อย่าชะล่าใจ! ง่วงนอนบ่อย คุณอาจกำลังเป็น 7 โรคนี้อยู่โดยไม่รู้ตัว


4,638 ผู้ชม

บางคนอาจจะมีความรู้สึกง่วงเหงาหาวนอน นอนยังไงก็ยังไม่เพียงพอสักที บางครั้งช่วงบ่ายๆหลังทานอาหารกลางวันอิ่มๆ โดยเฉพาะวันไหนที่กินอิ่มมากๆ ยิ่งทำให้อาการนี้กำเริบหนักมากไปกว่าเดิม อาการที่เป็นอยู่นี้สื่อถึงอะไรได้บ้าง


บางคนอาจจะมีความรู้สึกง่วงเหงาหาวนอน นอนยังไงก็ยังไม่เพียงพอสักที บางครั้งช่วงบ่ายๆหลังทานอาหารกลางวันอิ่มๆ โดยเฉพาะวันไหนที่กินอิ่มมากๆ ยิ่งทำให้อาการนี้กำเริบหนักมากไปกว่าเดิม อาการที่เป็นอยู่นี้สื่อถึงอะไรได้บ้าง วันนี้จะมาหาคำตอบกันว่าโรคใดบ้างที่คุณอาจจะเป็นได้..

อย่าชะล่าใจ! ง่วงนอนบ่อย คุณอาจกำลังเป็น 7 โรคนี้อยู่โดยไม่รู้ตัว

1. โรคนอนไม่หลับ

อาจเป็นเพราะคุณนอนดึกมากๆ ทำงานหนักมากๆ งานเยอะมากๆ หรือเครียดมากๆ จนนอนไม่หลับ ซึ่งการนอนไม่หลับแบบสะสม ทำให้วันต่อๆ มาเกิดอาการง่วงนอนตอนกลางวันได้ ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ควรคลายเครียดสักหน่อย ลดการทำงานในตอนกลางคืนลงเสียบ้าง หรือปรึกษาแพทย์สักหน่อยก็ได้ อะไรๆจะได้ดีขึ้น


2. โรคอ่อนเพลีย 

เมื่อนอนไม่หลับติดต่อกันนานๆก็จะเกิดเป็นโรคอ่อนเพลียขึ้นได้ เพราะโรคนี้เป็นขั้นกว่าของโรคนอนไม่หลับ เมื่อร่างกายสะสมความอ่อนเพลียหนักขึ้นเรื่อยๆ โรคนี้ก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

โรคนี้ยังอาจมีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารบางประเภท เช่น อาหารประเภทแป้งและน้ำตาลมากเกินไปด้วย การที่ร่างกายได้รับอาหารเหล่านี้มากเกินไป จะส่งผลให้เกิดความเพลีย อ่อนล้า ง่วงนอน ความจำไม่ค่อยดี ปวดหัว ปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัว และนอนหลับไม่สนิทได้


3. โรคเบาหวาน

การบริโภคแป้งและน้ำตาลสูงๆ ทำให้เกิดเป็นโรคล้าเรื้อรังได้ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น นอกจากนี้ ยังเป็นบ่อเกิดของโรคเบาหวานได้อีกด้วย เพราะการที่เลือดมีปริมาณน้ำตาลสูงๆ ก็จะทำให้เกิดเป็นอาการง่วงนอนขึ้นโดยทันที เพื่อเตือนให้ร่างกายทราบว่า ขณะนี้ร่างกายกำลังอยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงแล้ว หากยังฝืนทานต่อไปเรื่อยๆจะนำไปสู่โรคเบาหวานได้ในอนาคตอันใกล้


4. โรคลมหลับ

โรคนี้หมายถึง อาการง่วงนอนอย่างมากในตอนกลางวัน แต่กลับตาสว่างในตอนกลางคืน จะข่มตาหลับก็หลับไม่สนิท หรือพอได้นอนปุ๊บก็จะฝันทันที ทำให้คุณภาพการนอนแย่ลง และส่งผลให้คุณภาพชีวิตแย่ลงเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการสมองช้า ขาดสมาธิ สุขภาพจิตเสีย หรือแม้กระทั่งการเป็นอันตรายต่อการใช้ชีวิต


5. โรคโลหิตจาง

ผู้หญิงเป็นเพศที่มีโอกาสเป็นโรคโลหิตจางได้ง่าย เพราะส่วนหนึ่งเลือกทานอาหารและต้องสูญเสียโลหิตจากการมีประจำเดือน ซึ่งอาจนำมาสู่การอ่อนเพลีย หน้ามืด เหนื่อยง่าย เชื่องช้า เซื่องซึม และไม่สดใสในที่สุด


6. เป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรืออวัยวะส่วนอื่นๆ ในร่างกาย

การสูญเสียเลือดในปริมาณมากๆ บ่อยๆ เช่น มีเลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร หรืออาจจะสูญเสียเลือดจากการเป็นโรคริดสีดวงทวารบ่อยๆ อาจเป็นสาเหตุของอาการอ่อนเพลีย หรืออยู่ในภาวะโลหิตจางเรื้อรัง เลยแสดงอาการเหนื่อยง่าย หน้ามืด เป็นลมง่าย อ่อนแรง และง่วงหงาวหาวนอนได้เช่นกัน


7. โรคนอนเกิน (Hypersomnia) หรือ การหลับเกินพอดี

เป็นโรคที่เกิดในคนขี้เซาเป็นหลัก โดยคนพวกนี้มักจะรักการนอนเป็นชีวิตจิตใจ ยิ่งพักผ่อนด้วยการนอนมากเท่าไรก็ยังรู้สึกไม่พอ เมื่อนอนติดต่อกันมากๆ จะทำให้ผู้ป่วยดูเฉื่อยฉา ซึมเซา ไร้ชีวิตชีวา หรือไม่ค่อยทานอาหาร เพราะเอาเวลาไปนอนซะหมด แต่กลับพบอาการอ้วนได้ง่าย เนื่องจากการนอนเยอะเกินไปอาจมีธาตุเครียดเข้ามาผสม

อย่างไรก็ตามผู้ที่มีชั่วโมงการนอนหลับมากกว่า 8 ชั่วโมง มีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคความจำเสื่อมมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า นั่นแปลว่าหากคุณนอนเยอะเกินไป แม้ว่าอายุยังน้อยอยู่ แต่อายุสมองของคุณอาจจะแก่มากกว่าที่ควรจะเป็นก็ได้

ที่มา : thaijobsgov.com,khanpaklive.com,thaidentoz.com

อัพเดทล่าสุด