https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ความจำไม่ค่อยดี สมาธิสั้น หลงๆลืมๆ เคล็ดแนวทาง วิธีฝึกจำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น MUSLIMTHAIPOST

 

ความจำไม่ค่อยดี สมาธิสั้น หลงๆลืมๆ เคล็ดแนวทาง วิธีฝึกจำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


643 ผู้ชม

ความจำไม่ค่อยดี สมาธิสั้น หลงๆลืมๆบ้างบางเวลา อยากจะแก้ไขตัวเองให้ความจำดีขึ้น


หากคุณเป็นคนที่ความจำไม่ค่อยดี สมาธิสั้น หลงๆลืมๆบ้างบางเวลา อยากจะแก้ไขตัวเองให้ความจำดีขึ้น ด้วยบทความนี้จะช่วยบอกเคล็ดแนวทาง วิธีฝึกจำให้มีประสิทธิภาพมากขึึ้น จะมีอะไรนั้น ไปดูกันเล๊ย !

1. การออกกำลังกาย

ไม่ได้ช่วยแค่ทำให้ร่างกายแข็งแรงเท่านั้นแต่ยังช่วยเรื่องการทำงานของสมองด้วย การไม่ออกกำลังกายจะทำให้เกิดคราบไขมันและหินปูน ( Plaque) ในเส้นเลือดและหลอดเลือด
ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการสูบฉีดเลือดลดลง นอกจากจะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการหัวใจวายแล้ว ยังทำให้ปริมาณออกซิเจนและสารอาหารที่เลือดนำไปเลี้ยงสมองลดลงอีกด้วย เมื่อสารอาหารไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ก็จะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของสมองลดลง ดังนั้นการออกกำลังกายเป็นประจำจึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ


2. กำจัดสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด

ความโกรธหรือความกังวลเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความเครียด ส่งผลเสียต่อสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจดจำ ในบรรดาสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดทั้งหมด อาการซึมเศร้าเป็นสิ่งที่ทำร้ายสมองได้มากที่สุด เมื่อเรามีอาการซึมเศร้าจะทำให้สาร Cortisol หลั่งออกมามากขึ้น
ซึ่งหากมีสารนี้อยู่บริเวณสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำระยะสั้นเป็นจำนวนมาก ก็อาจทำลายความสามารถในการจดจำสิ่งใหม่ ๆ ได้ ดังนั้นหากรู้สึกว่ามีอารมณ์ซึมเศร้า หรือเครียดก็ควรจะรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วที่สุด


3. จดบันทึก บอกเล่าเรื่องราวสิ่งที่เรียนรู้เป็นประจำ

การจดบันทึก เรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้เจอเป็นประจำ หรืออ่านหนังสือแบบออกเสียงจะช่วยให้คุณพัฒนาความสามารถในการจดจำ รวมไปถึงการอธิบายหรือเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้คนฟังก็ช่วยได้ เพราะจากการศึกษาพบว่าเมื่อมีการให้นักเรียนสอนหรืออธิบายความรู้ต่าง ๆ ให้กับนักเรียนคนอื่น ๆ ฟัง จะเป็นการดึงเอาความทรงจำในเรื่องนั้น ๆ ที่มีอยู่กลับมาใช้อีกรอบ ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น และสามารถจดจำได้ดีขึ้น


4. การจำเป็นภาพ

ในการจดจำสิ่งต่าง ๆ หลายคนมีวิธีจดจำข้อมูลด้วยการจำแบบเป็นภาพ ซึ่งการให้ความสนใจและจดจำรูปภาพ หรือกราฟ ที่ประกอบอยู่ในหนังสือ หรือการจินตนาการสิ่งที่เรากำลังจดจำให้ออกมาในรูปแบบของภาพ รวมไปถึงการใช้ปากกาสีต่าง ๆ ไฮไลท์ส่วนที่สำคัญเอาไว้ ก็จะช่วยให้เราจดจำข้อความเหล่านั้นได้ง่ายขึ้นเช่นกัน


5. ทำกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาสมองและความจำทำ

ทำกิจกรรมที่ช่วยให้เราได้ฝึกสมองอยู่เป็นประจำ เช่น การอ่านหนังสือ หรือเล่นเกมฝึกสมองต่าง ๆ นอกจากจะช่วยให้สมองได้ทำงานอยู่ตลอดเวลาแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะมีปัญหาเรื่องความจำหรือโรคสมองเสื่อมอีกด้วย
รวมไปถึงการฟังเพลงก็ช่วยได้เช่นกัน เพราะเพลงและดนตรีเป็นเหมือนกุญแจในการดึงเอาความทรงจำต่าง ๆ กลับมา จากงานวิจัยพบว่าดนตรีเป็นตัวช่วยอย่างดีในการเรียกความทรงจำ ข้อมูลต่าง ๆ ที่เราได้เรียนรู้ขณะฟังเพลง มักจะถูกเรียกกลับคืนมาเมื่อเราได้ฟัง หรือนึกถึงเพลงนั้นในครั้งต่อ ๆ ไป


ขอขอบคุณบทความดีๆจาก : ThinkBeyond

อัพเดทล่าสุด