เคยไหม? ตื่นนอนขึ้นมา ไม่อยากจะเหยียบพื้น จะเจ็บส้นเท้า ต้องค่อยๆเดินสักพักถึงจะดีขึ้น กินยา ฉีดยา เปลี่ยนถุงเท้า รองเท้าก็แล้ว ก็ยังไม่ยอมหายสักที ก็ลองมา เปลี่ยนวิธีการรักษาดูบ้าง
เคยไหม? ตื่นนอนขึ้นมา ไม่อยากจะเหยียบพื้น จะเจ็บส้นเท้า ต้องค่อยๆเดินสักพักถึงจะดีขึ้น กินยา ฉีดยา เปลี่ยนถุงเท้า รองเท้าก็แล้ว ก็ยังไม่ยอมหายสักที ก็ลองมา เปลี่ยนวิธีการรักษาดูบ้าง
ถ้าดูจากแผนที่เท้าที่แสดงจุดสะท้อนที่หมอนวดเท้าใช้นวดกดจุด บริเวณส้นเท้าเป็นจุด Sex Gland หรือเป็นจุดสะท้อนของระบบสืบพันธุ์ของ เรา เมื่อมีอาการเจ็บที่บริเวณดังกล่าวนี้ ก็เป็นสัญญาณให้เรารู้ว่ากำลังมีปัญหากับระบบดังกล่าว
“ไต” ทำหน้าที่คุมระบบสืบพันธุ์ไม่ว่ามดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก อัณฑะ สมรรถภาพทางเพศ
ล้วนแล้วแต่เป็นหน้าที่ของไตที่จะดูแลส้นเท้าและเอ็นร้อยหวาย ถูกขนาบข้างด้วยเส้นลมปราณไต และเส้นลมปราณกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นเส้นลมปราณที่ขนาน เป็นคู่กัน เส้นหนึ่งเป็นหยิน (เย็น) อีกเส้นเป็นหยาง (ร้อน)
“ไต” นั้น เป็นธาตุน้ำ ควบคุมน้ำ ไม่ชอบเย็น ไม่ชอบชื้น
เท่าที่พบผู้ที่ปวดส้นเท้า ส่วนใหญ่แล้วทำผิดต่อไต ดื่มน้ำโดยไม่ถูกวิธี บางคนดื่มน้ำน้อยไป หรือบางคนดื่มน้ำมากไป น้ำเย็น จะทำให้ไตเสียสมดุล ทำให้ปราณ หรือ พลังชีวิต เลือดลมที่เดินผ่านเส้นลมปราณทั้งสองไม่ดี ขาดสารอาหารที่จะหล่อเลี้ยง ยิ่งถ้าได้รับการบาดเจ็บมาแล้ว ก็จะขาดเลือดลมมาฟื้นฟู เปรียบดั่งแม่น้ำที่เน่าเสีย สรรพสิ่งต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ หรือริมแม่น้ำ พากันตายเน่าเสียตามไปด้วยหมด
การที่จะแก้ไขต้องดื่มน้ำให้เพียงพอถูกเวลา น้ำดื่มไม่เย็น นวดเท้า แช่น้ำอุ่น เพื่อให้เลือดลมเดินได้ดี ฟื้นฟูไตให้ทำงานได้ดีขึ้น อาการก็น่าจะดีขึ้น
ผู้ป่วย อาจารย์หญิงผู้ป่วย
อาการ มีอาการเจ็บส้นเท้า 3 ปีกว่าแล้ว เข่าตึง เหยียดขาไม่ค่อยออก ปวดส้นเท้าและปวดขา
พฤติกรรม ดื่มน้ำน้อยมาก จะดื่มช่วงทานอาหารมื้อละ 5 แก้ว หลังอาหารเย็นมีน้ำเต้าหู้ สาเหตุ ไตกำหนดน้ำ ไตมีส่วนสำคัญกับน้ำในร่างกาย เกี่ยวข้องกับการสร้างน้ำ ปัสสาวะ การขับถ่ายปัสสาวะต้องอาศัยพลังจากไตเพื่อปรับสมดุลของน้ำในร่างกาย ไตไม่ชอบเย็น ไม่ชอบชื้น
ตำแหน่งของส้นเท้าเป็นบริเวณที่เส้นลมปราณของ ไต และกระเพาะปัสสาวะเดินผ่าน เมื่อเกิดอาการเจ็บที่บริเวณนี้ก็แสดงว่า ลมปราณหรือเลือดลมที่ไหลผ่านเส้นลม ปราณทั้ง 2 ติดขัด ไหลเวียนไม่สะดวก ก็จะทำให้แนวเส้นหรือบริเวณที่เส้นลมปราณทั้ง 2 ไหลผ่าน จึงทำให้เจ็บและปวดขึ้นได้
แม่บ้านผู้ป่วย
อาการ ปวดส้นเท้าซ้ายมา 2-3 เดือน ข้อเท้าบวมมาถึงหน้าแข้ง เท้าเย็น ปัสสาวะบ่อยและมีกลิ่น
พฤติกรรม ไม่ชอบน้ำเย็น ดื่มแต่น้ำเต้าหู้ 2-3 แก้ว/วัน ดื่มนม น้ำส้ม
คุณสมฤดี
อาการ เจ็บและปวดส้นเท้ามานาน 4 ปี เป็นเบาหวาน
พฤติกรรม ดื่มน้ำเย็นทุกวัน ดื่มน้ำชาใส่น้ำแข็ง ตื่นเช้ามาก็ดื่มกาแฟ 1 แก้ว อาหารเช้าธัญพืชใส่นม ขนมปัง
บทความจากหนังสือ ใครไม่ป่วยยกมือขึ้น กล้วยสุก
www.rak-sukapap.com