แชร์ไว้เลยของดีใกล้ๆตัว ผักแขยง..เป็นยาต้านสารพัดโรค!


1,721 ผู้ชม

ผักแขยง ผักกะแยง เป็นผักพื้นบ้านอีสาน ที่มีลักษณะคือเป็นพืชล้มลุกอายุปีเดียว เป็นผักที่ขึ้นเองตามคันนา ในฤดูทำนา เริ่มจากฝนลงครั้งแรก ขยายพันธุ์แบบไหลไปตามราก เ


แชร์ไว้เลยของดีใกล้ๆตัว ผักแขยง..เป็นยาต้านสารพัดโรค!

ผักแขยง ผักกะแยง เป็นผักพื้นบ้านอีสาน ที่มีลักษณะคือเป็นพืชล้มลุกอายุปีเดียว เป็นผักที่ขึ้นเองตามคันนา ในฤดูทำนา เริ่มจากฝนลงครั้งแรก ขยายพันธุ์แบบไหลไปตามราก เกิดและแตกต้นออกเป็นกอ ขนาดเล็กประมาณ 30-40 ซม. ลำต้นสีเขียว กลวงเห็นปล้องชัดเจน ลำต้นทั้งต้นจะมีกลิ่นหอมหรือกลิ่นฉุนรุนแรง ใบเดี่ยว ขนาดเล็ก ออกเป็นคู่ตรงกันหรืออาจมี 3 ใบ ออกอยู่รอบ ๆ ข้อรูปใบหรือรูปขอบขนาน หรือรูปหอกใบยาว 1.5-5 ซม. กว้าง 1-2 ซม. ไม่มีก้านใบฐานใบจะหุ้มลำต้นเอาไว้ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ด้านบนของใบมีต่อมเล็ก ๆ มากมาย ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตรงซอกใบ หรือออกเป็นช่อกลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวมีขน กลีบดอกสีแดง สีชมพูอ่อน หรือสีม่วง กินได้ตลอดลำต้น

ผักแขยง ชอบดินดำน้ำชุ่ม ดังนั้นจึงสามารถนำผักแขยง มาปลูกได้ เนื้อที่ที่มีน้ำขังตลอดปี ผักแขยง ก็สามารถขึ้นงอกงามได้ตลอดปีเช่นกัน แต่เพราะผักแขยง เป็นผักที่ขึ้นตามธรรมชาติ เป็นสัญลักษณ์ฤดูกาลทำนา ชาวบ้านหลายท้องถิ่นทางภาคอีสานไม่นิยมนำมาปลูก อยากกินก็ไปเก็บเอาจากท้องนา

แต่บางแห่งในภาคอีสานแถบลุ่มแม่น้ำโขง

ก็นำมาปลูกตามริมบึง หรือแม้แต่ในกระถาง กะละมังแตกใต้ลุ่มบ้านตรงที่ล้างผัก ล้างปลา เพื่อให้ได้น้ำที่ไหลลงจากชานครัว ผักแขยงก็จะงามสะพรั่ง บางแห่งก็มีการเก็บตามท้องไร่ท้องนามัดเป็นกำ ๆนำไปขายในตลาดในหมู่บ้าน ในอำเภอ หรือในเมือง สนนราคาก็ถูกมาก ปัจจุบันเกษตรกรนำมาปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ จึงมีผักแขยงขายตามตลาดในกรุงเทพบ้างเช่นกัน
ส่วนต่างๆ ของผักแขยง
  

ลำต้น

ต้นผักแขยง เป็นพืชล้มลุกปีเดียว ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ รูปทรงลำต้นทรงกลม และตั้งตรง สูงประมาณ 20-35 เซนติเมตร ผิวลำต้นมีสีเขียวอ่อน และมีขนปกคลุม ส่วนด้านในลำต้นกลวงเป็นรูอากาศ ส่วนลำต้นนี้มีกลิ่นฉุนแรง และให้รสเผ็ด

ใบ

ใบผักแขยง ใบเป็นใบเดี่ยวเป็นคู่ๆตรงข้ามกันบนลำต้น ซึ่งจะออกสลับข้างเรียงกันเป็นชั้นๆ มีโคนใบติดกับลำต้น ซึ่งไม่มีก้านใบ โดยใบจะมีลักษณะรูปหอก โคนใบกว้าง ปลายใบแหลม แผ่นใบมีสีเขียว มีต่อมขนาดเล็ก และมีขนปกคลุม เมื่อจับจะรู้สึกสากมือ ส่วนขอบใบจะมีลักษณะหยักเป็นฟันเลื่อย และขอบใบโค้งเข้าหากลางใบ ขนาดใบกว้าง 1-2 เซนติเมตร และยาว 2-5 เซนติเมตร       ดอก

ดอก

ผักแขยงแทงออกเป็นช่อบริเวณปลายยอด แต่ละช่อมีดอก 2-10 ดอก แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายกลีบเลี้ยงแยกแหลมเป็นแฉก ส่วนกลีบดอกมีโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นกรวยยาว สีขาวอมเหลือง และมีขนปกคลุม โดยบางชนิดจะมีกรวยสีแดงม่วง ส่วนปลายกลีบกางออกเป็นแฉก 5 แฉก หรือ 5 กลีบ สีกลีบดอกมีสีม่วงอ่อน และบางชนิดมีสีม่วงเข้ม ปลายกลีบมน ยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตร ทั้งนี้ ปลายกลีบจะโค้งขึ้นเล็กน้อยทำให้แลดูเป็นรูปถ้วย ถัดมาด้านในมีเกสรตัวผู้ 4 อัน มีก้านเกสรสีขาว โดยส่วนปลายเกสรมีลักษณะนูนยาว ถัดมาตรงกลางด้านล่างเป็นรังไข่ ที่มีสีเขียวอ่อน       

ผล

ผลผักแขยง มีลักษณะรียาว ปลายผลเรียวแหลม ขนาดผลยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีน้ำตาล และเมื่อแก่เต็มที่ ผลจะปริแตกแยกออกเป็น 4 แฉก โดยด้านในมีเมล็ดสีน้ำตาลอมดำขนาดเล็กจำนวนมาก

สรรพคุณของผักแขยง

       1. การรับประทาน หรือ การดื่มน้ำต้มซึ่งมีสรรพคุณ ดังนี้     

       – ช่วยเจริญอาหาร
       – ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันเส้นเลือดอุดตัน
       – ป้องกันโรคหลอดเลือดในสมอง
       – ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
       – ช่วยลดความอ้วน
       – แก้ไข้ ช่วยลดอาการร้อนใน
       – แก้ไขมาลาเรีย แก้ไข้รากสาด
       – กระตุ้นภูมิต้านทาน
       – บรรเทาอาการไอ ช่วยให้ชุ่มคอ
       – ช่วยดับกลิ่นปาก กำจัดแบคทีเรียในช่องปาก
       – แก้อาการปวดฟัน
       – ช่วยเป็นยาขับน้ำนม และช่วยให้สตรีหลังคลอดฟื้นตัวได้เร็ว แต่มีบางรายงานกล่าวว่า อาจทำให้สตรีหลังคลอดเกิดอาการแพ้หรือเกิดอาการสำแดงได้
       – ช่วยให้ผ่อนคลาย
       – แก้อาการท้องเสีย แก้อาหารเป็นพิษ
       – ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ
       – ช่วยในการขับลม

2. การใช้เป็นยาภายนอก

       – แก้อาการคันจากหญ้า หรืออาการคันผื่นแพ้ ด้วยการนำต้นผักแขยง 10-15 ต้น มาต้มน้ำประมาณ 10 ลิตร หรือ 2 ถังเล็ก ก่อนใช้อาบ หรือ นำต้นสดประมาณ 2-3 ต้น มาขยำหรือตำบด และทาบริเวณที่เกิดอาการคัน หรือผื่นแดง
       – รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน และอาการคันจากเชื้อด้วยการต้มผักแขยงในข้างต้น ก่อนใช้อาบติดต่อกัน 3-5 วัน ในทุกๆ 1-2 ครั้ง/เดือน
       – ใช้แก้พิษงู หรือแมลงกัดต่อย โดยนำต้นสด 1-2 ต้น มาตำบดผสมกับฟ้าทะลายโจร 1 ต้น หลังจากนั้น เติมน้ำส้มสายชูเล็กน้อย ก่อนนำเอาพอกบริเวณรอบแผล
       – ลำต้นมาขยำ ก่อนใช้ประคบเพื่อลดอาการบวมซ้ำ
       – ลำต้น และใบสด นำมาขยำดม ใช้แก้อาการวิงเวียนศีรษะ

การใช้ประโยชน์

รับประทานทั้งลำต้น       

– ยอดอ่อนและใบอ่อน โดยรับประทานเป็นผักจิ้มร่วมกับ แจ่ว ป่น ส้มตำ ลาบ ก้อยและซุบหน่อไม้       

– เป็นเครื่องปรุงรสและแต่งกลิ่น แกงหน่อไม้ ต้มส้ม แกงอ่อมต่างๆ เช่น อ่อมกบ อ่อมเขียด อ่อมปลา อ่อมเนื้อวัว อ่อมหอย ทำให้อาหารมีกลิ่นหอม ช่วยดับกลิ่นคาว

 ข้อควรระวังผักแขยง

       – สตรีมีครรภ์หรือหลังคลอดบุตรบางรายอาจเกิดอาการแพ้ได้
       ข้อเสียของผักแขยง

       ผักแขยงจัดเป็นพรรณไม้น้ำชนิดชายน้ำที่ชาวนาถือเป็นวัชพืชในนาข้าว เนื่องจากผักชนิดนี้จะเติบโตได้ดีในแปลงนาที่มีน้ำขัง โดยเฉพาะหลังการทำนา ซึ่งจะคอยแย่งอาหาร และบดบังแสง ทำให้ต้นข้าวเติบโตได้ช้าลง ผลิตข้าวต่ำลง ทั้งนี้ เกษตรกรมักกำจัดด้วยการใช้มือถอนทั้งต้นทิ้งตากแดดตามคันนา เพราะผักแขยงสามารถถอนด้วยมือได้ง่าย
       จะเห็นได้ว่าผักแขยง เป็นผักที่ใช้ประกอบอาหารแล้ว ยังเป็นผักที่อุดมไปด้วยสรรพคุณในการรักษาโรคและช่วยเสริมสร้างป้องกันโรคได้หลายชนิด ไม่ใช่แค่ผักบ้านๆ แต่เป็นยาชั้นดีเลยก็ว่าได้เลยนะคะ รู้อย่างนี้แล้วอย่าลืมหาเมนูที่ใช้ผักแขยงเป็นส่วนประกอบเป็นเมนูประจำบ้านกันนะ
 

ข้อมูลจาก : Kaijeaw.com


อัพเดทล่าสุด