อ่านด่วน! กระเนื้อ เสี่ยงเป็นมะเร็งหรือไม่?


1,274 ผู้ชม

เป็นผลจากการเจริญผิดปกติของผิวหนังส่วนบนลักษณะเป็นตุ่มแบน ผิวอาจดูขรุขระเล็กน้อย มีสีแตกต่างกันได้ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจนกระทั่งสีดำมีขนาดตั้งแต่เป็นจุดเล็ก จนกระทั่งใหญ่เป็นเซนติเมตรก็ได้ ตุ่มมีลักษณะพิเศษ คือ ดูคล้ายตุ่มนั้นแปะบนผิวหนัง


อ่านด่วน! กระเนื้อ เสี่ยงเป็นมะเร็งหรือไม่?

เป็นผลจากการเจริญผิดปกติของผิวหนังส่วนบนลักษณะเป็นตุ่มแบน ผิวอาจดูขรุขระเล็กน้อย มีสีแตกต่างกันได้ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจนกระทั่งสีดำมีขนาดตั้งแต่เป็นจุดเล็ก จนกระทั่งใหญ่เป็นเซนติเมตรก็ได้ ตุ่มมีลักษณะพิเศษ คือ ดูคล้ายตุ่มนั้นแปะบนผิวหนัง

กระเนื้อเกิดจากอะไร?

     แทบทุกคนเมื่ออายุมากขึ้น จะพบกระเนื้อมากบ้างน้อยบ้าง ยิ่งเข้าสู่วัยชราก็จะพบได้บ่อยขนาดใหญ่และมีจำนวนมาก เชื่อว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังตามอายุ นอกจากนี้อาจพบมากขึ้นขณะตั้งครรภ์ ตามหลังการให้ยาฮอร์โมนบางชนิด จึงเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดด้วย

กระเนื้อเกิดขึ้นที่ใดในร่างกายได้บ้าง

     กระเนื้อพบบ่อยที่บริเวณหน้าอก หลัง ใบหน้า คอ และหนังศีรษะ แต่จริง ๆ แล้วสามารถเกิดได้ทุกตำแหน่งของร่างกาย โดยในระยะแรกจะเป็นตุ่มสีน้ำตาลอ่อน ต่อไปจะขยายใหญ่นูนหนาขึ้น สีเข้มและผิวขรุขระมากขึ้น

จะกลายเป็นมะเร็งหรือไม่?

     ดังที่กล่าวแล้วว่าแทบทุกคนจะมีกระเนื้อเมื่ออายุมากขึ้น ถ้ากระเนื้อไม่ได้เกิดขึ้นจำนวนมากอย่างรวดเร็วแล้วจะไม่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติอื่นในร่างกาย แต่เนื่องจากกระเนื้อมักจะมีขนาดโตขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป และถ้ามันอยู่ในบริเวณที่กระทบกระแทบง่าย หรือเราไปแกะเกาทำให้มีเลือดออกก็ขอแนะนำให้รักษา กระเนื้อที่มีสีดำมาก บางครั้งแยกยากจากมะเร็งผิวหนังบางอย่าง ในกรณีเช่นนี้ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง

จะป้องกันการเกิดกระเนื้อได้อย่างไร?

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันการเกิดกระเนื้อที่ได้ผล

จะรักษาอย่างไร ?

วิธีรักษามีหลายวิธี คือ

1. จี้ไฟฟ้า ก่อนจี้จะต้องใช้ยาชาเฉพาะที่ฉีดทาบริเวณรอยโรค แล้วจี้บริเวณรอยโรคด้วยเครื่องจี้ไฟฟ้า หลังจากนั้นขูดเนื้อเยื่อบริเวณที่จี้ออก วิธีนี้จะมีแผลตื้น ๆ บริเวณที่ขูดซึ่งจะหายภายใน 1สัปดาห์

2. จี้ด้วยสารเคมี เช่น กรดไตรคลออะซิติค วิธีนี้ไม่ต้องใช้ยาชา แต่จะมีอาการแสบบ้างบริเวณตำแหน่งที่จี้ การจี้จะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นตายและหลุดออก ข้อเสีย คือ ถ้ากระเนื้อหนามากอาจหลุดไม่หมด หรือต้องจี้หลายครั้ง

3. จี้ด้วยไนโตรเจนเหลว วิธีนี้จะทำให้เกิดตุ่มน้ำพองขึ้นใต้รอยโรค ซึ่งต่อไปจะแห้งเป็นสะเก็ดแล้วหลุดไปใน 2-3 สัปดาห์ ข้อเสียคือบางครั้งอาจเกิดรอยดำหรือขาวหรือแผลเป็นบริเวณรอยโรค สำหรับรอยดำหรือขาวที่เกิดจะจางไปได้ตามเวลา

มีจุดน้ำตาลออกดำที่ผิวหนังเป็นกระเนื้ออย่างเดียวใช่หรือไม่ ?

ไม่ใช่ มีโรคผิวหนังอีกหลายโรคที่ให้ลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น

1. หูด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ที่เรียกว่า Human papilloma virus ผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อจะเป็นตุ่มนูนแข็งผิวขรุขระ แต่สีมักเป็นสีเนื้อหรือน้ำตาลอ่อน

2. ไฝ

3. การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังจากแสงแดด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ผิวขาวที่อาชีพการงานต้องออกแดด เป็นระยะเวลานาน ๆ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลสะสม เห็นผิวหนังเป็นจุดหรือปื้นดำ ๆ มักพบบริเวณใบหน้า คอ แขนด้านนอก หลังมือ

4. มะเร็งผิวหนังบางชนิด บางครั้งแยกจากกระเนื้อยาก ข้อสังเกตคือ ถ้ารอยโรคนั้นโตเร็วมีแผลมีเลือดออก หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนัง

ที่มาข้อมูล : health.sanook.com

อัพเดทล่าสุด