สุรินทร์ พิศสุวรรณ จากอาจารย์สู่การเมือง


1,963 ผู้ชม

‘อับดุลฮาลีม บินอิสมาแอล พิศสุวรรณ’ คือชื่อที่พ่อแม่ตั้งให้กับเด็กชายคนหนึ่งที่ถือกำเนิดมาในวันที่ 28 ตุลาคม 2492 และเป็นชื่อลูกชายคนแรกของพ่อที่เป็นครูสอนศาสนาอิสลาม


สุรินทร์ พิศสุวรรณ จากอาจารย์สู่การเมือง

สุรินทร์ พิศสุวรรณ จากอาจารย์สู่การเมือง

‘อับดุลฮาลีม บินอิสมาแอล พิศสุวรรณ’ คือชื่อที่พ่อแม่ตั้งให้กับเด็กชายคนหนึ่งที่ถือกำเนิดมาในวันที่ 28 ตุลาคม 2492 และเป็นชื่อลูกชายคนแรกของพ่อที่เป็นครูสอนศาสนาอิสลาม ต่อมาคุณยายของเขาเปลี่ยนชื่อใหม่ให้ว่า ‘สุรินทร์’ และถูกใช้มาจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

การเกิดมาในครอบครัวที่มีบรรพบุรุษและบิดาเป็นครูสอนศาสนา ทำให้ชีวิตของ ดร.สุรินทร์ ดูเหมือนจะมีคนรู้จักจำนวนมาก เพราะเมื่อตอนที่เขาตัดสินใจลงเล่นการเมือง ในปี 2529 สิ่งสำคัญก็คือฐานเสียงส่วนหนึ่งที่สนับสนุนเขามาจากลูกศิษย์ลูกหา ตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษจนสืบเนื่องมาถึงรุ่นพ่อ และส่งต่อมาที่ลูกด้วยบารมีและความนับถือที่มีให้

แต่เมื่อตอนตัดสินใจลงรับสมัครเป็นผู้แทน ดูเหมือนครอบครัวจะไม่เห็นด้วย เพราะมองว่างานอาจารย์เป็นอาชีพที่มั่นคง และการสอนหนังสือเป็นสิ่งที่พ่อผู้ทำงานด้านสอนศาสนาเห็นดีด้วย แต่ท้ายที่สุดเมื่อดร.สุรินทร์ เดินเข้าสู่ถนนการเมือง ครอบครัว นั่นเองที่ช่วยเหลืออย่างเต็มที่ “ให้กำเนิดลูกชายมาแล้ว ใครจะเอาไปใช้ก็ไม่ว่า แต่ขอให้เป็นประโยชน์ ช่วยสังคมได้ ช่วยโลกยิ่งดี เพราะเท่ากับได้รับใช้พระเจ้าเหมือนกัน” แม่ของเขาพูดในครั้งนั้น

อย่างไรก็ตาม ดร.สุรินทร์ ก็ต้องพิสูจน์ฝีมือตัวเองด้วย มีบุคคลสองคนคือ สัมพันธ์ ทองสมัคร และคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ เป็นผู้ชักชวนให้เข้ามาทำงานเพื่อประชาชน และในก็ที่สุดประสบความสำเร็จ ได้เป็น ส.ส. นครศรีธรรมราช บ้านเกิด สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และนั่งเก้าอี้นี้ติดต่อกัน 7 สมัย

สุรินทร์ พิศสุวรรณ จากอาจารย์สู่การเมือง

ความเป็นกัลยาณมิตรระหว่างดร.สุรินทร์ กับคุณหญิงสุภัตราเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมที่โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราชด้วยกัน และยังคงเกื้อกูลกันมาจนถึงทุกวันนี้

เมื่อประตูบานแรกได้เปิดเข้าสู่เส้นทางการเมืองในการได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนแล้ว คราวที่นายชวน หลีกภัย ได้รับเลือกให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรเมื่อปี 2529 ก็ได้ชวนให้ดร.สุรินทร์ มาเป็นเลขานุการ ต่อมายังได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างปี 2535-2538 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างปี 2540-2544

เขาเคยบอกว่าการเติบโตมาจาก ส.ส. บ้านนอก แต่ต้องมานั่งเป็นเจ้ากระทรวงบัวแก้วเป็นเรื่องเสียเปรียบ เพราะต้องทำงานอยู่ต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช่ในพื้นที่ แต่ก็เป็นโอกาสที่จะได้ทำงานภาพรวมเพื่อประเทศ

ในทางการเมือง ดร.สุรินทร์ ยกให้นายชวนเป็นครูทางด้านการเมือง เป็นผู้สอนในเรื่องการเคารพหลักการ และต้องมีความ ‘สุกงอม’ ในสภา ต้องมีกลยุทธ์ มีพรรคพวก เอาตัวรอดได้ และเชื่อมั่นในระบบรัฐสภา ทั้งหมดนั้นทำให้เขาผ่านการหาเสียงในชีวิตมา 7 ครั้ง และผ่านเหตุการณ์การยุบสภามาถึง 6 ครั้ง


ที่มา: thestandard.co/surin-pitsuwan

อัพเดทล่าสุด