https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
“พวงมาลัยสั่น” ขณะขับรถเร็วมีวิธีแก้ไขอย่างไร? MUSLIMTHAIPOST

 

“พวงมาลัยสั่น” ขณะขับรถเร็วมีวิธีแก้ไขอย่างไร?


374 ผู้ชม

รถยนต์ที่ผ่านการใช้งานมาระยะหนึ่งอาจพบว่ามีปัญหา “พวงมาลัยสั่น” ขณะใช้ความเร็วสูง ซึ่งสามารถพบได้ในรถทุกรุ่นทุกยี่ห้อ


รถยนต์ที่ผ่านการใช้งานมาระยะหนึ่งอาจพบว่ามีปัญหา “พวงมาลัยสั่น” ขณะใช้ความเร็วสูง ซึ่งสามารถพบได้ในรถทุกรุ่นทุกยี่ห้อ แล้วอาการที่ว่านี้มีสาเหตุมาจากอะไร และมีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง? Sanook Auto จะพาไปหาคำตอบกันครับ

สาเหตุหลักของอาการ “พวงมาลัยสั่น” ที่พบได้บ่อย

     1. ถ่วงล้อไม่สมดุล - ถือเป็นสาเหตุยอดฮิตที่ทำให้พวงมาลัยสั่นในขณะขับขี่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น ตะกั่วถ่วงล้อหลุด ทำให้น้ำหนักของวงล้อไม่สมดุล หรือช่างที่ดำเนินการตั้งศูนย์ถ่วงล้อไม่มีความชำนาญ หรือเครื่องมือไม่พร้อม ก็ส่งผลให้เกิดอาการพวงมาลัยสั่นเมื่อใช้ความเร็วสูงได้เช่นกัน

     วิธีแก้ปัญหา - นำรถเข้ารับการถ่วงล้อโดยช่างผู้ชำนาญการ ซึ่งวิธีการถ่วงล้อในปัจจุบันมี 2 วิธี คือ ถ่วงแบบถอดล้อ จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 50 - 150 บาทต่อข้างขึ้นอยู่กับร้านแต่ละแห่ง และถ่วงจี้ประชิดล้อ (ไม่ถอดล้อ) ซึ่งมีราคาสูงกว่า เหมาะสำหรับกรณีถ่วงล้อแบบแรกแล้วไม่หาย ค่าใช้จ่ายจะตกอยู่ที่ประมาณ 700 - 900 บาทต่อคู่

     2. ยางบวม - อาการบางบวมเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่หลายคนคาดไม่ถึง ซึ่งมักเกิดขึ้นจากการขับรถตกหลุมอย่างแรง จนทำให้โครงสร้างยางผิดรูป รวมถึงยางที่ผ่านการใช้งานมานานก็อาจพบปัญหายางบวมโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน เพราะบางครั้งจุดที่บวมอาจอยู่ด้านใน ซึ่งเจ้าของรถมักไม่สังเกตเห็น

วิธีแก้ปัญหา - มีทางเดียวคือการเปลี่ยนยางเส้นใหม่ควบคู่ไปกับการตั้งศูนย์ถ่วงล้อ ก็จะทำให้อาการพวงมาลัยสั่นหายเป็นปลิดทิ้งได้แล้ว เว้นแต่กรณีช่วงล่างมีปัญหาอยู่เดิม อาจส่งผลให้การตั้งศูนย์ทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทางที่ดีควรแก้ไขช่วงล่างให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ควบคู่กันไปด้วย

     นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งปัญหาที่สร้างความสันสนให้กับผู้ใช้รถหลายคน คือ “พวงมาลัยสั่นขณะเบรก” ซึ่งแม้ว่าจะมีอาการคล้ายกับที่กล่าวไปข้างต้น แต่ต้นตอและลักษณะการเกิดปัญหาแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยหากเหยียบเบรกที่ความเร็วตั้งแต่ 50 กม./ชม.ขึ้นไป แล้วพบว่ามีอาการสั่นที่พวงมาลัย อาจเกิดจากปัญหาจานเบรกคด จำเป็นต้องเจียรจานเบรกใหม่เพื่อให้กลับมาเรียบดังเดิม หรือหากช่างพบว่าจานเบรกบางเกินกว่าจะเจียรได้ ก็จะแนะนำให้เจ้าของรถเปลี่ยนจานเบรกใหม่ไปเลย

อัพเดทล่าสุด