ไขข้อข้องใจ 6 เรื่องสำคัญที่ผู้มีสิทธิบัตรทองต้องรู้ไว้


1,171 ผู้ชม

สปสช ได้รวบรวมข้อสงสัยต่างๆพร้อมนำมาไขข้อข้องใจ 6 เรื่องสำคัญที่ผู้มีสิทธิบัตรทอง


“บัตรทอง” หรือ สิทธิสปสช. คือ สิทธิรักษาพยาบาล ให้กับผู้ที่มีสัญชาติไทย มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้ ยกเว้นว่าจะมีสิทธิรักษากับประกันสังคม และสิทธิบัตรข้าราชการอื่นๆ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ได้รวบรวมข้อสงสัยต่างๆพร้อมนำมาไขข้อข้องใจ 6 เรื่องสำคัญที่ผู้มีสิทธิบัตรทอง ควรรู้ไว้ ดังนี้

  1. 4 วิธีเช็กสิทธิบัตรทอง
  1. โทรสายด่วน สปสช.1330 กด 2
  2. เว็บไซต์ www.nhso.go.th สำหรับประชาชน ตรวจสอบสิทธิ
  3. แอปพลิเคชันชื่อ สปสช. ทั้งในระบบ Android และ IOS เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิตนเอง
  4. ตรวจสอบสิทธิผ่าน ไลน์ สปสช. โดยสแกน QR code เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิ
  1. เปลี่ยนหน่วยบริการ

ย้ายหน่วยบริการประจำ เกิดสิทธิทันที ด้วยสมาร์ทโฟน ทำง่ายๆผ่าน 2 ช่องทาง

  • ช่องทางที่ 1 ดาวโหลดแอปพลิเคชันชื่อ สปสช. ทั้งในระบบ Android และ IOS เลือกทำรายการ "ลงทะเบียน เปลี่ยนแปลงหน่วยบริการ
  • ช่องทางที่ 2 เพิ่มเพื่อนไลน์ สปสช.(@nhso)
  1. เปลี่ยนหน่วยบริการประจําปี ได้ที่ไหนบ้าง?

หากไม่สะดวกดําเนินการผ่านสมาร์ทโฟน สามารถทําได้ดังนี้

1.ติดต่อด้วยตนเองในวันเวลาราชการ 

  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล (รพ.สต.) หรือสถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกชุมชนอบอุ่น ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลของรัฐ สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1-12

2.ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ

  • โทร.1330 กด 2 ตามด้วยเลขประจําตัวประชาชน 13 หลักและกด # กดโทรออก
  1. เปลี่ยนหน่วยบริการประจำ ใช้แค่บัตรประชาชนใบเดียว
  • หากที่พักอาศัยปัจจุบันตรงกับบัตรประชาชน ใช้บัตรประจําตัวประชาชนตัวจริง
  • เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ถ้าไม่มีบัตรประชาชนให้ใช้สูติบัตร (ใบเกิด)
  1. เปลี่ยนหน่วยบริการ กรณีที่พักไม่ตรงกับทะเบียนบ้านแค่แสดงหลักฐานเพิ่ม อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
  • หนังสือรับรองการพักอาศัยจากเจ้าบ้าน พร้อมสําเนาทะเบียนบ้าน
  •  หนังสือรับรองจากผู้นําชุมชน พร้อมสําเนาบัตรประชาชน ของผู้นําชุมชน 
  • -เอกสารหลักฐานแสดงที่ตั้งบริษัท/ห้างร้าน นายจ้าง/ผู้ว่าจ้างรับรอง การพักอาศัยจริง พร้อมสําเนาบัตรประชาชนของผู้ว่าจ้าง/ผู้รับจ้าง
  •  -เอกสารหรือหลักฐานอื่น ใบเสร็จค่าสาธารณูปโภคต่างๆ หรือ สัญญาเช่าที่มีชื่อตนเองที่แสดงว่าพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ

*กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นลงทะเบียนแทน (ต้องมีหนังสือมอบอํานาจ และสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอํานาจ พร้อมสําเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอํานาจ

  • เปลี่ยนหน่วยบริการได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อปี
  • สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สปสช. โทร.สายด่วน 1330 
  1. เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่

กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ คนไทยทุกคน ไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายในการรักษา สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ ในโรงพยาบาลใกล้ที่สุดทั้งรัฐและเอกชน โดยรัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นใน 72 ชั่วโมงแรก

6 อาการที่เข้าข่ายภาวะฉุกเฉิน

  1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
  2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง
  3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็นหรือมีอาการชักร่วม 
  4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง 
  5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
  6. มีอาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิตและระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต

ข้อควรปฏิบัติในการ นําผู้ป่วยฉุกเฉินไปโรงพยาบาล

  1. เตรียมบัตรประชาชนไปด้วย
  2. เข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด 
  3. ยื่นบัตรประชาชนของผู้ป่วย (ถ้ามี) พร้อมแจ้งขอใช้สิทธิฉุกเฉิน 
  4. หากโรงพยาบาลเรียกเก็บเงิน ให้ยืนยันการใช้สิทธิฉุกเฉิน โดยอ้างสิทธิตามนโยบายรัฐบาล
  5. เมื่อแพทย์แจ้งว่าผู้ป่วยพ้นวิกฤตและสามารถเคลื่อนย้ายได้ให้ประสานโรงพยาบาลตามสิทธิ เพื่อรับการรักษาต่อเนื่อง 
  6. หากไม่ได้รับความสะดวกในการใช้สิทธิ 
  7. แจ้งเรื่องได้ที่ สปสช. สายด่วน 1330 
  8. สอบถามข้อมูลเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ โทรสายด่วน 1669

อัพเดทล่าสุด