https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
10 เรื่องไม่ลับ ที่เราอาจไม่รู้ ของ “ดวงจันทร์” MUSLIMTHAIPOST

 

10 เรื่องไม่ลับ ที่เราอาจไม่รู้ ของ “ดวงจันทร์”


1,252 ผู้ชม

เรื่องไม่ลับของดวงจันทร์ที่หลายคนอาจยังไม่รู้ ซึ่งรวบรวมจากเว็บไซต์ข่าวอวกาศ


เรื่องไม่ลับของดวงจันทร์ที่หลายคนอาจยังไม่รู้ ซึ่งรวบรวมจากเว็บไซต์ข่าวอวกาศ “สเปซด็อทคอม” อโดย โจ ราโอ (Joe Rao) วิทยากรประจำท้องฟ้าจำลองไฮเดน (Hayden Planetarium) ในนิวยอร์ก สหรัฐฯ และ “ไลฟ์ไซน์ด็อทคอม” มานำเสนอ

1.ดวงจันทร์ไม่ได้กลม

หากเราออกไปยืนมองดวงจันทร์จากบนโลก จะได้เห็นด้านสั้นที่สุดชี้ตรงมาหาเรา และศูนย์กลางมวลของดวงจันทร์ ไม่ได้อยู่ตรงเส้นศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ของดวงจันทร์ แต่อยู่ห่างออกจากเส้นสมมติดังกล่าวออกมา 2 กิโลเมตร

2.เราได้เห็นดวงจันทร์มากกว่าครึ่งดวง

ตำราหลายๆ เล่มมักระบุว่า ดวงจันทร์จะหมุนเพียงด้านเดียวเข้าหาโลก ทำให้เราไม่ได้เห็นอีกครึ่งของดวงจันทร์ หากแต่ความจริง เราได้เห็นดวงจันทร์ทั้งหมด 59% ของพื้นที่ดวงจันทร์ทั้งหมดในวงโคจรรูปวงรี

3.จันทร์ครึ่งดวงสว่างไม่ถึงครึ่งของเต็มดวง

ดวงจันทร์ช่วงขึ้น 7 ค่ำ (first quarter moon) และแรม 7 ค่ำ (last quarter moon) ที่เห็นครึ่งดวงนั้น ไม่ได้สว่างเท่ากับครึ่งหนึ่งของช่วงจันทร์เต็มดวง

ทว่าหากผิวดวงจันทร์เกลี้ยงเกลาเหมือนลูกบิลเลียด ความสว่างของพื้นผิวดวงจันทร์ทั้งหมดจะเท่ากัน แต่ดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของโลกนี้มีพื้นผิวที่ขรุขระมาก ทั้งภูเขา หินก้อนใหญ่ กรวดก้อนเล็กและฝุ่นดวงจันทร์ ซึ่งทำให้เกิดเงามากมายบนดวงจันทร์ ดังนั้น ความสว่างในช่วงดังกล่าวของดวงจันทร์จึงเหลือแค่ 1 ใน 11 ของความสว่างเมื่อจันทร์เต็มดวง

4. แสงจันทร์เกือบเต็มดวงยังไม่ถึงครึ่งของจันทร์เพ็ญ

ช่วงที่ดวงจันทร์ปรากฏเกือบจะเต็มดวง 95% มีความสว่างเพียงแค่ครึ่งของจันทร์เต็มดวง แม้ว่าจะดูสว่างเหมือนกำลังเต็มดวง แต่มีค่าความสว่างเพียง 0.7 ขณะที่จันทร์เต็มดวงสว่างประมาณ -12 (ยิ่งเลขน้อยแปลว่ายิ่งสว่างมาก) ซึ่งจะเห็นว่าแม้จะเกือบเต็มดวงแต่ความสว่างยังห่างไกลจันทร์เต็มดวง

5. จันทร์ 3 แสนดวงถึงสว่างได้เท่าดวงอาทิตย์

จันทร์เต็มดวงมีความสว่าง -12.7 ขณะที่ดวงอาทิตย์มีความสว่างอยู่ที่ -26.7 ซึ่งสัดส่วนความสว่างของดวงอาทิตย์ต่อดวงจันทร์เป็น 398,110 ต่อ 1 นั่นหมายความว่า เราต้องใช้จันทร์เต็มดวงเกือบ 4 แสนดวงเพื่อให้ได้ความสว่างเท่าดวงอาทิตย์เพียงดวงเดียว

แต่ถึงเราจะแปะจันทร์เต็มดวงให้ทั่วท้องฟ้า (ทั้งครึ่งบนที่เรามองเห็นกับอีกครึ่งท้องฟ้าซีกล่างที่เรามองไม่เห็น) ก็มีเพื้นที่ให้แค่ดวงจันทร์ได้เพียง 206,264 ดวง ยังขาดอีก 191,836 เราจึงจะได้ความสว่างเทียบเท่าดวงอาทิตย์

6. ดาวโลก-ดวงจันทร์แหว่งกันกลับข้าง

เมื่ออยู่บนดวงจันทร์ในคืนเดือนมืด เราจะเห็นโลก “เต็มดวง” แต่เมื่อจันทร์อยู่ในช่วงข้างขึ้น ซึ่งเราจะเห็นจันทร์แหว่งซีกซ้าย ในทางตรงกันข้ามเราจะเห็นโลกในช่วงแรมแหว่งครึ่งดวงทางขวา

ทว่า เมื่อจันทร์อยู่ในช่วงข้างแรมจะเห็นจันทร์แหว่งด้านขวา แต่เราจะเห็นโลกในช่วงขึ้น ซึ่งปรากฎโลกแหว่งทางซ้าย และเราจะเห็นโลกจากบนดวงจันทร์ ในตำแหน่งเดียวกับที่เห็นดวงจันทร์บนโลก

อย่างไรก็ดี โลกไม่มีวันลับขอบฟ้าที่ดวงจันทร์ โดยจะอยู่ในตำแหน่งเดิมเสมอเมื่อมองจากดาวบริวารเพียงหนึ่งเดียวนี้

7. แสงสีเลือดหมูจากอุปราคาบนโลก

ถ้าเราอยู่บนดวงจันทร์แล้วเห็นโลกบังดวงอาทิตย์ทั้งดวง เราจะได้เห็นวงแหวนแคบๆ สีเลือดหมูรอบโลกดวงมืดๆ ซึ่งเกิดจากแสงดวงอาทิตย์ผ่านชั้นบรรยากาศของโลกเรา โดยสีที่เห็นนั้น เกิดจากการผสมผสานระหว่างแสงยามอาทิตย์ขึ้นและลับขอบฟ้า เช่นเดียวกันกับที่เราเห็นดวงอาทิตย์เป็นสีเลือด เมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง

8. อุณหภูมิสูง-ต่ำบนดวงจันทร์ต่างกันสุดขั้ว

อ้างจากข้อมูลบนเว็บไซต์ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) อุณหภูมิที่เส้นศูนย์สูตรของดวงจันทร์ตอนกลางคืนต่ำถึง -173 องศาเซลเซียส และสูงถึง 127 องศาเซลเซียสในตอนกลางวัน ส่วนในหลุมลึกใกล้ๆ ขั้วดวงจันทร์ มีอุณหภูมิเกือบถึง -240 องศาเซลเซียส

นอกจากนี้ระหว่างเกิดอุปราคา ที่ดวงจันทร์เข้าสู่เงาของโลก อุณหภูมิพื้นผิวของดวงจันทร์จะลดลงฮวบไป 300 องศาเซลเซียสในเวลาไม่ถึง 90 นาทีเลยทีเดียว

9.ดวงจันทร์ก็มี “โซนแบ่งเวลา”

ไม่ใช่แค่โลกเราที่มี “เขตเวลา” (Time Zone) แต่บนดวงจันทร์ก็มี เมื่อปี 1970 เคนเนธ แอล แฟรงกลิน (Kenneth L. Franklin) หัวหน้านักดาราศาสตร์ของท้องฟ้าจำลองไฮเดน ในนิวยอร์ก ได้รับการร้องขอจากบริษัทนาฬิกาให้ออกแบบนาฬิกาสำหรับใช้บนดวงจันทร์ โดยสามารถวัดเวลาแบบ “ลูเนชัน” (Lunations) ซึ่งเป็นคาบเวลาที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก (ลูเนชันละ 29.530589 วันบนโลก)

ทั้งนี้ เส้นแบ่งเวลาหรือเส้นแวงบนดวงจันทร์นั้น มีความกว้าง 12 องศา (ขณะที่เส้นแวงโลกกว้าง 15 องศา) และเขตเวลาบนดวงจันทร์ล้วนมีชื่อเฉพาะ เช่น เขตเวลาโคเปอร์นิแคน (Copernican time), เขตเวลา 36 องศาตะวันออก (36-degree East Zone time) เป็นต้น ส่วนชั่วโมงบนดวงจันทร์มีชื่อเรียกว่า “ลูนาวร์” (Lunour)

10. บริวารหนึ่งเดียวกำลังลอยห่างไปเรื่อยๆ

แม้ว่าเราจะแหงนฟ้าเห็นดวงจันทร์กันอยู่ทุกคืน แต่รู้ไหมว่าดาวบริวารดวงเดียวของโลกกำลังเคลื่อนห่างเราไปเรื่อยๆ ซึ่งทุกๆ ปีดวงจันทร์จะขโมยพลังงานในรูปของการหมุนจากโลก (rotational energy) และใช้ขับเคลื่อนตัวเองให้ห่างออกไป 4 เซนติเมตร

ไลฟ์ไซน์ระบุข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์ว่า เมื่อ 4.6 พันล้านปีก่อน ที่ดวงจันทร์ก่อตัวขึ้น มีระยะห่างจากโลกเพียง 22,530 กิโลเมตร แต่ตอนนี้อยู่ห่างออกไปแล้ว 450,000 กิโลเมตร

| --------------------- |

เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

อัพเดทล่าสุด