"ปลั๊กพ่วงไฟชนิดมีฟิวส์" ไม่ควรนำมาใช้ จริงหรือ?


1,136 ผู้ชม

ปลั๊กไฟพ่วงที่มีฟิวส์ผิดกฎหมาย เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัยของผู้ใช้


เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยเห็นปลั๊กพ่วงไฟชนิดที่มีฟิวส์วางจำหน่ายอยู่ตามร้านค้าทั่วไป แล้วทราบหรือไม่ว่า "ปลั๊กพ่วงไฟแบบมีฟิวส์" นั้นไม่แนะนำให้นำมาใช้จากเพจ

อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ได้มีการอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ดังนี้

"ปลั๊กพ่วงไฟ ชนิดที่มีฟิวส์ ไม่ควรนำมาใช้" เป็นเรื่องจริงครับมีคำถามจากทางบ้านวันนี้ว่า เห็นรูปของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมระบุว่า "ปลั๊กไฟที่มีฟิวส์ ผิดกฎหมาย ห้ามซื้อ-ขาย" มันเป็นเรื่องหรือเปล่า ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น !?

ก็ต้องตอบว่า "เป็นเรื่องจริง" ครับ แม้จะฟังดูแปลกๆ ซะหน่อย เพราะเห็นปลั๊กไฟที่มีฟิวส์ ขายกันเต็มบ้านเต็มเมืองเลย (หลายคน ก็น่าจะมีติดบ้านตัวเองไว้) ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (ดูลิงค์ด้านล่าง) ให้ข้อมูลไว้ว่าจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับคำชี้แจงว่า "ชุดสายพ่วง เป็นสินค้าที่ สมอ. ควบคุม ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 2432-2555 ซึ่งผู้ทำ หรือนำเข้า จะต้องได้รับใบอนุญาตจาก สมอ. ก่อน

โดยในข้อกำหนดของ มอก.ดังกล่าว จะมีการระบุว่า “ห้ามใช้ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน” (มาตรฐานบังคับ ทาง สมอ. สามารถดาวน์โหลดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ https://service.tisi.go.th/fulltext/TIS-2432-2555m.pdf)

ซึ่งประเด็นนี้ มีหลายคนที่งง ว่า "ทำไมถึงห้ามใช้ฟิวส์ เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน" ...

ทาง "มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค" ได้สอบถามไปยัง เฟซบุ๊กเพจ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (https://www.facebook.com/fconsumerthai/posts/3897709847019215/) สรุปได้ว่า

"ปลั๊กไฟพ่วงที่มีฟิวส์ผิดกฎหมาย เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัยของผู้ใช้ เมื่อเกิดการใช้ไฟเกิน และต่อมาเกิดความร้อน จะทำให้ฟิวส์ละลาย และไม่สามารถใช้งานได้อีก"

"ปลั๊กพ่วงไฟชนิดมีฟิวส์" ไม่ควรนำมาใช้ จริงหรือ?

"ในขณะที่ปลั๊กไฟพ่วงในขณะนี้ที่ถูกกฎหมาย จะใช้ระบบเบรกเกอร์ ซึ่งจะทำการตัดไฟเมื่อเกิดการใช้กระแสไฟเกินได้"

"ปลั๊กพ่วงไฟชนิดมีฟิวส์" ไม่ควรนำมาใช้ จริงหรือ?

ประชาชนสามารถศึกษามาตรฐาน มอก. 2432-2555 เรื่อง "การเลือกซื้อชุดสายพ่วงอย่างไร จึงปลอดภัย" ได้จากกองส่งเสริมและพัฒนาด้านการมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)  (ตามรูปที่แนบมานี้ จากลิงค์ https://pr.tisi.go.th/16770/) และสามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ https://www.tisi.go.th/ หรือโทร. 02 202 3300

อัพเดทล่าสุด