https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
แมวแบงกอลอยากเลี้ยงไหม? ทำความรู้จัก แมวแบงกอล น่ารักทั้งนิสัยและหน้าตา MUSLIMTHAIPOST

 

แมวแบงกอลอยากเลี้ยงไหม? ทำความรู้จัก แมวแบงกอล น่ารักทั้งนิสัยและหน้าตา


903 ผู้ชม

แมวเบงกอล (Bengal) แมวลายเสือที่น่ารักทั้งหน้าตาและนิสัย สำหรับคนที่อยากจะเลี้ยง


ใครที่แอบชอบในความน่ารัก (ไม่นับนิสัยดุร้าย) ของเสือ จนอยากเข้าไปกอดหรือมีไว้ในครอบครองดูบ้าง แต่ก็ได้แต่ฝัน เพราะหากเป็นเรื่องจริงคงถูกเจ้าเสือขย้ำเอาเสียก่อน ถ้างั้น... ลองมาดู แมวเบงกอล (Bengal) แมวป่าที่ผสมกับแมวบ้านจนเกิดลวดลายสวยงาม รูปร่างหน้าตาไม่ต่างจากแมวบ้าน ดูไปดูมาเหมือนลูกเสือดาวน้อยเลย

แมวแบงกอลอยากเลี้ยงไหม? ทำความรู้จัก แมวแบงกอล น่ารักทั้งนิสัยและหน้าตา

ต้นกำเนิดแมวเบงกอล

การกำเนิดขึ้นของแมวเบงกอล เริ่มโดย คุณ Jean Mills หญิงชาวมลรัฐแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่หลงใหลในลวดลายของแมวป่า เธอใช้เวลาถึง 20 ปี (เริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 หรือ พ.ศ. 2523) ในการพัฒนาให้มีจุด (Spotted ที่ใหญ่และแมวตัวผู้ไม่เป็นหมันจนสามารถสร้างจุดให้ใหญ่และมีสีที่ตัดกันในจุดมากขึ้นด้วย และเธอตั้งชื่อสายพันธุ์นี้ว่า เบงกอล ตามชื่อวิทยาศาสตร์ของแมวป่าที่เรียกกันว่า Felis Bengalensis นั่นเอง

ลักษณะแมวเบงกอล

แมวเบงกอล (Bengal) เป็นแมวที่ผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างแมวดาว (Asian Leopard Cat) กับแมวบ้าน (Domestic Shorthair) ในที่นี้คือ Egyptian Mau คือ พันธุ์แมวอียิปต์โบราณ และมีโครงสร้างเป็นลายจุด มีลักษณะที่เหมือนแมวป่า (Wild Cat) ซึ่งเป็นการผสมข้ามสายพันธุ์ของแมวดาวกับ E.Mau and Ocicat

แมวเบงกอล เป็นแมวขนาดปานกลางถึงค่อนข้างใหญ่ หัวมีความยาวมากกว่ากว้าง เพราะถูกผสมโดยควบคุมลักษณะให้มีรูปร่างคล้ายแมวป่า เพรียว ยาว เห็นมัดกล้ามเนื้อแบบนักล่าชัดเจน โดยจะมีความสูงส่วนสะโพกสูงกว่าความสูงของช่วงไหล่ หางส่วนมากจะมีปลายชี้ลง ใบหูกลม สั้น ตารูปไข่ (Oval) ช่วงโคนหนวดเด่น ช่วงปากและรอบจมูกกลมกว่าแมวบ้าน จุดที่เด่นที่สุดของแมวเบงกอล ได้แก่ สีขนและมีลายเป็นจุดแบบแมวป่าหรือลายหินอ่อน

หากเริ่มสนใจจะหาเจ้าเหมียวพันธุ์เบงกอลมานอนกอดสักตัว ควรเลือกซื้อแมวเบงกอลที่มีโครงสร้างใหญ่ ลำตัวยาว มีลวดลายบนตัวที่เด่นชัดขนาดเท่าหัวแม่มือ จุดด้านข้างลำตัวมีขนาดใหญ่และเรียงตัวอย่างไม่เป็นระเบียบในแนวนอน แมวเบงกอลบางตัวจะมีลวดลายโรเซตที่เป็นจุดขนาดใหญ่ที่มีสีอ่อนกว่าตรงกลาง จุดคล้าย ๆ กับลายของเสือจากัวร์ ซึ่งเป็นที่ต้องการมากกว่าแมวที่มีจุดสีเดียวตามปกติ

ลายทางที่หน้าผากควรมีสีเข้มลากยาวในแนวนอนจากหางตาไปถึงใบหู และควรมีเส้นสีเข้มเป็นสร้อยคอยาวรอบ ๆ คอเฉียบคม ขนเงานุ่ม ใบหน้าของลูกแมวนั้นต้องมีลักษณะที่แสดงถึงความเป็นแมวป่า มีขอบตาดำสนิท เส้นที่ใบหน้าเข้ม ริมฝีปากใหญ่เต็ม มีหางที่หนา มีจุดที่ขาหรือเป็นวงที่ไม่เต็มวงรอบ ๆ ขา มีสีอ่อนบริเวณรอบปาก คอ และขาด้านใน ดวงตานั้นสามารถจะเป็นสีเขียว สีทอง หรือสีเหลือง

แมวแบงกอลอยากเลี้ยงไหม? ทำความรู้จัก แมวแบงกอล น่ารักทั้งนิสัยและหน้าตา

นิสัยแมวเบงกอล

ที่สำคัญนิสัยของเจ้าแมวเบงกอลก็ไม่ได้ดุดันอย่างที่กำลังคิดกันด้วยนะ แถมยังเชื่องแสนเชื่อง เป็นมิตร ชอบอยู่กับคน น่ารัก และคล่องแคล่วปราดเปรียว มีนิสัยชอบวิ่งไล่สิ่งของ หรือวัตถุ ชอบปีนป่าย ชอบไล่จับหนู หากไม่มีอะไรให้เล่นก็จะเล่นด้วยตัวเอง มีเสียงร้องที่ฟังแล้วเหมือนแมวป่าค่อนข้างมาก

แต่อย่างไรก็ตาม แมวเบงกอลก็ยังสัญชาตญาณความเป็นสัตว์ป่าหลงเหลือให้เห็นอยู่ กลับกลายเป็นลักษณะเด่นของแมวเบงกอล นั่นคือ ความมั่นใจในตนเอง ความกล้าหาญ ไม่ขลาดกลัว และความเฉลียวฉลาดในการเอาตัวรอด และที่แตกต่างจากแมวเกือบทุกชนิดอย่างมาก คือ แมวเบงกอลมีนิสัยชอบเล่นน้ำอย่างมาก !?

การเลี้ยงดูและอาหารแมวเบงกอล

ถ้าหากอยากให้แมวสวย สุขภาพดี และมีขนที่สวยงาม การเลือกอาหารที่ดีให้กับแมวนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ อาหารสำเร็จรูปที่ดีจะช่วยให้คุณมั่นใจว่าขนและสุขภาพของแมวนั้นจะสวยที่สุด ส่วนเรื่องของการตัดเล็บ อาบน้ำ แปรงขน เช็ดหู และทำความสะอาดส่วนต่าง ๆ นั้น จะเหมือนกับแมวทั่ว ๆ ไป

ส่วนเรื่องอาหารแมวเบงกอลอาจจะต้องการเนื้อสัตว์ในปริมาณที่มากกว่าแมวทั่วไปเล็กน้อย โดยผู้เลี้ยงอาจจะให้เนื้อวัวสดวันละครั้งเพิ่มเติมจากอาหารที่กินอยู่เป็นประจำ ซึ่งจะไม่ทำให้ท้องเสียหรือเสียสุขภาพ เนื้อสดที่ให้ควรระมัดระวังความสะอาดด้วยการแช่แข็งเอาไว้เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย และควรเก็บเนื้อที่เหลือทิ้งทันที อย่างไรก็ตาม ห้ามให้เนื้อไก่หรือเนื้อหมูสดเด็ดขาด

แมวแบงกอลอยากเลี้ยงไหม? ทำความรู้จัก แมวแบงกอล น่ารักทั้งนิสัยและหน้าตา

โรคแมวเบงกอลควรระวัง

โรคที่ควรระวังของแมวเบงกอล ได้แก่ โรคหัวใจ โรคปลายประสาทเสื่อม โรคต้อกระจก โรคจอตาเสื่อม และโรคสะบ้าเคลื่อน ซึ่งเป็นโรคที่มาจากพันธุกรรมของสายพันธุ์ แต่สามารถป้องกันล่วงหน้าได้ด้วยการหมั่นพาไปตรวจสุขภาพ ทั้งนี้ หากมีการผ่าตัดให้ระวังการวางยาสลบที่อาจเกิดอาการแพ้ หากอาการรุนแรงก็มีโอกาสเสียชีวิตได้
ราคาแมวเบงกอล

ปัจจุบันแมวเบงกอลเริ่มเป็นที่รู้จักในไทยมากขึ้น แต่อาจยังไม่แพร่หลายเหมือนแมวชนิดอื่น ๆ เนื่องจากยังมีราคาค่อนข้างสูง ซึ่งแมวเบงกอล ราคาอยู่ที่ประมาณ 17,000-170,000 บาท ดังนั้นเมื่อตัดสินใจซื้อมาแล้ว ควรใส่ใจดูแลอย่างดี ซึ่งวิธีการเลี้ยงก็ใกล้เคียงกับแมวทั่ว ๆ ไป เพราะถือเป็นแมวบ้านเช่นเดียวกับแมวสายพันธุ์อื่น

เรียกได้ว่าเป็นแมวอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่มีคนให้ความสนใจไม่น้อย เพราะเป็นแมวที่มีสีสันและลวดลายที่สวยงามไม่เหมือนใคร แต่อย่างไรก็ดีควรศึกษาและทำความเข้าใจนิสัยและการเลี้ยงแมวเบงกอลให้ดี ก่อนตัดสินใจนำมาเลี้ยง จะได้ไม่เป็นภาระในภายหลัง

อัพเดทล่าสุด