อีกมุมมองของ “ทิศทางของงานบริหารทรัพยากรบุคคล”
มีหลายมุมมองเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลตั้งแต่อดีตที่ผ่านมามากมายอาทิ HR เป็นธุรการบริษัท หรือเสมียนโรงงาน ซึ่งโดยมากแล้วจะเน้นไปในงานบริการเป็นส่วนใหญ่ และในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขององค์กร ยังมีน้อยอยู่
มีหลายปัจจัยที่คาดว่าจะทำให้ HR เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคตซึ่งได้แก่
1. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือที่เรียกกันติดปากว่า IT ซึ่งการนำเอา ระบบเทคโนโลยีมาใช้ในงานบุคคล จะเรียกว่า HRIS (ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับงานบริหารทรัพยากรบุคคล) ซึ่งมีในหลายรูปแบบเช่นการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ
2. เครื่องมือใหม่ๆ New Working Tools ก็ส่งผมมาจากระบบเทคโนโลยี ที่ดี ทำให้มีการประยุกต์ หรือสร้างเป็นเครื่องมือเฉพาะทางด้าน HR ซึ่งปัจจุบันมีมากขึ้นอย่างแพร่หลาย
3. การศึกษา การบริหารทรัพยากรบุคคล จำเป็นต้องเรียนรู้ทักหลักทฤษฎีและเรียนรู้แนวปฎิบัติที่ถูกต้อง และหมั่นศึกษาหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
4. ค่าตอบแทน ส่วนนี้ถือว่าเป็นส่วนรอง ที่ช่วยพลักดันให้ เจ้าหน้าที่พนักงาน มุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพของตัวเองให้สูงขึ้น ซึ่งบางองค์กร มีการจ่ายค่าตอบแทนแบบจูงใจ หากคุณได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ หรือพัฒนาระบบงานของตนได้อย่างต่อเนื่องและเป็นที่ยอมรับขององค์กร
หน้าที่หลักทั่วๆไป ของฝ่าย HR ที่ทำมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
- งานด้านสรรหาพนักงาน เช่นการรับใบสมัคร แจกใบสมัคร ลงบันทึกใบสมัคร เป็นต้น
- งานด้านฝึกอบรม
- งานด้านค่าจ้างเงินเดือน
- งานตรวจสอบเวลาทำงาน
- งานสวัสดิการพนักงาน
- งานประเมินผล และการปรับเงินเดือน
- งานให้คำปรึกษาด้านสายการพัฒนาของงาน และแผนสู่ความสำเร็จ
- งานด้านบริหาร/การปรับเปลี่ยนโคร้างสร้างองค์กร
- งานด้านสำรวจอัตรากำลัง
- งานให้บริการข้อมูลต่างๆกับพนักงานขององค์กร
- งานวิเคราะห์งบประมาณ
มีผู้กล่าวว่า งาน HR สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่
- กลุ่มงานด้านบริการ Service Working Group
- กลุ่มด้านการพัฒนาและการจัดการ HR Management & Development Group
ซึ่งจากการวิเคราะห์ตามมุมมองของผม การแบ่งแยก หรือจัดหมวดหมู่ ตามกลุ่มงานทางด้าน HR ไม่ได้ช่วยให้งานบริหารทรัพยากรบุคคลลดลงแม้แต่น้อย อย่างไรก็ต้องทำงานทุกฟังก์ชั่นอยู่แล้ว แต่จะทำงานอย่างไรให้เร็วที่สุด ถูกต้องที่สุด แม่นยำที่สุด ลดขั้นตอนที่ไม่สำคัญให้มากที่สุด นั่นคือโจทย์ ของงาน HR ที่จะต้องแก้ไข
หากผมถามว่า หากไม่แบ่งเป็น 2 กลุ่มดังตัวอย่างข้างต้น แล้ว ก็จะเป็น HR ที่ล้าสมัยหรือเปล่า ? ผมว่าไม่ล้าสมัยนะครับ และถามต่อไปว่า หน้าที่หลักข้อไหน ที่ HR ไม่จำเป็นต้องทำ มีหรือเปล่า? ก็ต้องทำทั้งหมดอยู่ดี
ฉะนั้นแล้ว เราจะแบ่งภาค แบ่งหมวดหมู่ หรือ ตั้งชื่อ อย่างไร กิจกรรม หรืองานหลัก ของ HR ก็ยังเหมือนเดิม แต่จะสำคัญอยู่ที่การบริการระบบงาน ให้ดีเท่านั้นเอง
การบริหารงาน HR ในเชิงบูรณาการ นั้นก็พิจารณาง่ายๆ โดยมีหลักการง่ายๆขอยกตัวอย่าง ดังนี้
- พิจารณางานจากงานที่ไม่จำเป็น ไม่เป็นประโยชน์ หรืองานที่ไม่สามารถนำข้อมูลมาชี้วัด สถิติ อะไรได้ในองค์กรก็ตัดออก
- พิจารณาจากงานเอกสาร หากฟุ่มเฟือยเกินไป ไม่จำเป็นก็ตัดออก หรือหาระบบการจัดเก็บมาทดแทน หรือเปลี่ยนรูปแบบการทำงานใหม่
- พิจารณาตัวบุคคล ทีมงานคนไหนมีปัญหาเรื่องอะไร ก็ส่งไปพัฒนาฝึกอบรม
- ทีมงานต้องคิดและพัฒนางานของตนเองอยู่ตลอดเวลา
การบริหารงานที่เป็นระบบ จำเป็นอย่างยิ่งมีดังนี้
- ต้องมีผู้เชี่ยวชาญ ชำนาญเฉพาะด้าน HR เข้าช่วยจัดระบบ
- ระบบเทคโนโลยีที่ดี เพราะจะช่วยจัดการเวลาที่ศูนย์เสียโดยเปล่าประโยชน์ไปได้
- ทีมงานที่ดี พร้อมที่จะพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
มีหลายที่ รับ ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ที่ไม่มีความรู้ทางด้านนี้มาเลย มีแต่ประสบการณ์ทำงานแบบกว้างๆ ผสมกับลีลาการนำเสนองานที่ดี ทำให้หลายๆองค์กรพบกับความปวดหัว เพราะพวกนี้จะใช้หลัก “บูรณากู” ซึ่งจะเปลี่ยนทุกๆอย่าง ซึ่งทำให้ระบบมีปัญหา และไม่รู้ลักษณะงาน HR กลับกลายมาเป็นเพิ่มเอกสาร เพิ่มขั้นตอนการทำงาน ที่มากขึ้น ซับซ้อนยิ่งขั้น
แหล่งที่มา : เก็บตกจากเมล์