เพราะโรคไต ที่น่ากลัวมีสาเหตุหลักๆ มาจากพฤติกรรมในการทานอาหารของเรา โดยเฉพาะอาหารเค็มๆ นอกจากจะต้องลดการสาดน้ำปลา และเกลือลงในอาหารแล้ว ยังมีอาหารอื่นๆ อีกมากมายที่เราควรลด เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการเป็นโรคไต
เพราะโรคไต ที่น่ากลัวมีสาเหตุหลักๆ มาจากพฤติกรรมในการทานอาหารของเรา โดยเฉพาะอาหารเค็มๆ นอกจากจะต้องลดการสาดน้ำปลา และเกลือลงในอาหารแล้ว ยังมีอาหารอื่นๆ อีกมากมายที่เราควรลด เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการเป็นโรคไต
1. โชยุ ที่ทานคู่กับปลาดิบ ซูชิ หรือเป็นส่วนผสมของน้ำซุปราเม็ง
2. มิโสะ ส่วนประกอบของน้ำซุปในอาหารญี่ปุ่น
3. กิมจิ ทานเดี่ยวๆ หรือเป็นส่วนประกอบของอาหารอย่าง ซุปกิมจิ
4. น้ำซุปชาบู สุกี้
5. น้ำจิ้มชาบู สุกี้ อาหารทะเล
6. น้ำจิ้มอาหารปิ้งย่าง หมูกระทะ
7. เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น เนื้อ/หมูเค็ม เนื้อ/หมูแดดเดียว แฮม โลโลน่า ไส้กรอก เบคอน
8. อาหารที่มีส่วนประกอบของชีส
9. พริกเกลือ กะปิ ที่ขายคู่กับผลไม้สด
10. ซอสมะเขือเทศ
11. อาหารสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ผักกาดดอง
12. อาหารหมักดองทุกชนิด
รู้ได้อย่างไร ว่าเราอาจกำลังทานเค็มมากเกินไป?
อาการเริ่มแรกของโรคไต เราอาจสังเกตได้หลังจากทานอาหารที่มีรสเค็มแล้ว เกิดอาการบวม เช่น ขาบวม ตาบวม หรือหลังทานอาหารแล้วรู้สึกหิวน้ำมากกว่าปกติ หลายคนอาจโทษเพียงผงชูรส แต่จริงๆ แล้วอาจเป็นเพราะรสชาติของอาหารที่มีโซเดียมมากเกินไปด้วย
นอกจากนี้หากสังเกตเห็นว่าปัสสาวะมีสีเข้ม หรือมีฟอง อาจเป็นสัญญาณว่าคุณกำลังทานเค็มมากเกินไปด้วยเช่นกัน
ไม่ใช่แค่ทานเค็ม ที่เสี่ยงโรคไต?
นอกจากการทานอาหาร และเครื่องปรุงรสที่มีโซเดียมสูงแล้ว หากเราอยู่ในเกณฑ์ของคนที่เป็นโรคอ้วน มีน้ำหนีกเกินมาตรฐาน ขาดการออกกำลังกาย ทานผักผลไม้น้อย และยังทานอาหารหวานจัดติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจส่งผลให้เป็นโรคไตได้ด้วยเช่นกัน (นอกจากนี้ยังรวมไปถึงอาการไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวานได้อีกด้วย)
ดังนั้นเราควรลดการบริโภคอาหาร และเครื่องปรุงทุกชนิดที่มีรสจัด ทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น ออกกำลังกาย และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่ตลอดเวลา ลดการทานอาหารสำเร็จรูป และทางที่ดีที่สุดคือเลือกปรุงอาหารทานเอง เพื่อควบคุมปริมาณการใช้เครื่องปรุงได้ด้วยตัวเอง
ขอขอบคุณข้อมูล :รายการพบหมอรามา ช่วงลัดคิวหมอ โรคไต