7 อาการภาวะหัวใจล้มเหลว! คร่าชีวิต สุรินทร์ พิศสุวรรณ


39,793 ผู้ชม

หัวใจล้มเหลวสาเหตุการเสียชีวิต สุรินทร์ พิศสุวรรณ ลองมาดูอาการต่างๆที่เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว...


7 อาการภาวะหัวใจล้มเหลว! คร่าชีวิต สุรินทร์ พิศสุวรรณ

หัวใจล้มเหลวสาเหตุการเสียชีวิต "สุรินทร์ พิศสุวรรณ" ลองมาดูอาการต่างๆที่เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

จากข่าวการเสียชีวิตของ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว สร้างความโศกเศร้า คนดังในแวดวงการเมืองต่างแสดงความเสียใจผ่านทุกช่องทาง
 

สำหรับลักษณะอาการของภาวะหัวใจล้มเหลว สังเกตได้ 7 ลักษณะอาการ

1. อาการเหนื่อย/หายใจลำบาก (Dyspnea) ในช่วงแรกของการเกิดภาวะนี้ อาการเหนื่อยจะเกิดขึ้นเฉพาะเมื่อออกแรงทำงาน ทำกิจกรรมต่างๆ หรือออกกำลังกาย ซึ่งผู้ป่วยจะ ต้องสังเกตความเปลี่ยนแปลงของตนเอง เนื่องจากความรู้สึกเหนื่อยของแต่ละคนเมื่อออกแรงทำกิจกรรมเดียวกันอาจไม่เท่ากัน แต่เมื่อภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ อาการเหนื่อยก็จะเป็นมากขึ้น จนกระทั่งทำกิจวัตรประจำวันธรรมดา เช่น กวาดบ้าน อาบน้ำ กินข้าว ก็จะเหนื่อยง่ายจนผิดสังเกต และเมื่อภาวะหัวใจล้มเหลวรุนแรงมาก ผู้ป่วยก็จะรู้สึกเหนื่อยแม้ว่ากำลังนั่งเฉยๆก็ตาม

2. อาการนอนราบไม่ได้ (Orthopnea) ผู้ป่วยจะต้องใช้หมอนหนุนหลายใบเพื่อให้ศีรษะยกตัวสูงขึ้น ในรายที่อาการรุนแรงจะไม่สามารถล้มตัวลงนอนราบตามปกติได้เลย ต้องนอนหลับในท่านั่งเท่านั้น

3. อาการเหนื่อยฉับพลันขณะหลับ (Paroxysmal nocturnal dyspnea) คือ ขณะที่ผู้ ป่วยนอนหลับ อยู่ๆก็จะตื่นขึ้นมากะทันหันเพราะรู้สึกเหนื่อย เหมือนคนกำลังจะจมน้ำ หรืออาจตื่นขึ้นมาและมีอาการไอติดๆกัน (Nocturnal cough) จนผู้ป่วยต้องลุกขึ้นนั่งห้อยขา เพื่อให้อา การเหนื่อยหรือไอบรรเทาลง

4. อาการอ่อนเพลีย อ่อนแรง เป็นอาการที่ไม่จำเพาะ เกิดจากเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อต่างๆทั่วร่างกายลดลง

5. น้ำหนักลด ผอมลง ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและเป็นมานาน จะมีน้ำหนักตัวลดลงได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจทำงานหนักขึ้น มีอาการเบื่ออาหาร การดูดซึมอาหารของลำไส้ลดลง ซึ่งเป็นผลจากมีเลือดคั่งอยู่ในหลอดเลือดดำของผนังลำไส้ และมีการเพิ่มขึ้นของสารเคมีชื่อ Tumor necrotic factor (TNF) ในเลือด ทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญพลังงานมากขึ้น

6. เกิดน้ำคั่งในอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ ได้แก่ น้ำที่คั่งในถุงลมของปอด/ปอดบวมน้ำ (Pulmonary edema) ทำให้เกิดอาการเหนื่อย และหากฟังเสียงปอดจะได้ยินเสียงผิดปกติ (Pulmonary rales) หรือน้ำอาจเกิดการคั่งอยู่ในช่อง/โพรงเยื่อหุ้มปอด (Pleural effusion: ภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด)

ซึ่งก็ทำให้มีอาการเหนื่อยเช่นกัน น้ำอาจซึมออกมาจากหลอดเลือดดำในท้อง ทำให้เกิดมีน้ำในท้องขึ้น (Ascites: ท้องมาน) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องโต แน่นท้อง นอกจากนี้เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังอาจเกิดน้ำคั่ง ทำให้เกิดอาการบวมได้ โดยเฉพาะบริเวณหน้าแข้งและข้อเท้า ซึ่งมักจะเป็นมากขึ้นในช่วงเย็น เมื่อผู้ป่วยเดิน ยืน หรือนั่งห้อยขามาตลอดทั้งวัน แต่หากเป็นผู้ป่วยที่นอนอยู่กับเตียง จะเห็นเนื้อเยื่อบริเวณก้นกบบวมแทน

7.อาการอื่นๆ เช่น มีเสียงหัวใจเต้นผิดปกติ คือมีเสียงที่ 3 และ 4 เกิดขึ้น (เสียงหัว ใจในคนปกติมีแค่ 2 เสียง) เรียกว่า S-3 หรือ S-4 gallop ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจพบความดันโลหิตระหว่างตัวบน (Systolic pressure) กับตัวล่าง (Diastolic pressure) มีค่าแคบลง หรืออาจจับชีพจรได้แรงกับเบาสลับกันไปอย่างสม่ำเสมอ เรียกว่า Pulsus alternans ในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นฉับพลัน หรือมีอาการกำเริบขึ้นรุนแรง อาจทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำได้ ผู้ป่วยจะรู้สึกหน้ามืด ใจสั่น ปากเขียว เล็บมือเขียว (ภาวะเขียวคล้ำ) เพราะเนื้อเยื่อต่างๆขาดออกซิเจนได้

www.nationtv.tv

อัพเดทล่าสุด