คมความคิด เกาะติดสถานการณ์
มุสลิมไทย
โพสต์
หน้าแรก
ข่าวเด่น
ข่าวโลกมุสลิม
ข่าวเจาะประเด็นโลก
ข่าวโลกอาหรับ
ข่าวกรรมการกลางฯ
ข่าวมุสลิมไทย
คอลัมนิสต์
ผู้หญิง
ปัตตานีดารุสลาม
ประเด็นร้อน
รูปภาพ
คลิป
เวลาละหมาด
คลังความรู้
อิสลามศึกษา
คลังความรู้
คลังสุขภาพ
ร้านอาหาร
แหล่งท่องเที่ยว
แฟชั่นมุสลิม
กูรูมุสลิมไทย
อัลกุรอาน
เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อสำนักข่าว
ร่วมงานกับเรา
หน้าหลัก
ข่าวที่น่าสนใจ
อึ้ง! ผลวิจัยการศึกษาไทยปี 51 ใช้งบสูง ผลสัมฤทธิ์ต่ำ ออกกลางคันอื้อ ป.ตรีล้นตลาด
951
ผู้ชม
อึ้ง! ผลวิจัยการศึกษาไทยปี 51 ใช้งบสูง ผลสัมฤทธิ์ต่ำ ออกกลางคันอื้อ ป.ตรีล้นตลาด
เผยผลวิจัยสภาวะการศึกษาไทยปี 51-52 พบเด็กปฐมวัย 60% ไม่ได้เรียน ขณะที่ ม.ปลาย 64% ได้เรียนต่ำ เหตุออกกลางคัน ยากจน งบประมาณด้านการศึกษาสูงแต่ไม่มีประสิทธิภาพ ระบุภาค
แรงงาน
เกินครึ่งมีระดับการศึกษาแค่ชั้นประถม คนว่างงานเกือบล้าน เป็นผู้จบ ป.ตรี มากสุดถึง 2 แสนคน แสดงถึงการผลิตคนไม่ตรงกับงาน เผยคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกระดับ เฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ภาษาไทยยังน่าห่วง ติงควรประเมินการสอนครูได้เพิ่มเงินวิทยฐานะ แนะประชาชนตั้งพันธมิตรเพื่อการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
วันนี้ (11 ส.ค.) ที่โรงแรมปรินซ์ พาเลช
สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.)
จัดการสัมมนาเรื่อง สภาวะการศึกษาไทย ปี 2551-2552
“การศึกษากับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม”
โดย
รศ.วิทยากร เชียงกูล
คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวในการนำเสนอผลการศึกษาวิเคราะห์และวิจัยเรื่องสภาวะการศึกษาไทยปี 2551-2552
“การศึกษากับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม”
ว่า บทบาทของการศึกษาต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาการเมืองไทยมีความขัดแย้งแบบ 2 ขั้ว และมีความไม่มั่นคงสูง สังคมมีปัญหาความขัดแย้ง เอาเปรียบ ฉ้อฉลเพิ่มขึ้น คุณภาพชีวิตตกต่ำ เด็กและเยาวชนมีปัญหา ทำให้การด้อยพัฒนาทางเศรษฐกิจ การเมือง และการศึกษาต่างมีอิทธิพลต่อกันแบบงูกินหาง
ในการจัดการศึกษา งบประมาณ และระดับการศึกษาของแรงงาน จะเห็นว่าสัดส่วนของผู้เรียนต่อประชากรในทุกระดับการศึกษาในปี 2552 เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย โดยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพิ่มจาก 79.89% เป็น 81.29% ของประชากรวัยเรียน ซึ่งระดับการศึกษาปฐมวัย และมัธยมศึกษาตอนปลายยังมีสัดส่วนของผู้ได้เรียนต่ำ โดยชั้นปฐมวัยมีถึง 61% ของประชากรวัยเดียวกันที่ไม่ได้เรียนต่อ เพราะค่าใช้จ่ายสูง และผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญ ขณะที่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีถึง 64% ของประชากรวัยเดียวกันที่ไม่ได้เรียนต่อ เพราะการออกกลางคัน ความยากจน
“ประชากรวัย 3-17 ปี ที่ไม่ได้เรียนต่อมีราว 2.76 ล้านคน จากประชากรวัยเดียวกันราว 14.79 ล้านคน โดยเด็กที่เข้า ป.1ตอนปี 2540 ได้เรียนถึงชั้น ม.6-ปวช.3 ในปี 2551 เพียง 47.2% ซึ่งส่วนใหญ่ออกกลางคันไปกว่าครึ่ง หรือคิดเป็นจำนวน 5.2 แสนคน ซึ่งรัฐบาลไม่ได้ให้ความสนใจการแก้ปัญหาเด็กออกกลางคันอย่างเป็นระบบจริงจัง นอกจากนี้ปัญหาอื่นๆ อยู่ที่การจัดการศึกษา โดยสถานศึกษาภาครัฐมีจำนวนมากกว่าภาคเอกชนถึง 80.9 : 19.1 ชั้นมัธยมสายสามัญสูงกว่าอาชีวะ 61 : 39 และอุดมศึกษาสายสังคมสูงกว่าสายวิทย์ 70 : 30 ตรงนี้สะท้อนว่าการที่จะจัดการศึกษาให้เท่าเทียมกันในการปฏิรูปการศึกษายังทำอย่างไม่จริงจัง”
รศ.วิทยากร
ใช้งบการศึกษาสูงแต่ผลสัมฤทธิ์ต่ำ
รศ.วิทยากร กล่าวต่อว่า องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการศึกษาได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1.57 ล้านคน เป็น 1.87 ล้านคน ส่วนใหญ่คือการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ส่วนการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเช่นกันจาก 3.89 ล้านคน เป็น 3.92 ล้านคน ซึ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานก็อยู่ในเกณฑ์ต่ำเช่นกัน ด้านงบการศึกษาในปี 2552 ยังสูงเทียบได้กับ 20% ของงบประมาณทั้งหมด แต่ประสิทธิภาพการใช้จ่ายอยู่ในเกณฑ์ต่ำ หากเทียบกับจีน เกาหลีใต้ ที่ใช้งบการศึกษาต่ำกว่าไทย แต่เด็กได้เรียนชั้นมัธยมศึกษามากกว่า และผลสัมฤทธิ์โดยเฉลี่ยก็ดีกว่า ด้านของแรงงานในประเทศไทยที่มี 54.2% ราว 20.11 ล้านคนของแรงงานทั้งหมด 37 ล้านคน พบมีการศึกษาแค่ระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า เนื่องจากปัญหาการออกเรียนกลางคัน ทำให้สัดส่วนแรงงานที่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอยู่ที่ 13.7% ของแรงงานทั้งหมด สำหรับผู้ว่างงานที่มีกว่า 8.2 แสนคนนั้น จบปริญญาตรีมากที่สุดถึง 2 แสนคน แสดงให้เห็นถึงการผลิตคนที่ไม่ตรงตามความต้องการของตลาดงาน
คุณภาพสถานศึกษาต่ำ-ภาษาไทยแย่
ด้านการประเมินคุณภาพ ประสิทธิภาพ การศึกษาโดย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และ สกศ. พบด้วยว่า เด็ก 3-5 ปี ซึ่งเป็นวัยอนุบาล มีโอกาสได้เรียนน้อย และสถานศึกษาที่มีคุณภาพดีมีน้อย คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานในทุกระดับมีความแตกต่างกันสูง ทำให้คะแนนเฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เช่น คะแนนจากการทดสอบในระดับช่วงชั้น ป.6 ม.3 ม.6 วิชาส่วนใหญ่ได้เฉลี่ยต่ำกว่า 50% และตกต่ำลงจาก 5 ปีก่อน
ซึ่งที่น่าห่วงคือ วิชาภาษาไทยอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก ทั้งการอ่านออก เขียนได้ ซึ่งวิชานี้เป็นพื้นฐานเพื่อความเข้าใจวิชาอื่นๆ หากภาษาไทยอ่อนวิชาอื่นก็จะอ่อนตามไปด้วย และจากการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 2 ของ สมศ.พบสถานศึกษาที่ผ่านการรับรองได้คะแนนดีกว่ารอบแรก แต่ความสามารถของผู้เรียน การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ ยังคงได้คะแนนต่ำอยู่
“การที่นักเรียนไทยมีผลสัมฤทธิ์ต่ำ เรามักมองไปที่ปัญหาเรื่องการขาดแคลนครูโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ นั่นคงเป็นความจริงส่วนหนึ่ง แต่สำหรับวิชาภาษาไทย สังคมศึกษาก็อ่อนตามไปด้วยแสดงว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นต้องมาจากการสอน และการเรียนที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ และการที่เพิ่มเงินวิทยฐานะให้ครูนั้นแปลว่าไม่มีใครคอยประเมินเลยว่าเพิ่มเงินให้แล้วครูมีการพัฒนาคุณภาพการสอนของตัวเองให้ดีขึ้นหรือไม่” รศ.วิทยากร กล่าว
รศ.วิทยากร กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการเรียนฟรี 15 ปีนั้น อยากให้เปลี่ยนชื่อเป็นการช่วยออกค่าใช้จ่าย 5 อย่างสำหรับทุกคน เพราะไม่ได้ช่วยคนจนอย่างแท้จริง และต้องพัฒนาครูและระบบโรงเรียนให้ช่วยแก้ปัญหาเด็กที่มีแนวโน้มจะออกกลางคันให้ได้มากขึ้น ด้านการวางแผนผลิตกำลังคนนั้นยังขาดการสนองทางเศรษฐกิจ เช่นชั้นมัธยมศึกษาสายสามัญ อุดมศึกษาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์มีมากเกินไป บางระดับ บางประเภทเช่น ช่าง อาชีวศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ยังขาดแคลนอยู่
แนะตั้งพันธมิตรเพื่อพัฒนาการศึกษา
รศ.วิทยากร กล่าวด้วยว่า สำหรับแนวทางแก้ปัญหาที่เป็นคอขวดของการปฏิรูปการศึกษานั้น ต้องเปลี่ยนการศึกษาแบบแพ้คัดออก เป็นการจัดการศึกษาแบบยืดหยุ่น ทั่วถึง มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาคนทั้งประเทศอย่างเต็มที่ และปรับโครงสร้างอำนาจการบริหารแบบรวมที่ศูนย์กลางเป็นสำนักงานคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีภาคี 3 ฝ่ายคือ ศธ. ภาคประชาชน ครูอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในฐานนะผู้ปฏิบัติงาน เพื่อลดอำนาจผูกขาดและวิธีบริหารแบบสั่งการจากบนลงล่าง พร้อมทั้งปฏิรูปครูอาจารย์ให้เป็นครูแนวใหม่ รักการอ่านและการวิจัย สอนให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์เป็น สำหรับการจัดหางบประมาณทางการศึกษาเพิ่มนั้นอยากให้มีการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า เพิ่มสัมปทานคลื่นความถี่ ภาษีบาป โดยจัดสรรอย่างเป็นธรรม โปร่งใส เช่น เพิ่มให้โรงเรียนระดับปฐมวัย โรงเรียนชนบท และชุนแออัด
“ที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย อย่างการรวมตัวของภาคประชาชนของกลุ่มพันธมิตรฯ ก็สามารถสร้างการเปลี่ยนทางการเมืองได้ บางครั้งกลุ่มคนด้านการศึกษาอาจต้องมีการรวมตัวกันในนามของพันธมิตรเพื่อการพัฒนาการศึกษาก็เป็นได้ เพื่อการศึกษาจะได้มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น”
คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต กล่าว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
มาแรงรอบสัปดาห์
อัพเดทล่าสุด
ประโยชน์ของเห็ดเข็มทองที่มีมากกว่าแค่ความอร่อย
หากจะพูดถึงเห็ดที่คนรู้จักอย่างแพร่หลายและนิยมรับประทานกันทั่วไป หนึ่งในนั้นคงต้องมีเห็ดเข็มทองอย่างแน่นอน เพราะสามารถนำมา...
โรคแกะผิวหนัง สัญญาณอันตรายและวิธีรับมืออย่างเหมาะสม
โรคแกะผิวหนังเป็นโรคทางจิตเวชที่ผู้ป่วยมักจะมีการแกะ แคะ บีบ หรือเกาผิวหนังจนเกิดบาดแผล โดยที่ไม่...
เลือกน้ำมันพืชอย่างไรให้ไกลโรค
อยากได้น้ำมันดี ต้องรู้สิ่งเหล่านี้!
ดื่มน้ำอุ่นวันละนิดชีวิตเปลี่ยน
ทราบหรือไม่ว่า น้ำอุ่น เครื่องดื่มที่แสนจะธรรมดาที่เรามักจะมองข้ามไปนั้น เป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง
3 อาหารที่ไม่ควรอุ่นซ้ำ อาหารที่คุณทานประจำ อาจซ่อนอันตรายที่คุณคาดไม่ถึง!
เคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลาอุ่นอาหารซ้ำแล้วซ้ำอีก ทำไมถึงรู้สึกไม่ค่อยสบายตัว? วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ 3 อาหารยอดนิยมที่ไม่ควรนำมาอุ่นซ้ำ
10 อันดับ สายพันธุ์แมวน่าเลี้ยงที่สุด รับรองทาสแมวหลงรักหัวปักหัวปำ
สายพันธุ์แมวที่น่าเลี้ยงมาให้ถึง 10 สายพันธุ์ รับรองว่าเข้ากับมนุษย์ได้ชัวร์ พร้อมทั้งบอกระดับนิสัย ไม่ว่าจะเป็นความซน ความขี้อ้อน การร้องเสียงดัง และความเลี้ยงง่าย
10 อันดับ ค่าเทอมโรงเรียนนานาชาติ แพงที่สุดในประเทศไทย ปี 2024
โรงเรียนนานาชาติเป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นสากล โดยใช้หลักสูตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
พีระมิดเบ็นเบ็น พีระมิดหินดำ ที่ทำนักวิทย์งงงวยมานาน
พีระมิดเบ็นเบ็น ทำให้นักวิทยาศาสตร์งงงวยมานานหลายปี
เคล็ดลับการประหยัดค่าไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ
ความรู้ : เคล็ดลับบางส่วนสําหรับการประหยัดค่าไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ
วิธีซักถุงเท้านักเรียนให้ขาวจั๊ว น่าใส่มากขึ้น
วิธีซักถุงเท้านักเรียนให้ขาวจั๊ว น่าใส่มากขึ้นแบบง่ายๆ
7 วิธีดื่มน้ำช่วยให้ผอมได้จริง
รู้หรือไม่ว่าการดื่มน้ำ สามารถช่วยสาว ๆ ลดน้ำหนักได้! แต่ต้องดื่มให้ถูกวิธีนะ
เรื่องของแป้ง แป้งทำขนม แป้งทำอาหาร
แป้งที่ใช้ทำอาหารและแป้งทำขนมในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิดให้เลือกใช้ตามวัตถุประสงค์
10 สิ่ง ที่ควรนําติดรถไปด้วยเวลาเดินทางไกลหรือขับรถนานๆ
10 สิ่ง ที่ควรนําติดรถไปด้วยเวลาเดินทางไกลหรือขับรถนานๆ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง หลักการและผลการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง หลักการและผลการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ แหล่งน้ำบนดิน แหล่งน้ำใต้ดิน ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ แหล่งน้ำบนดิน แหล่งน้ำใต้ดิน ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ สมบัติของธาตุและสารประกอบ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ สมบัติของธาตุและสารประกอบ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบและสมบัติของหิน ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบและสมบัติของหิน ม.2 วิทยาศาสตร์
คลังสื่อการสอน ม.2 วิทยาศาสตร์
คลังสื่อการสอน ม.2 วิทยาศาสตร์
เหตุใดไม่ควรดื่มกาแฟเกินสี่ถ้วยต่อวัน
เหตุใดไม่ควรดื่มกาแฟเกินสี่ถ้วยต่อวัน
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การคูณพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การคูณพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การบวกและการลบพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การบวกและการลบพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
วิธีเพิ่มเครื่องคิดเลขบน iPad แบบไม่ติดโฆษณา โหลดแล้วใช้ได้เลยฟรี!
แอปเครื่องคิดเลขบน iPad เป็นหนึ่งสิ่งที่หลายคนรอคอยมากที่สุด เพราะเวลาที่เราต้องการใช้เครื่องคิดเลข
พักโรงแรมไม่ควรมองข้าม “หลอนใต้เตียง” แนะโยนขวดน้ำเข้าไปเช็กให้ชัวร์ก่อนนอน
ใต้เตียงโรงแรมที่ไม่ควรมองข้าม แนะโยนขวดน้ำเข้าไปเช็กให้ชัวร์ก่อนนอน
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารากที่สาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารากที่สาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ประวัติและผลงานของกวีเอก สุนทรภู่ วิชาภาษาไทย
ประวัติและผลงานของกวีเอก สุนทรภู่
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง บทอาขยานภาษาไทยระดับประถม มัธยม พร้อมไฟล์ MP3
ฟรีบทอาขยานภาษาไทยระดับประถม มัธยม พร้อมไฟล์ MP3
ข้อสอบ O-NET ปีการศึกษา 2560 พร้อมเฉลย ดาวน์โหลดได้ที่นี่
ข้อสอบ O-NET ปีการศึกษา 2560 พร้อมเฉลย ดาวน์โหลดได้ที่นี่
รวบรวมใบงานแบบฝึกหัดภาษาไทย ป.4 สามารถดาวน์โหลดได้
รวมใบงานแบบฝึกหัดภาษาไทย ป.4 โดยในแบบฝึกหัดนี้จะช่วยเสริมสร้างความรู้ภาษาไทยต่อยอดจากเรื่องที่เรียนมา
ทฤษฎีบทเศษเหลือ (Remainder Theorem)
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ทฤษฎีบทเศษเหลือ ม.3 คณิตศาสตร์
อย่ากังวลไปเลย สำหรับคนที่ไม่มีคู่ เพราะคู่ของคุณ ก็ยังไม่มีใครเหมือนกัน