https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เช็คด่วน!! ประสาทหูเสื่อม โรคที่คนเป็นมักไม่รู้ตัว MUSLIMTHAIPOST

 

เช็คด่วน!! ประสาทหูเสื่อม โรคที่คนเป็นมักไม่รู้ตัว


1,853 ผู้ชม

อาการประสาทหูเสื่อมเป็นโรคที่คนยุคใหม่ๆ เป็นมากที่สุดโรคหนึ่ง และที่สำคัญก็คือผู้ป่วยมักจะไม่รู้ตัวว่าเป็น...


เช็คด่วน!! ประสาทหูเสื่อม โรคที่คนเป็นมักไม่รู้ตัว

อาการประสาทหูเสื่อมเป็นโรคที่คนยุคใหม่ๆ เป็นมากที่สุดโรคหนึ่ง และที่สำคัญก็คือผู้ป่วยมักจะไม่รู้ตัวว่าเป็น เพราะยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนคนทั่วไป เพียงแต่จะมีปัญหาเรื่องการฟังไม่ชัดในบางคำ ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของอาการ ส่งผลให้เกิดการสื่อสารผิดพลาด หรือต้องขอให้ผู้พูดย้ำคำพูดให้ชัดเจนอยู่หลายครั้งกว่าจะเข้าใจ
ภาวะหูเสื่อม คือ ภาวะที่การได้ยินเสียงลดลง หรือไม่ได้ยินเลย ส่วนมากจะเกิดกับคนสูงอายุที่ร่างกายเสื่อมถอย เช่นเดียวกับโรคสายตาสั้นหรือยาวเมื่ออายุมากขึ้น ถือเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาตัวเอง แต่จะมีในบางภาวะที่อาจจะเกิดอาการหูเสื่อมจากการรับเสียงดังมากๆ เป็นเวลานานเกินไป อย่างเช่นคนรุ่นใหม่ๆ ที่ชอบใส่หูฟังเวลานั่งรถเมล์ แล้วต้องเปิดเพลงเสียงดังเพื่อกลบเสียงรบกวนรอบข้าง หรือเกิดจากการได้รับเชื้อไวรัส ประสบอุบัติเหตุ ก็มีส่วนทำให้เกิดอาการประสาทหูเสื่อมได้เช่นกัน
อาการที่ชัดเจนที่สุด ก็คือ เวลาอยู่ในห้องเงียบๆ เช่น เวลานอนจะได้ยินเสียงซ่า หรือเสียงคล้ายจิ้งหรีดดังอยู่ในหู มีอาการปวดหูเวลาได้ยินเสียงดัง ทั้งๆ ที่เสียงนั้นอาจไม่ดังมากเกินไปปวดหูมากขึ้นเรื่อยๆ ตามระดับความดังของเสียง ไม่สามารถทนฟังเสียงดังได้เป็นเวลานาน จะมีอาการหูอื้อ หรือมีอาการปวดในหู
สำหรับแนวทางการป้องกันนั้น หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน งดการใช้หูฟัง โดยเฉพาะหูฟังแบนอินเอียร์ที่มีส่วนทำลายประสาทการได้ยินมากที่สุด ส่วนแนวทางในการรักษานั้นไม่มีหนทางในการรักษาให้หายขาด แต่มีวิธีการที่จะช่วยชะลออาการนั้นให้ทุเลาลงได้ อาจจะมีทั้งการให้ยา รับประทานวิตามิน และเครื่องช่วยฟังซึ่งเป็นวิธีการที่นิยมใช้มากที่สุด ช่วยให้ผู้ป่วยกลับเข้าสู่ภาวะปกติใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไป ที่ไม่ต้องคอยเงี่ยหูฟัง ต้องเดินเข้ามาใกล้ๆ ถึงจะได้ยินหรือให้อีกฝ่ายย้ำคำพูดจนเกิดความรำคาญอีกต่อไป

ที่มา    www.thaihealth.or.th

อัพเดทล่าสุด