งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้าง


963 ผู้ชม


งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้าง




คดีแดงที่  9548/2539

๓๙ นายสุชาติ ภมรกูล โจทก์
๙ บริษัทอินโดรามา-เคมีคอลส์
(ประเทศไทย) จำกัด จำเลย
ฯลฯ
และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒

 

มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 3 (3)
ประการกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ
ร่างกายของลูกจ้าง ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 (2)

คุณสมบัติของสารเฟอร์ฟูรัลและเฟอร์ฟูริลแอลกอฮอล์แม้ในอุณหภูมิปกติก็ระเหยเป็นไอได้ และเมื่อสัมผัสทางผิวหนังหรือเยื่อบุตาก็ทำให้ผิวหนังหรือดวงตาได้รับอันตราย และหากเข้าสู่ร่างกายโดยทางหายใจหรือทางปากก็อาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ทั้งเฉียบพลันหรือค่อยเป็นค่อยไปเป็นระยะเวลานานทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณสารดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายมากน้อยเพียงใด สารเฟอร์ฟูรัลและเฟอร์ฟูริลแอลกอฮอล์จึงเป็นวัตถุเคมีที่เป็นอันตรายในตัวของมันเอง เมื่อสารเฟอร์ฟูรัลและเฟอร์ฟูริลแอลกอฮอล์เป็นสารที่ระเหยได้ในอุณหภูมิปกติ บุคคลที่ทำงานผลิตสารดังกล่าวจึงอาจได้รับอันตรายตลอดเวลา โจทก์ทั้งยี่สิบสามเป็นลูกจ้างของจำเลยทำงานด้านการผลิตสารเฟอร์ฟูรัลและเฟอร์ฟูริลแอลกอฮอล์งานของโจทก์ทั้งยี่สิบสามจึงเป็นงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายตาม (2) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้าง ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยจะมีระบบป้องกันอันตรายหรืออุบัติเหตุดีเพียงใด และลูกจ้างของจำเลยเคยได้รับอันตรายหรือไม่ งานดังกล่าวของจำเลยจึงตกอยู่ในบังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 3 (3) ที่จำเลยจะต้องจัดให้ลูกจ้างทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 42 ชั่วโมง เมื่อปรากฏว่าจำเลยให้โจทก์ทั้งยี่สิบสามทำงานสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง หรือเฉลี่ยวันละ 8 ชั่วโมง โดยทำงาน6 วัน เวลาทำงานปกติคือ 8 ถึง 17 นาฬิกา พัก 12 ถึง 13 นาฬิกา โจทก์ทั้งยี่สิบสามจึงทำงานล่วงเวลาวันละ 1 ชั่วโมง ซึ่งจำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ทุกคนตามฟ้อง

ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในเงินค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ทั้งยี่สิบสามเพราะโจทก์ทั้งยี่สิบสามสมยอม จำเลยมิได้ผิดสัญญานั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังเป็นยุติตามคำแถลงของโจทก์และจำเลยว่า หากโจทก์ทั้งหมดมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาก็จะได้รับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในต้นเงินดังกล่าวด้วย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

 

…………………..……………………………………………………………..

 

 

(พิมล สมานิตย์ - สมมาตร พรหมานุกูล - อุระ หวังอ้อมกลาง )

 

ศาลแรงงานกลาง - นายบุญทอง ปลื้มวรสวัสดิ์

ศาลอุทธรณ์ -


อัพเดทล่าสุด