เครื่องมือสำคัญที่คอยป้องกันอันตราย คือ แอนตี้ไวรัส (Antivirus) ซึ่งเชื่อว่าหลายๆ คน น่าจะเคยได้ยินหรือรู้จักมาก่อนแล้ว
เครื่องมือสำคัญที่คอยป้องกันอันตราย คือ แอนตี้ไวรัส (Antivirus) ซึ่งเชื่อว่าหลายๆ คน น่าจะเคยได้ยินหรือรู้จักมาก่อนแล้ว
ในคอมพิวเตอร์เครื่องแต่ละเครื่อง จะมีระบบปฏิบัติการ (OS : Operating System) อย่าง Microsoft Windows, Linux และโปรแกรมประยุกต์ (Software) ต่างๆ ที่ติดตั้งเพื่อใช้งานเฉพาะทางอีกมากมาย แต่ไม่ว่าจะเป็น OS ตัวไหน ก็มักจะมีผู้ไม่หวังดี ที่ชอบสร้าง ไวรัส (Virus) เพื่อเข้ามาโจมตี ทำลายข้อมูล ปั่นป่วน หรือโจรกรรมข้อมูลในคอมพิวเตอร์ของเราได้อยู่เสมอ โดยกลุ่มนี้ว่าแฮกเกอร์ (Hacker) นั่นเอง และในเนื้อหาต่อไปนี้ เราจะพามาทำความรู้จักกับ ไวรัสคอมพิวเตอร์ และ แอนตี้ไวรัสคอมพิวเตอร์กัน
ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือชุดคำสั่ง ที่ถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มที่เรียกว่า “แฮกเกอร์” (Hacker) หรือกลุ่มคนที่ไม่หวังดี โดยไวรัสคอมพิวเตอร์พวกนี้จะถูกกำหนดให้บั่นทอนระบบรักษาความปลอดภัย และเข้าไปแทรกแซง ทำลายระบบปฏิบัติการ (OS), และไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ หรืออาจจะเป็นไวรัสที่แอบซ่อนอยู่ภายใน เพื่อล้วงข้อมูลสำคัญภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วส่งไปยังต้นทาง หรือผู้เขียนอีกด้วย
โดยปกติแล้วไวรัส มักจะถูกเขียนมาเพื่อทำลายซอฟต์แวร์ หรือก่อกวน ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามรถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ไวรัสคอมพิวเตอร์ มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน และปัจจุบันก็มีการพัฒนาขึ้นไปอีกมากมายอีกหลายชนิด อย่างไรก็ตาม ในบทความนี้ จะพามาทำความรู้จักกับชนิดของไวรัสบางประเภท ที่มักถูกเจอบ่อยๆ
Boot Virus หรือ Boot sector Virus
เป็นไวรัสที่สามารถแพร่กระจายในขณะเปิด หรือบูตเครื่องเข้าสู่ Windows ได้อย่างรวดเร็ว โดยไวรัสชนิดนี้มักจะแฝงอยู่ใน Boot Sector ของฮาร์ดดิสก์ (HDD : Hard Disk Drive) หรือ แผ่นดิสก์เก็ต (Diskette, Floppy Disk) ที่ใช้บูตระบบนั่นเองครับ
Macro Virus
ไวรัสที่จะติดมากับไฟล์เอกสารต่าง ๆ ซึ่งจะมีคำสั่งมาโคร สำหรับทำงานซ้ำซ้อนอัตโนมัติในไฟล์เอกสาร อย่างไฟล์ Microsoft Word และ Excel ครับ เป็นชนิดที่สร้างความลำบาก และยุ่งยากในการทำงานให้กับเหยื่อ
Trojan
โทรจัน หรือเรียกกันว่า “Trojan Horse” ม้าโทรจัน เป็น Malware (Malicious Software) ชนิดนึงที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อลักลอบเก็บข้อมูลสำคัญ เช่น Username, Password, เลขบัญชีธนาคาร, หมายเลขบัตรต่าง ๆ และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ เพื่อเจาะเข้าถึงระบบ หรือโจมตีระบบคอมพิวเตอร์เป็นต้น
File Virus
เป็นไวรัสที่แอบแฝงอยู่กับไฟล์ต่าง ๆ เช่น โปรแกรม .exe หรือ แชร์แวร์ (Shareware) ต่าง ๆ ที่คนส่วนใหญ่มักจะดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ หากไม่มี Anti-Virus ติดเอาไว้ เมื่อคลิกติดตั้งไฟล์เหล่านี้ ไวรัสก็จะกระจายเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ทันที
Ransomware
คือไวรัสที่สามารถล๊อกเครื่องของคุณได้ เมื่อคอมพิวเตอร์โดนไวรัสชนิดนี้เข้าไป เจ้าของเครื่องก็จะไม่สามารถใช้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น หรือเปิดไฟล์ต่าง ๆ ได้ หลังจากนั้นก็จะมีข้อความในเชิงเรียกค่าไถ่ ส่งเข้า
Worm
หรือเรียกภาษาไทยว่า “หนอน” มันคือไวรัสที่สามารถทำลายระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ในอัตราที่สูงที่สุด สามารถกระจายตัวได้อย่างรวดเร็วผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต เหตุที่ถูกเรียกว่า Worm นั้น มาจากลักษณะของการทำงาน ทำลาย และการกระจายตัวได้อย่างรวดเร็วเหมือนกับหนอนที่กินพืชผัก ผลไม้นั่นเองครับ
Antivirus (แอนตี้ไวรัส) คือ โปรแกรมที่ถูกเขียน และพัฒนาขึ้นมาปกป้องระบบปฏิบัติการ (OS) หรือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ
มีความสามารถพิเศษในการจดจำ และต่อต้านสิ่งแปลกปลอม หรือที่เราเรียกกันว่า “ไวรัส” ไม่ให้เข้ามาแทรกแซง หรือทำลายไฟล์สำคัญในระบบปฏิบัติการ (OS) หรือข้อมูลสำคัญภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
ไวรัสในที่นี้รวมถึง ไวรัส (Virus), เวิร์ม (Worm), โทรจัน (Trojan), สปายแวร์ (Spyware) เป็นต้น
ในปัจจุบัน ก็ระบบปฏิบัติการอย่าง Microsoft Windows เวอร์ชั่นใหม่ๆ อย่าง Windows 8, Windows 10 และ Windows 11 นั้น ต่างก็จะมี Antivirus ติดมาให้อยู่แล้ว คือ Windows Security หรือ Windows Defender Antivirus และได้มีการพัฒนาไปสูงมากแล้วในปัจจุบัน หากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้มีข้อมูลที่สำคัญมากๆ ก็ไม่จำเป็นต้องเช่า หรือซื้อ Anti-Virus Program มาติดตั้งเพิ่มก็ได้ เช่น เครื่องใช้งานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม หรือใช้ทำงานเล็กๆ น้อยๆ ก็คงไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
การป้องกันไวรัสเบื้องต้น
ก่อนที่จะซื้อ Antivirus มาติดตั้งกัน เราสามารถเริ่มการป้องกันเบื้องต้น ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณปลอดภัย โดยมีวิธีง่ายๆ คือ
- ไม่คลิก หรือเปิดไฟล์ที่ไม่รู้จัก เพราะอาจจะมีไวรัสหรือมัลแวร์แอบแฝงมาก็ได้
- ไม่ติดตั้งโปรแกรม หรือดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ
- ไม่เข้าเว็บไซต์ที่ไม่รู้จัก หรือคลิกป๊อปอัพ (Popup) แปลกๆ และน่าสงสัย บนหน้าเว็บที่เด้งขึ้นมา
- ไม่เปิดอีเมล (E-mail) ที่ไม่รู้จักแหล่งที่มา เพราะอาจจะมีมัลแวร์ (Malware) แฝงมาในอีเมล หรือไฟล์แนบได้ และควรลบ E-mail ที่น่าสงสัย เพื่อตัดปัญหาที่จะตามมา
- ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส (Anti-Virus software) แท้ และน่าเชื่อถือ และหมั่นสแกนไวรัสในเครื่องอยู่เสมอ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และอัพเดทโปรแกรมให้ทันสมัยอยู่เสมอ
- กรณีเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอก แนะนำให้ทำการสแกนไวรัสก่อนเปิดใช้งานทุกครั้ง หากเป็นไปได้
เพียงเท่านี้ ก็ทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณปลอดภัยจากไวรัส และมัลแวร์ต่างๆ ได้แล้ว จำไว้ง่ายๆ เลย คือ ไม่เปิด ไม่คลิก ไม่ติดตั้งโปรแกรมจากแหล่งที่ไม่รู้จักที่มา และหมั่นอัพเดท OS และ Software อย่าง Antivirus ในเครื่องให้ทันสมัยอยู่เสมอก็เพียงพอแล้วครับ