อย่าละเลย! สัญญาณเตือนและวิธีรับมือกับอาการปวดหัว 6 ชนิด ที่แตกต่างกัน


2,189 ผู้ชม

โดยทั่วไปแล้ว ผู้คนใช้ยาหรือวิธีรักษาทางธรรมชาติในการจัดการกับอาการปวดหัว แต่คุณควรรู้ว่าอาการปวดหัวเหล่านั้นไม่ใช่อาการเดียวกันเสมอไป อาการปวดหัวสามารถปรากฏได้หลากหลายรูปแบบ และเป็นเรื่องดีที่คุณจะได้รู้จักกับอาการทุกชนิดของมันและตระหนักถึงมันได้ด้วยการดูจากอาการ


อย่าละเลย! สัญญาณเตือนและวิธีรับมือกับอาการปวดหัว 6 ชนิด ที่แตกต่างกัน

อย่าละเลย! สัญญาณเตือนและวิธีรับมือกับอาการปวดหัว 6 ชนิด ที่แตกต่างกัน

อาการปวดหัวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆในชีวิตประจำวันของเรา และเราต่างก็มีวิธีรับมือที่แตกต่างกันออกไป

  โดยทั่วไปแล้ว ผู้คนใช้ยาหรือวิธีรักษาทางธรรมชาติในการจัดการกับอาการปวดหัว แต่คุณควรรู้ว่าอาการปวดหัวเหล่านั้นไม่ใช่อาการเดียวกันเสมอไป อาการปวดหัวสามารถปรากฏได้หลากหลายรูปแบบ และเป็นเรื่องดีที่คุณจะได้รู้จักกับอาการทุกชนิดของมันและตระหนักถึงมันได้ด้วยการดูจากอาการ
ด้านล่างนี้คือชนิดของอาการปวดหัวที่คุณอาจเคยเผชิญมาแล้ว

1.ปวดหัวคลัสเตอร์
     อาการปวดหัวชนิดนี้สามารถเป็นได้ทั้งสองเพศ แม้มันจะไม่เกิดขึ้นบ่อย แต่การเกิดแต่ละครั้งจะรุนแรงมาก สาเหตุของอาการปวดหัวนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่มักจะเกี่ยวเนื่องกับเส้นประสาทหรือสมองที่มีความผิดปกติ ซึ่งแตกต่างจากอาการปวดหัวไมเกรนหรือความตึงเครียด อาการปวดหัวนี้มักจะเกิดขึ้นต่อเนื่องในบางช่วงเวลา ในด้านของอาการ คุณอาจจะรู้สึกหมดแรงหรือเจ็บปวดขั้นรุนแรง อาการปวดมักจะเกิดขึ้นตรงด้านข้างศีรษะหรือบริเวณรอบๆดวงตา 
     2. ปวดหัวบริเวณต้นคอ
     อาการปวดชนิดนี้ปกติแล้วจะเกิดขึ้นตรงต้นคอหรือส่วนท้ายทอยต่อจากศีรษะ จากนั้นอาการปวดจะย้ายไปที่หน้าผากและส่งผลกระทบต่อหูและบริเวณรอบดวงตา
     อาการปวดนี้เป็นถาวรและมีความรุนแรงแตกต่างกัน เราเรียกมันได้อีกอย่างว่าโรคปวดคอรวมกับปวดศีรษะ มันมักจะผสมกันระหว่างความตึงเครียดและอาการปวดหัวไมเกรน สาเหตุของอาการปวดนี้มาจากปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลังส่วนคอ ซึ่งเส้นประสาทสันหลังเส้นที่สามที่ออกมาจากไขสันหลังเกิดความเสียหายหรือเกิดการระคายเคือง 
     ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะปวดหัวแบบนี้มากกว่าผู้ชาย ผู้ป่วยประมาณ 15-20% บ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าการปวดหัวด้านข้างเกี่ยวข้องกับโรคปวดคอรวมกับปวดหัว 
     3.ปวดหัวไมเกรน
     ไมเกรนเป็นที่รู้จักกันดีว่าคืออาการปวดหัว และจะเริ่มต้นด้วยอาการปวดเหมือนโดนเจาะศีรษะในตอนเช้า ซึ่งจะยกระดับความรุนแรงขึ้นตามการออกกำลังกายหรือการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งอาการจะประกอบไปด้วย: ไวต่อแสง กลิ่น หรือเสียง คลื่นไส้ อาเจียน เห็นเหมือนมีจุดลอยอยู่ข้างหน้า เป็นต้น 
     การเกิดไมเกรนเป็นผลมาจากหลายปัจจัย แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งคือความเครียด ไมเกรนมักจะส่งผลต่อบุคคลที่มีอารมณ์ขุ่นมัวหรืออ่อนแอ บ่อยครั้งที่อาการปวดหัวชนิดนี้จะเกิดขึ้นระหว่างรอบประจำเดือน ปัจจัยอื่นที่อาจก่อให้เกิดอาการนี้ได้คือนิสัยการกินที่ผิดปกติ สูบบุหรี่และนอนไม่หลับ 
     4.ปวดหัวไซนัส
     การปวดหัวไซนัสเกิดขึ้นในบริเวณรูจมูกและทวีความรุนแรงขึ้นระหว่างดวงตา การขยับ โยกศีรษะหรือนอนลง ทำให้ความเจ็บปวดเพิ่มมากขึ้น ในกรณีที่คุณมีอาการปวดหัวประเภทนี้ แต่ไม่มีน้ำมูกไหล นั่นหมายความว่าคุณแค่ต้องจัดการกับอาการปวดหัวทั่วไปไม่เกี่ยวข้องกับไซนัส
     การปวดไมเกรนและไซนัสมักจะเกิดขึ้นพร้อมกัน และพวกมันสามารถเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันได้อีกด้วย ไมเกรนแตกต่างจากไซนัสตรงที่ ไมเกรนเกิดจากปัญหาด้านการมองเห็น ซึ่งจุดนี้จะทำให้คุณเห็นความแตกต่างระหว่างพวกมันได้ 
     5.ปวดหัว TMJ
     ผู้คนประมาณ 75 ล้านต่างได้รับผลกระทบจากอาการปวดหัวประเภทนี้ เพราะมันเป็นอาการเรื้อรัง บางครั้งอาการปวดไม่ได้เกิดบางเวลาเท่านั้น แต่เป็นตลอดเวลา
     อาการโดยทั่วไปคือ: ฟันบิ่นหรือฟันหัก การอุดฟันและการเปลี่ยนตำแหน่งหรือรูปร่างของรอยยิ้ม อาการเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะกล้ามเนื้อหดตัวและก่อให้เกิดความตึงเครียด
     เพื่อแก้ปัญหานี้ จะทำให้ร่างกายส่งเลือดจำนวนมากไปยังพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ แต่มันจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความตึงตรงขากรรไกร คอและไหล่ อาการที่สำคัญอย่างอื่นคือการนอนกัดฟัน 
     6.ปวดหัวรุนแรง
     อาการนี้น่าจะเป็นอาการปวดหัวที่พบบ่อยที่สุด และทุกคนต่างเคยมีประสบการณ์กันทั้งนั้น โดยทั่วไปแล้ว มันจะกินเวลานานหลายชั่วโมงและส่งผลต่ออุณหภูมิในร่างกาย หน้าผาก แก้ม และคอ 
     เมื่อผู้คนเกิดอาการนี้ พวกเขาจะรู้สึกว่าศีรษะปวด เหมือนถูกบีบ และมีความดันอยู่ในหัวซึ่งเกินจะทนไหว อย่างไรก็ตาม อาการปวดนี้จะเป็นในระดับปานกลาง แต่เนื่องจากปัจจัยบางอย่าง อาจทำให้กลายมาเป็นอาการปวดขั้นรุนแรงได้
     โดยทั่วไปแล้ว อาการนี้มักจะเกิดขึ้นในตอนเช้าหรือตอนเย็น การกินยาหรือใช้วิธีรักษาทางธรรมชาติคือคำแนะนำในการรับมือกับอาการนี้

ขอบคุณทีมา: www.rak-sukapap.com

อัพเดทล่าสุด