การดูแลรักษาผู้ป่วยลมพิษ
คำตอบที่ดีที่สุด - ลมพิษ ห้ามกิน อะไร
การดูแลรักษาผู้ป่วยลมพิษ
หลีกเลี่ยง หรือกำจัดสาเหตุของผื่นลมพิษ ถ้าสามารถทำได้ ผู้ป่วยจะหายขาดจากโรคลมพิษ วิธีกำจัดสาเหตุของลมพิษให้ปฏิบัติ ดังนี้
1. ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อเป็นการขับสารพิษ ที่เป็นต้นเหตุของผื่นลมพิษออกไปทางไต และควรระวัง ไม่ให้ท้องผูก เพื่อเป็นการกำจัดของเสียออกทางอุจจาระ
2. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นต้นเหตุของลมพิษ ได้แก่ อาหารทะเล อาหารหมักดอง อาหารที่มียากันบูด อาหารกระป๋อง ถั่ว เนื้อสัตว์ เช่น ไก่ หมู เพราะอาจมียาปฏิชีวนะตกค้างอยู่ในเนื้อ นอกจากนี้ ผักผลไม้ที่รับประทานควรแช่น้ำ และล้างให้สะอาด เพื่อกำจัดยาฆ่าแมลง และสารเคมีที่ปนเปื้อนบนผิว หรือเปลือกผลไม้
กรณีที่ไม่ทราบสาเหตุของผื่นลมพิษ หรือทราบสาเหตุแต่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ให้ผู้ป่วยรับประทานยาแก้แพ้ ได้แก่ ยาต้านฮิสตามีน ซึ่งมีอยู่ 2 กลุ่ม ดังนี้
1. ยาต้านฮิสตามีนชนิดทำให้ง่วงน้อย ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์กดอาการลมพิษได้ดี ทำให้ง่วงนอน แต่ราคาแพง ได้แก่ Astemizole, Loratadine เป็นต้น
2. ยาต้านฮิสตามีนชนิดที่ทำให้ง่วงซึม มีฤทธิ์กดอาการผื่นคันดีมาก ข้อจำกัดของยากลุ่มนี้คือ อาการง่วงนอน ซึ่งพบบ่อยกว่ายากลุ่มแรก ยากลุ่มนี้มีหลายชนิดเช่น Chlorpheniramine, Brompheniramine เป็นต้น
กรณีที่เป็นลมพิษเรื้อรัง หาสาเหตุไม่ได้ ควรรับประทานยาต้านฮิสตามีน เพื่อคุมอาการของลมพิษให้สงบ ติดต่อกันนาน 2-4 สัปดาห์ ขนาดของยาต้านฮิสตามีน ที่จะใช้การคุมอาการลมพิษ จะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน
การรับประทานยาต้านฮิสตามีนในระยะยาว ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และกรณีที่ผื่นลมพิษรุนแรง รวมกับอาการแน่นหน้าอก ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้องต่อไป