วิธีป้องกันและรักษาโรคปากนกกระจอก


3,976 ผู้ชม

โรคปากนกกระจอกเป็นโรคที่พบได้บ่อยกับคนทุกเพศทุกวัย และมักจะเกิดขึ้นกับเด็กในวัยเรียน หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่เสี่ยงต่อการขาดสารอาหารทั้งนั้น...


วิธีป้องกันและรักษาโรคปากนกกระจอก

โรคปากนกกระจอกเป็นโรคที่พบได้บ่อยกับคนทุกเพศทุกวัย และมักจะเกิดขึ้นกับเด็กในวัยเรียน หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่เสี่ยงต่อการขาดสารอาหารทั้งนั้น โดยโรคปากนกระจอกนั้นไม่ส่งผลอันตรายร้ายแรงใดๆต่อร่างกาย เพียงแต่ก่อให้เกิดแผลบริเวณปากและสร้างความรู้สึกเจ็บปวด รบกวนจิตใจ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกันเลยดีกว่าว่า โรคปากนกกระจอกคืออะไร และโรคปากนกกระจอกเกิดจากอะไร รวมถึงโรคปากนกกระจอกมีวิธีแก้อย่างไรบ้าง…

โรคปากนกกระจอกคืออะไร
โรคปากนกกระจอก (Angular stomatitis) หรือโรคแผลที่มุมปาก (Angular cheilitis) คือ อาการแผลที่เกิดขึ้นบริเวณมุมปาก ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน แต่ส่วนใหญ่จะกับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงในการขาดสสารอาหาร เมื่อเป็นแล้วจะสร้างความรำคาญ รบกวนจิตใจเป็นอย่างมาก ทั้งยังส่งผลให้ความมั่นใจลดลงอีกด้วย

ปากนกกระจอกกับการขาดวิตามิน
โรคปากนกกระจอกเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนที่สำคัญของสุขภาพว่า ร่างกายกำลังขาดสารอาหารสำคัญนั่นเอง โดยเฉพาะวิตามินบี 2 (riboflavin) ซึ่งเป็นวิตามินที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยจะทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของการหายใจของเซลล์ ซึ่งอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินบี 2 นั้นมีมากมาย ได้แก่ ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้องปลา ผักใบเขียว ธัญพืช เครื่องในสัตว์ เนยแข็ง เป็นต้น

ปากนกกระจอกเกิดจากอะไร
โดยส่วนใหญ่แล้วโรคปากนกกระจอกนั้นมักจะเกิดขึ้นจากการขาดสารอาหารเป็นหลัก แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอว่าต้องเกิดจากการขาดสารอาหาร เพราะโรคปากนกกระจอกนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยเช่นกัน ได้แก่

- ปัญญาเกี่ยวกับโรคผิวหนัง ได้แก่ โรคผิวหนังอักเสบ จากภูมิแพ้ในเด็ก โรครังแคที่หน้า เป็นต้น ซึ่งมักจะเกิดร่วมกันอาการอื่นๆ ด้วย
- ผู้ที่มีรูปปากผิดปกติ เช่น ผู้สูงอายุ ซึ่งจะก่อให้เกิดการอับชื้นที่บริเวณมุมปาก  ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ
- การติดเชื้อบางชนิด เช่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เป็นต้น
- ภาวะน้ำลายมากกว่าปกติ
- ริมฝีปากแห้ง
- การแพ้อาหาร ยาสีฟัน หรือลิปสติก
- ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
- ภาวะการขาดวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินบี 2 หรือธาตุสังกะสี

โดยสาเหตุต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลให้เกิดแผลที่บริเวณมุมปาก รวมถึงเกิดอาการแสบ คัน และเจ็บเวลาที่อ้าปากอีกด้วย อีกทั้งในบางรายอาจจะมีเลือดออก รวมทั้งมีอาการอักเสบที่บริเวณผิวเยื่อบุริมฝีปากร่วมด้วย ทำให้ปากมีลักษณะบาง และแตกเป็นร่องๆ สร้างความรู้สึกแสบร้อน เจ็บปวดที่บริเวณริมฝีปากเป็นอย่างมาก

วิธีรักษาปากนกกระจอก
โดยปกติแล้วอาการของโรคปากนกกระจอกจะสามารถหายเองได้ภายใน 7 – 10 วัน อีกทั้งยังมีวิธีการรักษา และช่วยบรรเทาอาการได้หลากหลายวิธีด้วยกัน โดยส่วนใหญ่นั้นมักจะรักษาด้วยการทานวิตามินบี 2 หรืออาจจะเลือกทานวิตามินบีรวมก็ได้ รวมทั้งหมั่นบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากซึ่งมีคุณสมบัติช่วยต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ รวมทั้งลดการอักเสบได้ จึงช่วยให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น

ยารักษาโรคปากนกกระจอก
ในปัจจุบันมีการผลิตยารักษาโรคปากนกกระจอกขึ้นมาเพื่อความสะดวกสบาย โดยเป็นยาชนิดป้าย ที่ใช้รักษาแผลในปาก ได้แก่ kenalog in oral base เป็นต้น

สมุนไพรรักษาโรคปากนกกระจอก
นอกจากนี้ยังสามารถรักษา และบรรเทาอาการได้ด้วยสมุนไพรอีกด้วย โดยการนำฟองข้าวสีขาวที่ได้จากข้าวที่กำลังหุงสุกมาทาให้ทั่วบริเวณแผลที่มุมปาก วันละ 2 ครั้ง เวลาเช้าและเย็นจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวด ทั้งยังช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นอีกด้วย

วิธีป้องกันปากนกกระจอก
แม้ว่าจะโรคปากนกกระจอกจะเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรงต่อร่างกายมากนัก เพียงแต่สร้างความเจ็บปวดทรมาน รบกวนจิตใจ ทั้งยังสามารถป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- หมั่นทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเน้นอาหารจำพวก ผักใบเขียว ถั่ว นม เนื้อสัตว์ ไข่แดง และตับ เป็นส่วนใหญ่
- ดื่มน้ำเปล่าในปริมาณมากๆ
- เลิกพฤติกรรมการเลียปาก
- หมั่นดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ

เพียงเท่านี้ก็ช่วยป้องกันการเกิดโรคปากนกกระจอกได้แล้ว ที่สำคัญช่วยให้ร่างกายไม่ขาดสารอาหาร ทั้งยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพดี ห่างไกลโรคทางช่องปากได้อย่างแน่นอน

ที่มา  เกร็ดความรู้


อัพเดทล่าสุด