https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ลูกถูกครูรังแกที่โรงเรียน ควรรับมืออย่างไร พ่อแม่ควรรู้ไว้ MUSLIMTHAIPOST

 

ลูกถูกครูรังแกที่โรงเรียน ควรรับมืออย่างไร พ่อแม่ควรรู้ไว้


1,220 ผู้ชม

ปัญหาครูรังแกเด็ก ถือเป็นเรื่องความรุนแรงในโรงเรียนที่ใครก็ตามไม่ควรปล่อยผ่าน


ปัญหาครูรังแกเด็ก ถือเป็นเรื่องความรุนแรงในโรงเรียนที่ใครก็ตามไม่ควรปล่อยผ่าน นอกจากวิธีรับมือข้างต้นแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถป้องกันปัญหานี้ได้ด้วยการหมั่นสังเกตและติดตามการดำเนินชีวิตลูกอย่างใกล้ชิด พูดคุยกันสม่ำเสมอ มีเวลาให้ลูกอย่างเต็มที่ หากเกิดปัญหาอะไรก็จะได้แก้ไขอย่างทันท่วงที

วิธีเลี้ยงลูก เมื่อลูกถูกครูรังแก คุณพ่อคุณแม่จะรับมืออย่างไรได้บ้าง หรือควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อปกป้องลูกรัก กระปุกดอทคอมมีคำแนะนำมาบอกต่อกันค่ะ

1. ทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย

อย่างแรก พ่อแม่ต้องทำให้ลูกรู้สึกว่าเขาจะปลอดภัย ไม่โดนทำร้ายซ้ำ เพื่อจัดการเรื่องความกลัว โดยควรหลีกเลี่ยงให้เด็กกลับไปอยู่ในสถานที่นั้นชั่วคราว เช่น ย้ายห้องเรียน ไม่บังคับให้ลูกไปโรงเรียน หรือให้เด็กพักการเรียนไปก่อน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและจิตใจของเด็กแต่ละคน แต่ที่แน่ ๆ คือผู้ปกครองต้องอยู่เคียงข้างและให้เด็กอยู่กับกลุ่มคนที่ปลอดภัยและพร้อมจะรับฟังพวกเขาอย่างเข้าใจ

ในภาวะเช่นนี้เด็กอาจจะแสดงพฤติกรรมบางอย่างออกมา เช่น ปัสสาวะรดที่นอน ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้าที่ไม่เคยมี หรืองอแงมากขึ้นคล้ายกับเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่ก็จะต้องอดทนและให้เวลาเขาปรับตัวกับเหตุการณ์เหล่านี้สักพักด้วย

2. พูดคุยกับลูกแบบเปิดใจ

เมื่อลูกถูกทำร้าย อาจรู้สึกกลัวจากการถูกขู่ ไม่กล้าบอกเรื่องที่เกิดขึ้นให้คนอื่นรู้ ยิ่งคนที่รังแกเป็นคุณครูด้วยแล้ว ก็ทำให้ลูกรู้สึกสับสน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรพูดคุยกับลูกอย่างเปิดใจ แสดงให้ลูกเห็นว่าคุณแม่เป็นที่พึ่งพาได้และพร้อมที่จะแก้ปัญหาที่เขากำลังเผชิญ ลองเริ่มจากพูดคุยถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในแต่ละวันให้เป็นกิจวัตร เช่น วันนี้สิ่งที่เจอที่โรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง มีคนมาแกล้งไหม หรือมีเพื่อนไปแกล้งคนอื่นหรือเปล่า ครูเป็นอย่างไรบ้าง

3. เชื่อใจลูก

เวลาลูกมาเล่าอะไรให้ฟัง การเชื่อใจลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพราะนอกจากจะเป็นเกราะคุ้มกันลูกด้วยความอบอุ่นแล้ว ยังเป็นวิธีช่วยให้ลูกเปิดใจ กล้าระบายปัญหาที่เกิดขึ้นให้ฟังมากยิ่งขึ้น โดยสิ่งที่ควรพูดกับลูกทันทีคือ “เกิดอะไรขึ้น เล่าให้ฟังซิ” ในเด็กเล็กอาจต้องถามนำและเจาะรายละเอียดหน่อย เพราะลูกยังเล่าได้ไม่ดีนัก ส่วนสิ่งที่พ่อแม่บางคนถามลูกกลับว่า “ครูทำอย่างนั้นเพราะหนูซน หนูดื้อหรือ ?” ถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะเป็นการกล่าวโทษเหยื่อ (Victim Blaming) และทำให้ลูกรู้สึกว่าคุณไม่เชื่อใจพวกเขานั่นเอง

ทำร้ายเด็ก

4. หาสาเหตุของการรังแก

หลังจากได้รับทราบเรื่องราวจากลูกแล้ว ลองคิดว่าปัญหาที่ลูกโดนคุณครูแกล้งนั้นมาจากอะไรได้บ้าง ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ทั้งคุณครูอารมณ์ร้อน หรือความไม่เข้าใจกันระหว่างคุณครูและนักเรียน จนทำให้เกิดปัญหาขึ้น เมื่อพอจะรู้สาเหตุแล้วจะทำให้คุณพ่อคุณแม่รับมือกับปัญหาของลูกได้ตรงจุดมากขึ้น

5. พูดคุยกับคุณครู

แน่นอนว่าหากเกิดความไม่เป็นธรรมกับลูก ผู้ปกครองมีหน้าที่ต้องปกป้อง กล้าชน อย่ากลัวหรือเกรงใจคนอื่นมากกว่าลูกของเรา ขั้นนี้แนะนำว่าให้หาโอกาสคุยกับคุณครูที่รังแกลูกของเราโดยตรง แต่ถ้าไม่สามารถพูดคุยโดยตรงได้ ให้ลองคุยกับคุณครูท่านอื่นเพื่อหาทางรับมือต่อไป และให้คุณครูช่วยสอดส่องดูแลลูกอีกแรง หากยังไม่ดีขึ้น ควรแจ้งฝ่ายบริหารของโรงเรียน ตลอดจนแจ้งฝ่ายบริหารของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อทำการตรวจสอบ และจัดการตามความผิด เพื่อไม่ให้เด็กถูกรังแกซ้ำ

6. สอนลูกให้รู้จักระวังตัวเอง

นอกจากรับมือกับโรงเรียนแล้ว ก็ต้องไม่ลืมหันมาปลูกฝังลูก ๆ ให้มีความเข้มแข็งทางใจด้วย โดยสอนให้ลูกรู้จักระวังตัวเอง ไม่ไปไหนมาไหนคนเดียว ขอความช่วยเหลือจากคนอื่นเมื่อจำเป็น รวมถึงฝึกให้ลูกรู้จักทักษะจัดการปัญหาหรือวิธีป้องกันตัวเมื่อโดนรังแก และควรสอนด้วยว่าถ้าลูกถูกใครทำร้ายที่โรงเรียน ต้องมาเล่าให้พ่อแม่ฟัง โดยไม่ต้องกลัวใครขู่ เพราะพ่อแม่จะเป็นคนปกป้องลูกเอง ที่สำคัญอย่าลืมให้กำลังใจลูกในวันที่ถูกแกล้งด้วยนะคะ

นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรมีกลุ่มผู้ปกครองทั้งออนไลน์และในชีวิตจริง เพื่อช่วยกันเป็นหูเป็นตา และหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกว่ามีอาการแปลก ๆ ที่เปลี่ยนไปหรือไม่ จะได้รู้ปัญหาได้เร็วขึ้น

ทำร้ายเด็ก

7. อย่าเครียดเกินไป

ปัญหาเหล่านี้ บางครั้งก็ทำให้คนเป็นพ่อเป็นแม่เครียดกว่าลูกเสียอีก หรือวิตกกังวลเกินไปแล้วก็รู้สึกผิดทำให้แทนที่ภายในบ้านจะมีการพูดกันอย่างสนุกสนานผ่อนคลาย กลับกลายเป็นว่าพ่อก็เครียด แม่ก็เครียด ลูกก็เลยพลอยเครียดมากขึ้นไปด้วย ทางที่ดีเราต้องสร้างกำลังใจให้กับตัวเองมาก ๆ พยายามคิดว่าที่ผ่านมาได้ทำดีที่สุดให้กับลูกแล้ว และต้องเดินหน้าด้วยการเลี้ยงลูกให้มีความสุขอย่างปลอดภัย ส่วนกระบวนการอื่น ๆ เช่น การสอบสวน ก็ปล่อยให้ดำเนินไปตามระบบและกฎหมาย

8. พาลูกไปพบจิตแพทย์เด็ก

ในเด็กบางรายอาจมีปัญหาด้านอารมณ์และความรู้สึก หลังจากโดนครูรังแก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจไม่สามารถจัดการได้ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม อย่าปล่อยปัญหานั้นไว้โดยคิดว่าเดี๋ยวลูกก็หาย แต่ควรหาตัวช่วยด้วยการพาไปพบจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น เพื่อให้ประเมินสภาพจิตใจและรับการช่วยเหลือ เพราะการเยียวยารักษาจิตใจตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้เด็กฟื้นฟูได้ดีกว่าปล่อยปัญหาไว้นาน ๆ

อัพเดทล่าสุด