พรีไบโอติก คืออะไร เช็กลิสต์อาหารที่มีพรีไบโอติก (Prebiotic) เลือกกินจากอะไรได้บ้าง


603 ผู้ชม

พรีไบโอติก (Prebiotic) ต่างจากโพรไบโอติกยังไง แล้วหากอยากได้พรีไบโอติกจากธรรมชาติ


พรีไบโอติก (Prebiotic) คืออะไร

พรีไบโอติก

          พรีไบโอติก หรือภาษาอังกฤษเขียนว่า Prebiotic คือ ไฟเบอร์ชนิดหนึ่งที่ได้มาจากน้ำตาลธรรมชาติ และยังจัดว่าเป็นอาหารของโพรไบโอติกหรือจุลินทรีย์ชนิดดี เพราะร่างกายจะดูดซึมพรีไบโอติกได้จากการให้โพรไบโอติกมาย่อยสลายพรีไบโอติกอีกที

พรีไบโอติกต่างจากโพรไบโอติกยังไง

พรีไบโอติก

           เชื่อว่าหลายคนน่าจะสับสนกันมานานกับประเด็นโพรไบโอติกและพรีไบโอติก แต่ทั้งสองตัวนี้เป็นคนละชนิดกัน ทำหน้าที่ต่างกันอย่างที่บอกไว้ข้างต้น แต่หากจะขยายความแตกต่างไปอีกขั้น ต้องบอกว่าพรีไบโอติกเป็นไฟเบอร์ เป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ไม่มีชีวิต ต้องอาศัยโพรไบโอติกมาช่วยย่อยสลายให้ร่างกายดูดซึมไปได้ ส่วนโพรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตและกินพรีไบโอติกเป็นอาหาร

พรีไบโอติก ประโยชน์ดียังไง

พรีไบโอติก

          ถ้าจะพูดว่าพรีไบโอติกเป็นอาหารชั้นดีของโพรไบโอติกก็ไม่ผิดนัก เพราะพรีไบโอติกจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรียมีประโยชน์และจุลินทรีย์ชนิดดี อีกทั้งจากงานวิจัยชิ้นหนึ่งก็พบว่า พรีไบโอติกมีคุณสมบัติช่วยดูดซึมแคลเซียมให้ร่างกายได้ดีขึ้น จึงมีส่วนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกด้วย

          และเมื่อร่างกายมีพรีไบโอติกเสิร์ฟให้โพรไบโอติกมาก ๆ ก็จะส่งผลให้โพรไบโอติกทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งก็จะได้ประโยชน์ด้านปรับสมดุลแบคทีเรียในลำไส้ ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหาร ช่วยเรื่องการขับถ่าย ลดอาการท้องผูก ทั้งยังช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายได้

อาหารที่มีพรีไบโอติกสูง มีอะไรบ้าง

          ถ้าอยากเติมพรีไบโอติกเพื่อช่วยเสริมโพรไบโอติกให้ร่างกาย เราจะเลือกกินพรีไบโอติกจากอะไรได้บ้าง ไปเช็กลิสต์กันเลย

1. กระเทียม

กระเทียม

          นอกจากกระเทียมจะมีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญแล้ว ในกระเทียมยังมีพรีไบโอติกที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของโพรไบโอติกชนิดไบฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) ในลำไส้ และยังมีส่วนช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียก่อโรคได้อีกด้วย

9 ประโยชน์เพื่อสุขภาพของกระเทียม ที่คุณอาจคาดไม่ถึง !

12 เมนูหอมกระเทียมเจียว โรยแน่น ๆ กรอบหอมอร่อยไม่เบื่อไม่เซ็ง

แซลมอนนึ่งกระเทียมดอง เค็มหวานซ่อนเปรี้ยวกินเพียวไม่มีอ้วน

2. หัวหอม

หัวหอม

          ขยับมาที่หัวหอม พืชชนิดนี้ก็อุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย ทั้งพรีไบโอติกที่เราต้องการ มีอินนูลินที่เป็นไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ เป็นมิตรต่อแบคทีเรียและจุลินทรีย์ชนิดดี โดยเฉพาะโพรไบโอติกชนิดไบฟิโดแบคทีเรียมและแล็กโทบาซิลลัส

         นอกจากนี้ในหัวหอมยังมีสารฟลาโวนอยด์ชนิดเควอซิทิน ที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ แถมยังมีคุณสมบัติช่วยในการทำงานของระบบหลอดเลือดและหัวใจ ดังนั้นถ้าเจอหัวหอมในอาหารจานไหนก็กินเยอะ ๆ เลยนะคะ

หอมใหญ่ผัดไข่ เมนูไข่ง่าย ๆ อร่อยนุ่มอิ่มท้อง

3. หน่อไม้ฝรั่ง

หน่อไม้ฝรั่ง

          ในหน่อไม้ฝรั่งก็อุดมไปด้วยอินนูลิน และจัดเป็นแหล่งที่ดีของพรีไบโอติกด้วยเช่นกัน ที่สำคัญหน่อไม้ฝรั่งยังมีไฟเบอร์สูง มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยต้านการอักเสบในร่างกาย จัดเป็นผักที่มีประโยชน์ด้านป้องกันมะเร็ง และรับประทานได้ง่าย ทำได้หลายเมนู

หน่อไม้ฝรั่ง สรรพคุณเหลือล้ำ ขอย้ำว่าต้องกิน !

10 เมนูหน่อไม้ฝรั่ง คุณค่าเต็มคำกินอร่อยจากเมนูผักกรอบ ๆ

4. กะหล่ำปลี

กะหล่ำปลี

           กะหล่ำปลีเป็นผักอีกชนิดหนึ่งที่มีพรีไบโอติก ทั้งยังมีประโยชน์หลากหลายด้าน ไม่ว่าจะช่วยแก้ท้องผูก ลดคอเลสเตอรอล บำรุงผิวพรรณ ลดความดันโลหิต นอกจากนี้กะหล่ำปลีก็มีราคาไม่แพง หาซื้อได้ง่าย อร่อยได้หลายเมนู อย่างจะผัดน้ำปลาก็อร่อย หรือหั่นฝอยใส่สลัดผักก็ดี

ประโยชน์กะหล่ำปลี ผักดีต้องกิน กับคุณค่าทางโภชนาการอันยอดเยี่ยม

12 เมนูกะหล่ำปลี เปลี่ยนอาหารจานผักให้ไม่น่าเบื่อ

5. สาหร่ายทะเล

สาหร่ายทะเล

          นอกจากสาหร่ายทะเลจะกินได้หลากหลายรูปแบบ และนำไปประกอบอาหารได้สารพัดเมนูแล้ว ในสาหร่ายทะเลก็ยังเป็นแหล่งที่ดีของพรีไบโอติกนะคะ ดังนั้นคนที่ชอบกินสาหร่ายทะเลก็ขอให้ชอบกินต่อไป แต่ถ้าใครไม่ค่อยได้สนใจมาก่อนก็อยากให้มาลองเลย

11 เมนูจากสาหร่าย อร่อยลดความอ้วนเพื่อหุ่นเพรียว

6. กล้วย

กล้วย

          ผลไม้ที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหารอย่างกล้วยก็ไม่พลาดที่จะมีพรีไบโอติกเช่นกัน และกล้วยก็ยังมีประโยชน์ในเรื่องช่วยการขับถ่าย แก้ท้องผูก ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายด้วย

8 ประโยชน์ของกล้วยหอม ลองแล้วจะรัก ช่วยลดน้ำหนักก็ได้ !

กล้วยน้ำว้า สรรพคุณไม่ธรรมดา เป็นผลไม้มีฤทธิ์เป็นยาที่ควรกินให้ได้ทุกวัน

13 เมนูกล้วยไม่อ้วน สูตรขนมแคลอรีต่ำทำง่ายเอาใจสายเฮลธ์ตี้

7. แตงโม

แตงโม

          ผลไม้หวานชื่นใจที่เป็นของโปรดใครหลาย ๆ คนอย่างแตงโมก็มีพรีไบโอติกด้วยเหมือนกัน แถมแตงโมยังจัดเป็นผลไม้ฉ่ำน้ำ ช่วยดับร้อน คลายกระหาย ส่วนเนื้อแดง ๆ ของแตงโมก็มีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน แร่ธาตุ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ที่สำคัญคือหาง่าย เพราะมีให้กินตลอดทั้งปี

แตงโม ผลไม้คลายร้อนทรงคุณค่า หวานฉ่ำมากล้ำสรรพคุณ

16 เมนูแตงโม สูตรขนมและเครื่องดื่มเรียกความสดชื่น

8. แอปเปิล

แอปเปิล

          ไฟเบอร์แน่น ๆ อย่างแพกตินในแอปเปิลก็มีพรีไบโอติกซ่อนอยู่ไม่น้อยค่ะ และอย่างที่ทุกคนรู้ว่าแอปเปิลก็มีประโยชน์มากมาย ทั้งช่วยให้อิ่มนาน ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดไขมัน จนถูกจัดเป็นผลไม้ลดความอ้วนยอดฮิตชนิดหนึ่งเลย

ประโยชน์ของแอปเปิล ผลไม้ที่มีหลากสี ประโยชน์ก็ดีต่างกัน

15 เมนูจากแอปเปิล สูตรขนมเติมความหวานรับวันพิเศษ

9. ข้าวบาร์เลย์

ข้าวบาร์เลย์

          ข้าวบาร์เลย์นอกจากจะอุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ ยังเป็นแหล่งที่ดีของเบต้ากลูแคน ซึ่งเป็นพรีไบโอติกชนิดหนึ่งที่ช่วยลดไขมันไม่ดี (LDL) และคอเลสเตอรอลให้ร่างกาย รวมทั้งช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยนะคะ ถ้ามื้อเช้าไม่รู้จะกินอะไร ลองเลือกข้าวบาร์เลย์เพื่อเติมพรีไบโอติกให้ร่างกายดูก็ได้

เคล็ดลับวิธีหุงข้าวบาร์เลย์อย่างถูกวิธี ได้ข้าวดีและอร่อย

10. ข้าวโอ๊ต

ข้าวโอ๊ต

          ข้าวไม่ขัดสีและจัดเป็นธัญพืชอีกชนิดหนึ่งอย่างข้าวโอ๊ตก็มีเบต้ากลูแคนที่เป็นพรีไบโอติกค่ะ ดังนั้นจะสลับกินกับข้าวบาร์เลย์ก็ได้ หรือจะลองนำข้าวโอ๊ตไปทำเป็นขนมต่าง ๆ เช่น คุกกี้ข้าวโอ๊ต ไว้เป็นของว่างก็เข้าท่า

14 เมนูขนมจากข้าวโอ๊ต หลากสไตล์อิ่มท้องด้วยธัญพืช

11. ถั่ว

ถั่ว

          ถั่วจัดเป็นของว่างไม่อ้วน โปรตีนสูง ที่หลายคนชอบใจ แล้วทราบไหมคะว่าถั่วก็มีพรีไบโอติกอยู่เหมือนกัน โดยสามารถกินถั่วได้หลากชนิด ทั้งถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วลูกไก่ (Chickpeas) เลนทิล อัลมอนด์ หรือพิตาชิโอ

ถั่ว 5 สี ธัญพืชประโยชน์ดี ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย

9 สูตรอาหารว่างเมนูถั่ว เคี้ยวกรอบอร่อยเติมโปรตีนจากธัญพืช

12. เมล็ดแฟลกซ์

เมล็ดแฟลกซ์

          แฟลกซ์ซีด หรือเมล็ดแฟลกซ์ จัดเป็นซูเปอร์ฟู้ดตัวจริงเสียงจริง เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารที่ดี ทั้งพรีไบโอติก ไฟเบอร์ วิตามิน แร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณสมบัติป้องกันมะเร็งร้าย พ่วงด้วยประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ

เมล็ดแฟลกซ์ ลดคอเลสเตอรอลก็ดี ต้านมะเร็งก็เริด

          สำหรับคนที่อยากได้พรีไบโอติก ลองหาอาหารเหล่านี้มาเป็นเมนูประจำวันได้เลย และที่เราแนะนำไปก็เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น เพราะจริง ๆ แล้วพรีไบโอติกยังมีอยู่ในอาหารอื่น ๆ ด้วยนะคะ โดยเฉพาะในผัก ผลไม้ต่าง ๆ ดังนั้นก็ควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย และครบหลักโภชนาการในแต่ละวัน

อัพเดทล่าสุด