ความมหัศจรรย์ของมด เรื่องเกี่ยวกับมด


2,591 ผู้ชม

เทคโนโลยี, การทำงานร่วมกัน, ยุทธศาสตร์ทางการรบ, เครือข่ายการสื่อสารล้ำหน้า, ลำดับชั้นการปกครองที่ชาญฉลาดและมีเหตุผล, ระเบียบวินัย, การออกแบบที่อยู่อาศัย... เหล่านี้คือแวดวงความรู้ที่มนุษย์อาจไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าใดนัก แต่มดทำได้เสมอ ในภาพยนตร์นี้คุณจะได้สำรวจโลกมหัศจรรย์ของมด ระบบทางสังคม-ชีววิทยาที่สลับซับซ้อนอย่างยิ่ง ซึ่งไม่มีทางที่จะก่อกำเนิดขึ้นด้วยเครื่องยนต์กลไกใดๆ และยังคงเป็นตัวอย่างอันชัดเจนของการออกแบบอย่างชาญฉลาดในธรรมชาติ ในขณะเดียวกัน คุณจะสามารถเห็นข้อผิดพลาดในทฤษฎีแห่งการวิวัฒน์และได้ประจักษ์ถึงการสร้างสรรค์อย่างไร้มลทินของอัลลอฮ์


เทคโนโลยี, การทำงานร่วมกัน, ยุทธศาสตร์ทางการรบ, เครือข่ายการสื่อสารล้ำหน้า, ลำดับชั้นการปกครองที่ชาญฉลาดและมีเหตุผล, ระเบียบวินัย, การออกแบบที่อยู่อาศัย... เหล่านี้คือแวดวงความรู้ที่มนุษย์อาจไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าใดนัก แต่มดทำได้เสมอ ในภาพยนตร์นี้คุณจะได้สำรวจโลกมหัศจรรย์ของมด ระบบทางสังคม-ชีววิทยาที่สลับซับซ้อนอย่างยิ่ง ซึ่งไม่มีทางที่จะก่อกำเนิดขึ้นด้วยเครื่องยนต์กลไกใดๆ และยังคงเป็นตัวอย่างอันชัดเจนของการออกแบบอย่างชาญฉลาดในธรรมชาติ ในขณะเดียวกัน คุณจะสามารถเห็นข้อผิดพลาดในทฤษฎีแห่งการวิวัฒน์และได้ประจักษ์ถึงการสร้างสรรค์อย่างไร้มลทินของอัลลอฮ์

โลกมหัศจรรย์ของมด

มดตัวเล็กๆที่เรารู้จักกันดีนี้เป็นสัตว์สังคม ไม่มีมดตัวใดอยู่โดดเดี่ยว มันอยู่ในรังร่วมกันเป็นพันเป็นหมื่นตัว แบ่งหน้าที่กันทำ ความสามัคคีทำ ให้ฝูงมดมีพลัง ศัตรูหน้าไหนก็ไม่อาจมาบุกรุกรานได้ ดังนั้นในยามที่ประเทศ ชาติของเราอ่อนแอระส่ำระสายอันเกิด จากความแตกแยก ไทยรัฐ ซันเดย์ สเปเชียล หนนี้จึงขอนำเอาเรื่องความร่วมมือร่วมใจของมดมาให้เห็นเป็นเยี่ยงอย่างครับ

ในอาณาจักรสัตว์นั้น นอกจากมนุษย์ และปลวกบางชนิดแล้ว ก็มีแต่มดนี่ แหละครับ ที่รู้จัดการทำเกษตรกรรม ทั้งเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก!?

สัตว์เลี้ยงของมดก็คือตัวเพลี้ยที่เกาะอยู่ตามช่อดอกไม้ โดยมดจะแบกเอากลุ่มตัวเพลี้ยไปหากินตามส่วนต่างๆของพืชที่มีความอวบสมบูรณ์ เมื่อเพลี้ยดูดน้ำเลี้ยงจากพืชแล้วมันก็จะถ่ายออกมาเป็นน้ำหวาน อันเป็นอาหารโปรดของมด ซึ่งเพียบไปด้วยน้ำตาลและวิตามิน ดังนั้นจึงเรียกได้ว่าทั้งสองฝ่ายนี้ต่างก็พึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน เจ้ามดจะดูแลเทกแคร์เพลี้ยอย่างดีครับ วันไหนฝนตกฟ้าร้องมันก็จะแบกเพื่อน (กิน) ของมันหลบเข้าในโพรงหรือเพิงธรรมชาติ อากาศดีค่อยแบกออกมาหากินร่วมกันใหม่

ส่วนการเพาะปลูกนั้น มดรู้จักทำมานานแล้วครับ โดยเฉพาะมดทางแถบโลกตะวันตก ซึ่งผู้คนมักจะเห็นมดเอาใบไม้เขียวๆ ทูนหัวขนเอาไปไว้ในรังของมัน แต่แรกนั้นพวกเขาคิดว่ามันเอาไปกินเป็นอาหาร กระทั่งในปี ค.ศ.1874 นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษนามว่า โธมัส เบลท์ เกิดสงสัยขึ้นมาจึงทำการศึกษาพฤติกรรมนี้ของมัน แล้วก็พบว่าอันที่จริงมันไม่ได้เอาใบไม้ไปกินหรอก แต่เอาไปเป็นปุ๋ยหมักโดย พวกมดจะเอาเชื้อหรือสปอร์ของรามาเพาะบนใบไม้หมักนี้ พอรางอกงามดีมีปุ่มเล็กๆ ขนาดหัวเข็มหมุดซึ่งเรียกกันว่า “โคลราบี” มดมันก็จะกินปุ่มนี้เป็นอาหาร ก็คล้ายๆ กับที่เราเพาะเห็ดแล้ว เก็บกินนั่นแหละครับ แต่ที่น่าทึ่งก็คือการจัดสรรปันส่วน “โคลราบี” ที่มันผลิตได้นั้นเป็นไปตามชั้น วรรณะ...แน่ะ แม้แต่ มดก็ยังแบ่งชนชั้นด้วยแฮะ

โดย “โคลราบี” เกรดต่ำสุด จะเป็นอาหารของพวกมดงานตัวจิ๋วๆที่ทำหน้าที่เพาะปลูก (เป็นคนสวนว่างั้นเถอะ) กับรับผิดชอบดูแลไข่และตัวอ่อน “โคลราบี” คุณภาพดีถัดมาเป็นของมดตัดใบไม้ซึ่งต้องใช้เรี่ยวแรงในการกัดใบไม้ให้ขาด เพื่อนำมาหมัก ชนชั้นสูงขึ้นมาอีกขั้นก็คือมดทหาร ซึ่งก็ต้องกินอาหารดีๆ เพื่อทำหน้าที่พิทักษ์ปกปักรังจากศัตรูได้อย่างเข้มแข็ง มดประเภทที่กัดเจ็บจนเราร้องโอดโอยนั้น ก็คือพวกมดทหารนี่แหละครับ ส่วน “โคลราบี” คุณภาพวิเศษสุด จะเป็นอาหารของมดตัวผู้กับมดพรหมจรรย์ตัวเมีย “เจ้าหญิง” ซึ่งจะต้องใช้พละกำลังโบยบินเพื่อการผสมพันธุ์ เป็นการสืบทอดอาณาจักรมดต่อไป

ทั้งนี้ เมื่อมดตัวผู้กับมดเจ้าหญิงสมบูรณ์พร้อมแล้ว มดงานก็จะนำเอาตัวออกมาสู่โลกภายนอกบนดิน เจ้าหญิงแต่ ละองค์...เอ๊ย...แต่ละตัวจะทรงนำ...เอ้อ...พกเอาสปอร์ ของราติดตัวไปด้วย โดยอมไว้ในกระพุ้งแก้ม...เพื่อใช้ ในการลงหลักปักฐานอาณาจักรใหม่ของตน ครั้นแล้วเจ้าหญิงก็จะกางปีกและเหินขึ้นสู่นภากาศ โดยมีมดตัวผู้ บินตามติดขึ้นไป พอสูงถึงระดับหนึ่ง มดตัวผู้ที่แข็งแรงตามทันก็จะเข้าผสมพันธุ์ ผสมเสร็จก็จะร่วงผล็อยตก ลงมาตายยังพื้นดิน...ตายอย่างสุขสันต์

ส่วนเจ้าหญิงก็จะบินกลับลงมา พอถึงพื้นเธอก็จะวิ่งพล่าน เพื่อหาที่เหมาะสมสำหรับเป็นรัง ซึ่ง อาจเป็นโพรงใต้หิน หรือรอยแตก แยกของพื้นดิน เธอจะฝังตัวลงไปและไม่ขึ้นกลับมาสู่แสงสว่างบนพื้นโลกอีกเลย และในรังใหม่นี่เอง เธอก็จะคายเอาเชื้อราออกมาเพาะพร้อมกับดูแลด้วยการเลียให้มีความเปียกชื้นอยู่เสมอ ขณะเดียวกัน เธอก็จะกลายเป็นควีนหรือราชินีมด

ทำหน้าที่ออกไข่ไปเรื่อยๆ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวอ่อน เธอก็จะเลี้ยงมันด้วย “โคลราบี” พอตัวอ่อนโตเต็มที่ ก็จะพบว่ามีงานรอมันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเพาะเชื้อรา ตัดใบไม้มาหมัก พิทักษ์รัง และรังก็จะต้องขยับขยายให้ ใหญ่ขึ้น โดยมีช่องทางเดินและปล่องระบายอากาศ โดยมดงานซึ่งเป็นตัว เมียที่สืบพันธุ์ไม่ได้ จะเป็นผู้ดูแลจัดสรรอาหารหลัก “โคลราบี” ตามส่วนแห่งวรรณะต่อไป

ครับ ตามสภาพที่บรรยายมานี้ อาณาจักรมดก็ดูจะมั่นคงดี ทุกตัวรู้จักจุดยืนและความรับผิดชอบของตน อีกทั้งพละกำลังของมดนั้นก็มหาศาลเหลือเชื่อ สามารถแบกสิ่งที่มีน้ำหนักมากกว่าตัวมันถึง 100 เท่า ได้อย่างง่ายดาย แล้วศัตรูหน้าไหนจะกล้ามายุ่มย่าม แต่...ทุกอย่างก็มีโอกาสเป็นไปได้ ถ้าเรารู้ไม่เท่าทันเหตุการณ์

นั่นคือ จะมีมดตัวเมียบางตัวที่ขี้เกียจสร้างอาณาจักรของตนเอง หากแต่หาโอกาส “เทกโอเวอร์” เข้าครอบครองรังของผู้อื่นด้วยกลวิธีเหนือชั้น โดยแม้ว่าเธอจะตัวโต กว่ามดงานทั่วไป ซึ่งถ้าหากเดินรี่จู่ๆเข้าไปในรังก็จะโดนมดทหารสกัดเอาไว้ แต่เธอจะใช้กลิ่นสารเคมีจากตัวทำให้มดงานต่างๆงวยงง

แล้วลอบเข้าไปจนถึงที่สถิตของราชินีมด ถัดจากนั้นเธอก็จะสังหารราชินีมดตัวจริง และครอบครองอาณาจักรแทน ต่อมามดงานที่อยู่ในรังก็จะมีทั้งที่เป็นลูกของราชินีเดิมกับราชินีใหม่ แต่มิช้ามินานลูกของราชินีมดเดิมก็จะตายหายสูญไป การเทกโอเวอร์ก็เป็นอันว่าเรียบร้อย

มดบางเผ่ายิ่งร้ายกาจกว่านี้อีกครับ เช่นที่บางคนเคยพบในเม็กซิโก มันจะบุกจู่โจมเข้าไปในอาณาจักรมดที่ตัวเล็กและอ่อนแอกว่า แล้วจับตัวอ่อนกับราชินีของรังเอามากักขังไว้ในรังของมัน เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นทาสรับใช้กับเป็นทหารกองหน้า ซึ่งมีหน้าที่ไปบุกรุกรานรังอื่นๆ ที่แย่ยิ่งขึ้นไปอีกก็คือ เจ้ามดเลี้ยงทาสบางเผ่านั้น ความจริงหาได้มีน้ำยาอะไรไม่ มันมีท่าทีขึงขังน่ากลัวไปอย่างนั้นแหละ แต่อ่อนแอทำอะไรไม่เป็นซักกะอย่าง รอคอยให้ทาสของมันเอาอาหารมาป้อนให้ถึงปากเลยแหละ

ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 

อัพเดทล่าสุด