https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
น้ำผึ้ง รักษาเบาหวานได้จริงหรือ? MUSLIMTHAIPOST

 

น้ำผึ้ง รักษาเบาหวานได้จริงหรือ?


1,763 ผู้ชม


น้ำผึ้ง รักษาเบาหวานได้จริงหรือ?

เชื่อกันว่าน้ำผึ้งมีสรรพคุณในการรักษาโรคเบาหวาน นัยว่าเป็นทางเลือกใหม่

ยิ่งสืบค้นยิ่งสับสน …

กระทั่งได้สอบถาม “ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ” อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงทราบว่า “แค่คิดก็ผิดแล้ว”

น้ำผึ้งก็คือน้ำตาลจากธรรมชาติ มีองค์ประกอบของน้ำตาลทั้งกลูโคส (ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้ทันที) และฟรักโตส (ต้องย่อยให้เป็นกลูโคส)

“อาจมีการพูดว่าน้ำผึ้งมีผลให้น้ำตาลในเลือดขึ้นช้ากว่า แต่ก็ขึ้น (ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย) อยู่ดี ซึ่งในคนที่เป็นเบาหวาน ถ้าควบคุมไม่ได้ ไม่แนะนำให้ใช้น้ำผึ้ง ถ้าควบคุมได้ จากที่เคยใช้น้ำตาลเท่าไหร่ ถ้าเอาน้ำผึ้งเข้าไป “แทนที่” ในปริมาณที่เท่ากัน”

แล้วน้ำตาล “ขึ้นช้ากว่า” ดีอย่างไร?

ดร.วันทนีย์อธิบายว่า ในคนปกติเมื่อน้ำตาลขึ้นเร็ว เช่น กลูโคส ดัชนีค่าน้ำตาลเป็น 100% ร่างกายจะมีอินซูลินมาทำให้ระดับน้ำตาลลดลงค่อนข้างรวดเร็ว แต่ในคนเป็นเบาหวานมีความผิดปกติในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การที่น้ำตาลขึ้นสูงในเวลาอันรวดเร็วอาจเกิดการทำลายของเส้นเลือดตรงปลายประสาทได้ง่ายมากขึ้น

“น้ำผึ้ง” จากการศึกษาพบว่าค่าดัชนีการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายอยู่ที่ 70-80% ขึ้นกับปริมาณกลูโคส (ถ้ามีมาก น้ำตาลจะขึ้นเร็ว) และสิ่งปนเปื้อน

การกินในปริมาณที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ

โดยในคนปกติไม่ควรเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน (ขึ้นกับน้ำหนักตัวและการใช้พลังงาน) เด็กไม่ควรเกิน 4 ช้อนชาต่อวัน

สำหรับคนที่มีปัญหาน้ำตาลในเลือดสูงหรือเบาหวาน ควรได้รับคำแนะนำจากนักโภชนาการหรือนักกำหนดอาหาร

ที่สำคัญคือ ไม่ควรกินในรูปของเครื่องดื่มเพราะดูดซึมเร็วและมีปริมาณน้ำตาลสูง

ที่มาและภาพประกอบ: สนุก

อัพเดทล่าสุด