วิธีล้างจมูกทารก ด้วยน้ำเกลือ ผู้ใหญ่ อันตรายไหม?


4,053 ผู้ชม

วิธีล้างจมูกทารก ด้วยน้ำเกลือ ผู้ใหญ่ อันตรายไหม? ช่วงนี้เด็กทารกเป็นหวัดกันเยอะมาก เนื่องอากาศเป็นพิษ ฝนตก ต่างๆนานา ทำให้เด็กทารกไม่สบาย เป็นหวัด มีน้ำมูกไหล  ...


วิธีล้างจมูกทารก ด้วยน้ำเกลือ ผู้ใหญ่ อันตรายไหม?

ช่วงนี้เด็กทารกเป็นหวัดกันเยอะมาก เนื่องอากาศเป็นพิษ ฝนตก ต่างๆนานา ทำให้เด็กทารกไม่สบาย เป็นหวัด มีน้ำมูกไหล   

วิธีล้างจมูกทารก ด้วยน้ำเกลือ ผู้ใหญ่ ล้างจมูกยังไงลูกไม่สำลัก หลายท่านรู้จักการล้างจมูก แต่ไม่กล้าทำเพราะกลัวจะเป็นอันตราย วันนี้มีวิธีล้างจมูกทารก ดูดน้ำมูก อย่างปลอดภัย ในทารกมาฝากกัน จากคุณหมอ รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

การล้างจมูกในทารก สามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง?

การล้างจมูก กำจัดน้ำมูกในทารก มีด้วยกัน หลากหลายวิธี ตามปริมาณน้ำมูก และอายุของทารก ได้แก่

  • การหยอดน้ำเกลือ ทำได้โดยหยอดน้ำเกลือ (Normal saline) เข้าไปในรูจมูก ข้างละ 2-3 หยด เพื่อให้น้ำมูกที่เหนียวข้นและแห้งติดจมูกอ่อนตัวลง ไม่แห้งกรัง เหมาะกับเด็กเล็กที่มีปริมาณน้ำมูกไม่มาก โดยหลังจากหยอดน้ำเกลือแล้ว หากมีปริมาณน้ำมูกน้อยควรเช็ดจมูก เอาน้ำมูกออกด้วยไม้พันสำลี แต่หากมีปริมาณน้ำมูกมาก ควรดูดน้ำมูกออก ด้วยลูกยางแดงหรือเครื่องดูดต่อกับอุปกรณ์ดูดน้ำมูก
  • การพ่นจมูก เป็นการกำจัดน้ำมูก โดยใช้อุปกรณ์พ่นน้ำเกลือแบบสเปรย์ เหมาะกับเด็กเล็กที่มีปริมาณน้ำมูกน้อย ไม่เหนียวข้นมาก มีข้อดีคือสามารถพกพาไปในที่ต่างได้สะดวก
  • การล้างจมูกด้วยกระบอกฉีดยา เป็นการล้างจมูกที่สามารถทำได้โดยใช้น้ำเกลือปริมาณมาก จึงเหมาะกับการกำจัดน้ำมูกปริมาณมากที่ติดอยู่ในโพรงจมูก

แบ่งตามอายุได้เป็น 2 วิธีการคือ

วิธีล้างจมูกทารก ด้วยน้ำเกลือ ผู้ใหญ่ อันตรายไหม?

เด็กทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน หรือมากกว่า 6 เดือนแต่ไม่ร่วมมือในการล้าง มีขั้นตอนดังนี้

  1. ให้เด็กนอนในท่าศีรษะสูง เพื่อป้องกันการสำลัก
  2. สอดปลายกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูกข้างที่จะล้าง โดยให้ปลายกระบอกฉีดยาชิดด้านบนรูจมูก
  3. ค่อยๆฉีดน้ำเกลือเข้าไปในจมูกครั้งละประมาณ 1-5 ซี ซี หรือปริมาณมากที่สุดเท่าที่เด็กจะทนได้ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกในจมูกออก

เด็กทารกอายุมากกว่า 6 เดือน ที่เคยล้างจมูกมาก่อน สามารถให้ความร่วมมือได้ดี มีขั้นตอนดังนี้

  1. ให้เด็กอยู่ในท่านั่ง ก้มหน้าเล็กน้อย
  2. สอดปลายกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูก
  3. ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในจมูกครั้งละประมาณ 1-5 ซี ซี หรือปริมาณมากที่สุดเท่าที่เด็กจะทนได้ จนน้ำเกลือและน้ำมูกไหลออกมาทางจมูกอีกข้างหนึ่ง
  4. ล้างซ้ำได้หลาย ๆครั้ง จนไม่มีน้ำมูกออกมา

หมายเหตุ :

  • หากสวมจุกล้างจมูกไว้ที่ปลายกระบอกฉีดยา ก็จะสามารถเพื่อป้องกันปลายกระบอกฉีดยาทิ่มที่ผนังกั้นจมูกได้ ทำให้ล้างจมูกได้ง่ายขึ้น
  • การล้างจมูกด้วยขวดบีบขนาดใหญ่ ไม่แนะนำให้ใช้กับเด็กทารก เพราะมีแรงดัน และปริมาณน้ำเกลือเยอะ อาจสำลักได้ง่าย
  • การล้างจมูกเด็กเล็กวัยทารก ควรใช้กระบอกฉีดยาขนาดเล็กไม่เกิน 5 ซีซี ปริมาณน้ำเกลือน้อย เว้นช่วงให้เด็กหายใจ เพื่อป้องกันไม่ให้สำลัก

วิธีล้างจมูกทารก ด้วยน้ำเกลือ ผู้ใหญ่ อันตรายไหม ?

อันตรายจากการล้างจมูก พบได้น้อยมาก ภาวะแทรกซ้อนที่มีรายงานจากการล้างจมูก ยกตัวอย่าง อาเจียนหรือสำลัก หรือเชื้อโรคเข้าไปในโพรงไซนัส สามารถป้องกันได้โดยการล้างจมูกอย่างถูกวิธี ในช่วงที่ท้องว่าง คือ ก่อนทานอาหาร หรือหลังทานอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมงขึ้นไป

ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่พบได้ เช่น เลือดกำเดาไหล ปวดหู หูอื้อ และหน้ามืด จะเกิดในกรณีที่สั่งน้ำมูกแรง ๆ จึงป้องกันได้โดยไม่สั่งน้ำมูกแรงจนเกินไป อาการแสบจมูกอาจพบได้บ้างแต่มักไม่รุนแรง นอกจากนี้อาจมีโอกาสติดเชื้อได้หากอุปกรณ์ ไม่ได้ล้างสะอาด น้ำเกลือเปิดทิ้งไว้นานเกินไป

ที่มา: th.theasianparent.com

อัพเดทล่าสุด