10 ข้อถามตอบ แผ่นรองรองเท้า (Insole) เพื่อสุขภาพ รู้ครบจบที่เดียว


464 ผู้ชม

แผ่นรองรองเท้าหรือ Insole นั้นคือ ส่วนประกอบของรองเท้าที่สัมผัสกับฝ่าเท้าของผู้สวมใส่โดยตรง


แผ่นรองรองเท้า (Insole) คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า แผ่นรองรองเท้าหรือ Insole นั้นคือ ส่วนประกอบของรองเท้าที่สัมผัสกับฝ่าเท้าของผู้สวมใส่โดยตรง หากซื้อรองเท้ามาจะอยู่ในส่วนของพื้นรองด้านในที่ส่วนใหญ่สามารถดึงออกได้ ซึ่งจะไม่ใช่พื้นรองเท้าชั้นกลางหรือ Midsole ที่แต่ละแบรนด์จะพัฒนาเป็นเทคโนโลยีของตัวเอง เช่น พื้นชั้นกลางแบบ Air sole, Lunar lon หรือ Boost เป็นต้น

ประเด็นก็คือว่า ฝ่าเท้าของแต่ละคนมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน หากแผ่นรองรองเท้าไม่เหมาะสมกับฝ่าเท้าผู้สวมใส่ โอกาสที่จะได้สัมผัสเทคโนโลยีที่แตกต่างกันของพื้นรองเท้าแต่ละแบรนด์ได้จริง ๆ ก็อาจเป็นไปได้ยาก ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น ยังอาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวกับฝ่าเท้าภายหลังการสวมใส่ไประยะหนึ่งได้ เช่น ปวด ตึง บวมหรืออักเสบ ส้นเท้า ฝ่าเท้า เอ็นร้อยหวาย นิ้วหัวแม่เท้าผิดรูป รองช้ำ เป็นต้น จนถึงขั้นอุบัติเหตุขณะใช้งาน

ฝ่าเท้าคนมีกี่แบบ แบบไหนบ้างที่ควรใส่แผ่นรองรองเท้า หากไม่ใช้แผ่นรองมีข้อเสียอย่างไร

แยกตามประเภทของอุ้งเท้าได้เป็น 3 ประเภทหลัก อุ้งเท้าสูง (High arch) อุ้งเท้าปกติ (Normal arch) และอุ้งเท้าแบน (Flat arch) ทั้ง 3 แบบต้องเลือกใช้แผ่นรองที่แตกต่างกัน โดยปัญหาหลัก ๆ จะอยู่กับคนที่อุ้งเท้าแบน กับอุ้งเท้าสูง

ในรายที่อุ้งเท้าแบน หากไม่ได้รับการแก้ไข ปัญหาคือ เจ็บอุ้งเท้า ส้นเท้า ฝ่าเท้าด้านในบวม อาจกดเจ็บ ฝ่าเท้าแข็ง รู้สึกชา ปวดเอ็นร้อยหวาย น่อง ขา เคลื่อนไหวทรงตัวบนเท้าลำบาก บางรายมีอาการเจ็บหลัง

ในรายที่อุ้งเท้าสูง หากไม่ได้รับการแก้ไข ปัญหาคือ เจ็บฝ่าเท้าด้านหน้า ส้นเท้าซึ่งต้องรับน้ำหนักแทนส่วนกลางของอุ้งเท้า ข้อเท้าผิดรูป ข้อเท้าพลิกง่าย ข้อเท้าเสื่อม เป็นต้น

แผ่นรองรองเท้า ถือเป็นการแก้ปัญหาเบื้องต้นสำหรับคนที่มีฝ่าเท้าแบนและฝ่าเท้าสูง ทุกคนสามารถตรวจเช็กฝ่าเท้า และเลือกแผ่นรองรองเท้าที่เหมาะสมได้เลย

 10 ข้อถามตอบ แผ่นรองรองเท้า (Insole) เพื่อสุขภาพ รู้ครบจบที่เดียว

แผ่นรองรองเท้า (Insole) มีกี่ประเภท ใครเหมาะกับแบบไหน

แบ่งกว้าง ๆ ให้เป็นประโยชน์สำหรับผู้สวมใส่ ได้ 2 แบบ คือ

  • แผ่นรองรองเท้าแบบทั่วไป เน้นประโยชน์ในการเพิ่มความหนาให้กับพื้นรองเท้าเดิม เพื่อซับแรงและให้สวมใส่ได้กระชับเท้ามากขึ้น ทั้งนี้รองเท้าเดิมอาจใส่มานานจนพื้นบางลง หรือเสริมพื้นรองเท้าใหม่ให้กระชับมากขึ้น โดยทั่วไปปรับใช้ได้กับรองเท้าหลายประเภทที่มีรูปทรงใกล้กัน
  • แผ่นรองรองเท้าเพื่อช่วยแก้หรือบรรเทาอาการจากความผิดปกติของฝ่าเท้า กรณีนี้จะคล้ายกับอุปกรณ์เสริมทางการแพทย์ โดยต้องมีการตรวจเช็กความผิดปกติของฝ่าเท้า และเลือกแผ่นรองรองเท้าที่ช่วยแก้ความผิดปกติดังกล่าว โดยบางรายอาจต้องรักษาอาการผิดปกติกับแพทย์ด้วยแผ่นรองเท้าประเภทนี้ แบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ
    • แบบสำเร็จรูป แผ่นรองแบบนี้จะทำมาสำเร็จรูป โดยปรับองศาส้นเท้า กลางเท้า ปลายเท้า ให้เป็นไปตามอุดมคติของสรีระเท้า โดยมักจะทำการเสริมอุ้งเท้าขึ้นมา ซึ่งเหมาะกับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้มีปัญหาเท้ามาก รวม ๆ แล้วจะช่วยปรับสมดุลของแรงกระแทก ลดความเสี่ยงในการเกิดอาการต่าง ๆ จากความผิดปกติของฝ่าเท้าได้
    • แบบทำเฉพาะคน แผ่นรองแบบนี้ มักมีแพทย์เป็นผู้ดูแล สำหรับผู้ที่มีความผิดปกติของฝ่าเท้าอย่างชัดเจน และต้องแก้ไข ซึ่งมีทั้งแบบใช้การหล่อและไม่หล่อฝ่าเท้า แต่จะได้แผ่นรองที่ใช้งานได้ตามสรีระของแต่ละคน.
      สำหรับแผ่นรองรองเท้าเฉพาะคน ยังมีแบบที่ทำสำหรับผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน รูมาตอยด์ ผู้ที่กระดูกผิดรูป ซึ่งมีปัญหาเรื่องการกดทับ ทำให้ต้องใช้แผ่นรองที่นุ่ม ยืดขยาย ตามขนาดของเท้า เพื่อลดแรงกด ลดอาการปวด ได้

แผ่นรองรองเท้าที่ซื้อสำเร็จรูปตามร้านขายทั่วไป เป็นแบบไหน ทำไมราคาแตกต่างกันมาก

เบื้องต้น ถ้าเป็นแผ่นรองที่ติดมากับรองเท้าที่ซื้อ หรือแผ่นรองสำเร็จรูปที่หาซื้อได้ตามร้านขายทั่วไป มักจะเป็นแผ่นรองรองเท้าแบบทั่วไป ที่เน้นการเพิ่มความหนา ซับแรงกระแทกให้กับผู้สวมใส่ ราคาขายมักจะสูงต่ำตามประเภทของวัสดุ ความคงทนและแบรนด์สินค้า

และถ้าเป็นแผ่นรองรองเท้าแบบที่ช่วยแก้ปัญหาความผิดปกติของฝ่าเท้า จะต้องตรวจเช็กเท้าเพื่อตรวจสอบความผิดปกติ แล้วถึงดูรูปแบบของแผ่นรองรองเท้าที่จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว ในกรณีที่ผิดปกติไม่มาก สามารถใช้แผ่นรองแบบสำเร็จรูป ซึ่งมีความแตกต่างกันไปในรายละเอียดของแต่ละแบรนด์  กรณีที่ฝ่าเท้าผิดปกติมากหรือสำหรับเท้าผู้ป่วย ควรใช้แบบที่ทำขึ้นเฉพาะคน และมักจะมีการดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์เฉพาะทาง

มีไหมที่วัดความผิดปกติฝ่าเท้าอย่างถูกต้อง แต่ซื้อแผ่นรองรองเท้าแบบปรับแก้อาการไปแล้ว ยังไม่ดีขึ้น

เบื้องต้น ต้องแน่ใจว่าแผ่นรองที่ซื้อนั้นเป็นแบบปรับแก้อาการฝ่าเท้าผิดปกติ ไม่ใช่แผ่นรองรองเท้าแบบทั่วไป สังเกตง่าย ๆ ต้องมีการตรวจเช็กฝ่าเท้าถึงความผิดปกติด้วยเครื่องมือที่มีมาตรฐาน เมื่อมั่นใจและซื้อแผ่นรองที่ถูกต้องไปใช้งานจริง ในบางรายอาจยังไม่สบายเท้าเหมือนที่คิดไว้ หรือแก้ปัญหาไม่ได้ 100% กรณีนี้ต้องกลับไปยังร้านที่ซื้อ เพื่อตรวจสอบและอาจต้องมีการปรับแก้ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งแผ่นรองแบบปรับแก้อาการแต่ละแบรนด์อาจมีวิธีการที่แตกต่างกัน ดังนั้น ควรซื้อจากร้านที่สามารถเป็นที่ปรึกษา ช่วยแก้ปัญหาภายหลังการใช้งานในเบื้องต้นได้

 

วัสดุและเทคโนโลยีที่ใช้ทำแผ่นรองรองเท้ามีอะไรบ้าง  แต่ละแบบอายุการใช้งานนานแค่ไหน

ในเกรดปานกลางถึงสูง หรือแผ่นรองประเภทที่แก้อาการ แต่ละแบรนด์ก็จะใช้วัสดุและเทคโนโลยีที่แตกต่างกันไป วัสดุพื้น ส้นเท้า ฝ่าเท้าอาจเป็นคนละแบบกันก็ได้ วัสดุหลัก ๆ ที่นิยมใช้ก็จะมีโฟม คาร์บอน โพลิเมอร์ ซิลิโคนเจล ไมโครไฟเบอร์ รูปแบบหรือเทคนิคก็แตกต่างกัน เช่น มีโครงสร้างแบบรังผึ้ง  แบบมีผ้าไนล่อนหุ้มโครงพื้น แบบปรับระดับความสูงของส้นเท้า อายุการใช้งานขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้ เช่น ใช้วิ่ง ใช้ออกกำลังกาย หรือใช้เดินทั่วไป รวมถึงความถี่ในการใช้ แต่เบื้องต้น 1 – 2 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแลด้วย

  

หลักในการเลือกซื้อแผ่นรองรองเท้าที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

ตอบแบบกระชับเลย อันดับแรก ต้องรู้ก่อนว่าฝ่าเท้าเราเป็นแบบไหน มี 3 แบบเบื้องต้น มีอุ้งเท้าสูง อุ้งเท้าปกติ หรืออุ้งเท้าแบน ถามว่าจะรู้ได้อย่างไร แนะนำให้ไปหานักกายภาพบำบัดทั้งที่เป็นคลินิกหรือโรงพยาบาล หรือไปร้านที่ขายแผ่นรองรองเท้าที่มีเครื่องสแกนเท้า มีเครื่องวัดเท้าที่บอกได้ว่า ฝ่าเท้าเราเป็นแบบไหน

แผ่นรองรองเท้า (Insole) ใช้ได้กับรองเท้าทุกประเภทไหม

โดยทั่วไปแผ่นรองรองเท้า สามารถปรับใช้ได้กับรองเท้าที่มีพื้นลักษณะใกล้เคียงกัน เช่น สามารถใช้กับรองเท้ากีฬา รองเท้าคัทชู รองเท้าเดินเล่นทั่วไป  ยกเว้นรองเท้าที่มีส้นหรือรองเท้าที่มีรูปทรงแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามบางแบรนด์อาจทำแยกเพื่อกิจกรรมหรือกีฬาแต่ละประเภท แนะนำให้แจ้งวัตถุประสงค์ และลักษณะในการใช้งาน เพื่อเลือกรูปแบบแผ่นรองที่สอดคล้องกับความต้องการให้มากที่สุด

ต่อมาก็ต้องรู้วัตถุประสงค์ในการใช้ เช่น ใช้เดินทั่วไป ใช้เล่นกีฬา และถ้าสามารถลงลึกไปถึงกีฬาประเภทไหนด้วยจะดี เนื่องจากแผ่นรองรองเท้าบางแบรนด์มีแยกตามประเภทกีฬาอีก เช่น วิ่ง เตะฟุตบอล ขี่จักรยาน เป็นต้น เพราะแผ่นรองที่เหมาะกับกีฬาแต่ละประเภทไม่เหมือนกัน พื้นคอร์ด พื้นหญ้า บันไดจักรยาน ถ้าเป็นไปได้ถือรองเท้ากีฬาที่จะใช้งาน หรือสเปคของรองเท้ารุ่นนั้นติดไปด้วยก็ได้ เพราะบางทีอาจต้องพิจารณาแผ่นรองประกอบกับพื้นจริง (Midsole) ของรองเท้าด้วย

มาถึงจุดที่เรารู้ประเภทเท้า วัตถุประสงค์ในการใช้ อาจจะเหลือไม่เกิน 3 แบรนด์ ก็ดูงบประมาณของเรา เทคโนโลยี ความทนทาน และบริการหลังการขาย  เช่น หากไปใส่แล้วมีปัญหามีทางเลือกในการปรับเสริมเติมแต่งอะไรได้บ้างไหม เป็นต้น

ฝากข้อแนะนำเรื่องการดูแลเท้าในชีวิตประจำวัน

ฝาก 3 ข้อ คือ กระตุ้นการไหลเวียนเลือดบริเวณเท้า เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ป้องกันข้อต่อต่าง ๆ ยึด ด้วยการยืดเหยียดเท้าเป็นระยะ ไม่แช่หรือกดทับอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ นวดผ่อนคลายบ้างตามโอกาส สำหรับคนที่มีฝ่าเท้าผิดปกติมากควรปรึกษานักกายภาพบำบัดหรือแพทย์เฉพาะทาง หากต้องเล่นกีฬาใดเป็นประจำควรเลือกประเภทรองเท้า รวมถึงพื้นรองรองเท้าให้สอดคล้องกันด้วย

 

แนะนำแผ่นรองรองเท้า CurrexSole

CurrexSole เราเชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหาความสมดุลของเท้า ช่วยลดการบาดเจ็บ โดยได้รับการยอมรับจากแพทย์และนักกายภาพบำบัดทั้งในและต่างประเทศ โดยได้มีการจดสิทธิบัตรในเรื่องของเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งมีเรื่องของ Auto fit heel cup, Triple layer, Dynamic arch technology, Metatarsal cushioning

ที่เมืองไทยเรามีรุ่น Runpro สำหรับกีฬาวิ่งและเดินในชีวิตประจำวัน รุ่น Bikepro สำหรับกีฬาปั่นจักรยาน รุ่น Activepro สำหรับกีฬาบอลทุกชนิด แบดมินตัน เทนนิส ฟิตเนส และรุ่น Edgepro สำหรับกีฬากอล์ฟ

อัพเดทล่าสุด