แอสปาร์แตม สารเพิ่มความหวาน มีความอันตรายต่อสุขภาพจริงหรือไม่


735 ผู้ชม

แอสปาร์แตม สารเพิ่มความหวาน มีความอันตรายต่อสุขภาพจริงหรือไม่


แอสปาร์แตม 'สารเพิ่มความหวาน' มีความอันตรายต่อสุขภาพจริงหรือไม่

แอสปาร์แตม หรือสารให้ความหวาน นิยมใช้ทดแทนน้ำตาลเพื่อประกอบอาหาร และเครื่องดื่ม ล่าสุดในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีข่าวทำให้คนรักสุขภาพต้องฝันสลาย โดย หน่วยงานวิจัยมะเร็งของ WHO ระบุว่าในแอสปาร์แตมอาจมีสารทำให้ก่อมะเร็งได้

เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา มีข่าวทำให้ผู้รักสุขภาพสายหวาน 0% ทั้งหลายต้องฝันสลายกันเป็นแถว เมื่อ WHO หรือ องค์การอนามัยโลก โดย หน่วยงานวิจัยมะเร็ง หรือ IARC (International Agency for Research on Cancer) ได้มีการประกาศว่า แอสปาร์แตม อาจมีสารทำให้ก่อมะเร็งได้

แอสปาร์แตมที่ว่านั้น คือ สารเพิ่มความหวานตัวเดียวกันกับส่วนผสมของน้ำอัดลม และเครื่องดื่มไม่มีน้ำตาล ที่รู้จักกันในนามเครื่องดื่ม 0% รวมถึงยังเป็นส่วนผสมของหมากฝรั่ง และอาหารบางชนิดอีกด้วย

IARC ชี้แจงเพิ่มเติมของการประชุมจากผู้เชี่ยวชาญในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินว่าสารเหล่านี้มีความอันตรายหรือไม่ โดยการประเมินในครั้งนี้ ไม่ได้รวมประเด็น ปริมาณของการบริโภคแอสปาร์แตม ที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ ซึ่งอาจได้ข้อสรุปที่เป็นเอกฉันท์ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ที่จะถึงนี้

ข่าวการก่อโทษของสารแอสปาร์แตมมีให้ได้ยินอยู่เรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมา โดย คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญร่วมวัตถุเจือปนอาหาร (JECFA) เคยกล่าวถึง แอสปาร์แตม ว่า การบริโภคสารแอสปาร์แตมมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง หากอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดซึ่งขึ้นอยู่กับ น้ำหนักตัว และจำนวนการบริโภค สรุปได้ว่า การบริโภคแอสปาร์แตมที่ปลอดภัย ต้องอยู่ในปริมาณจำกัดที่ 40 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ถึงอย่างไรก็ตาม ‘สารแอสปาร์แตม’ ก็ยังมีความเชื่อมโยงกับโรคมะเร็งเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน จนต้องเกิดการวิจัย และพิสูจน์อย่างจริงจัง ณ เวลานี้

5 อันตราย ที่มีโอกาสเกิดจากสารแอสปาร์แตม

- สารเคมีตกค้าง
- สารก่อมะเร็ง
- ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- โรคอ้วน และเบาหวาน
- ผลกระทบต่อสมอง

ข้อกังวลของ ‘แอสปาร์แตม’

ข้อพิพาทดังกล่าวทำให้ผู้ที่ชื่นชอบบริโภคแอสปาร์แตม (สารให้ความหวาน) ไม่ว่าจะจากเครื่องดื่ม หรืออาหาร ควรทำอย่างไร

จากเนื้อหาที่เผยแพร่ผ่าน IARC เบื้องต้น นั้นยังอยู่ในกระบวนการ การทดลอง และทดสอบ สารแอสปาร์แตม โดยจำแนกความอันตรายออกเป็น 4 ประเภทด้วยกันดังนี้

กลุ่มที่ 1 : สารก่อมะเร็งในมนุษย์ (หลักฐานเพียงพอสำหรับมะเร็งในมนุษย์)

กลุ่ม 2a : อาจเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ (หลักฐานจำกัดในมนุษย์ หลักฐานเพียงพอในสัตว์)

กลุ่ม 2b : อาจเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ (หลักฐานจำกัดในมนุษย์ หลักฐานไม่เพียงพอในสัตว์)

กลุ่มที่ 3 : จำแนกไม่ได้ (หลักฐานไม่เพียงพอทั้งในมนุษย์ และสัตว์)

การตรวจสอบหาสาเหตุที่เป็นไปได้ของสารก่อมะเร็งของ สารแอสปาร์แตม ปัจจุบันยังอยู่ในระดับ 2b เป็นกลุ่มที่ยังหาความชัดเจนไม่ได้ ทำให้มีความเป็นไปได้ที่สารแอสปาร์แตมยังคงมีความปลอดภัยอยู่ในระดับหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงเล็กๆ ของการบริโภค ของผู้บริโภคเอง ซึ่งหากรับเอาสารแอสปาร์แตมเข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมาก และเกินปริมาณที่กำหนดในทุกๆ วัน และยังไม่มีสารอาหารอื่นๆ รวมทั้งการดูแลสุขภาพที่เพียงพอ เหตุนี้อาจทำให้มีความเสี่ยงที่จะทำให้ก่อเกิดมะเร็ง รวมถึงโรคอื่นๆ ได้เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน

ที่มา : https://www.thairath.co.th/home

อัพเดทล่าสุด