างกาย

ดังนั้นจึงได้ดูแลรักษาสุขภาพตามวิธีการทางการแพทย์ทางเลือกนั้น ซึ่งวิธีการรักษาสุขภาพนี้ก็ได้ผลในเพียง 5 นาทีเท่านั้นซะด้วย
วิธีการดูแลรักษาสุขภาพแบบโบราณนี้รู้จักกันในชื่อว่า Jin Shin Jyutsu เป็นสภาวะสมดุลทางอารมณ์โดยการกระตุ้นจุดบนมือ
ศิลปะการรักษานี้อยู่บนความเชื่อที่ว่า บางจุดสำคัญบนนิ้วมือสามารถรักษาสมดุลของพลังร่างกาย และส่งเสริมสุขภาพทั้งทางร่างกายและอารมณ์
วิธีการรักษานี้มีผลต่ออวัยวะในร่างกาย โดยเพียงใช้มือหนึ่งจับนิ้วมือแล้วบีบแน่นๆ ประมาณ 3-5 นาที
ในขณะที่กำลังทำแบบนั้นอยู่ ควรหายใจเข้าลึกๆ ด้วย หลังจากนั้นนวดนิ้วมือทั้งสองข้าง ขั้นตอนทั้งหมดนี้ใช้เวลาประมาณ 3 นาที
และนี่คือการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอวัยวะในร่างกายกับนิ้วมือแต่ละนิ้ว
นิ้วหัวแม่มือ

อวัยวะ : ท้อง, ม้าม

อารมณ์ : ความวิตกกังวล และ ภาวะซึมเศร้า

 อาการทางกายภาพ : ปัญหาผิว, ปวดหัว, ปวดท้อง, หงุดหงิด

นิ้วชี้

อวัยวะ : กระเพาะปัสสาวะ, ไต

อารมณ์ : ความไม่พอใจ, สับสน, ความกลัว

อาการทางกายภาพ : ปวดกล้ามเนื้อ, ปัญหาการย่อยอาหาร, ปวดฟัน, ปวดหลัง

นิ้วกลาง

อวัยวะ : ตับ

อารมณ์ : ความโกรธ, หงุดหงิด, ลังเล

อาการทางกายภาพ : ปัญหาระบบไหลเวียน, ไมเกรน, ปวดหัว (โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณหน้าผาก), อาการปวดประจำเดือน, เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า

นิ้วนาง

อวัยวะ : ลำไส้ใหญ่, ปอด

อารมณ์ : มองโลกในแง่ร้าย, ความกลัว, ความโศกเศร้า

อาการทางกายภาพ : ปัญหาการย่อยอาหาร, สภาพผิว, โรคหอบหืด และปัญหาทางเดินหายใจอื่น ๆ

นิ้วก้อย

อวัยวะ : ลำไส้เล็ก, หัวใจ

อารมณ์ : หงุดหงิด, ความวิตกกังวล, ขาดความมั่นใจในตนเอง

อาการทางกายภาพ : ปัญหากระดูก, โรคหัวใจ, ความเจ็บปวดในลำคอ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก trueplookpanya.com

อัพเดทล่าสุด