เงื่อนไขการจ่ายเบี้ยเลี้ยงที่ดีควรเขียนอย่างไร


702 ผู้ชม


เงื่อนไขการจ่ายเบี้ยเลี้ยงที่ดีควรเขียนอย่างไร




 
 

   คำพิพากษาฎีกา
ที่ 8496/2544

นายอัศวิน เตชะพิมานวงศ์                โจทก์
บริษัท คอนกรีต คอนสตรัคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ 1        จำเลย
นายจอห์น แบรดบูรี่ ที่ 2
   
 
เรื่อง 1. ลูกจ้างสามารถฟ้องกรรมการผู้มีอำนาจผูกพันธ์บริษัทฯ ได้หรือไม่
    และความ รับผิดของกรรมการบริษัทมีต่อลูกจ้าง เพียงใด
2. เงื่อนไขการจ่ายเบี้ยเลี้ยงที่ดีควรเขียนอย่างไร
 

1. โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2536 ตำแหน่งผู้จัดการโครงการ
ได้รับเงินเดือน เดือนละ 92,500 บาท เบี้ยเลี้ยงเดือนละ 8,000 บาท จำเลยที่ 1
โดยจำเลยที่ 2 มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2542 อ้างเหตุว่างาน
ส่วนที่โจทก์รับผิดชอบได้เสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เดือน
ธันวาคม 2541 ถึง พฤศจิกายน 2542 จำเลยที่ 1 ไม่ได้จ่ายเบี้ยเลี้ยง เดือนละ
8,000 บาทแก่โจทก์ คิดเป็นเงิน 96,000 บาท ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระ
เบี้ยเลี้ยง 96,000 บาท และค่าเสียหาย 5,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย

2. จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 2 กระทำการใดๆ ก็เป็นการกระทำแทนจำเลย
ที่ 1 มิใช่กระทำในฐานะส่วนตัว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 1
จ้างโจทก์ทำงานในตำแหน่ง “ผู้จัดการโครงการ” เงินเดือนเดือนละ 92,500 บาท
แต่จำเลยที่ 1 ไม่เคยตกลงให้เบี้ยเลี้ยง เดือนละ 8,000 บาท ตลอดไปในอัตรา ตายตัว โดยจำเลยที่ 1 จะกำหนดให้แก่โจทก์ขณะปฏิบัติงานอยู่ที่จังหวัด
นครราชสีมาก่อนเลิกจ้างโจทก์ปฏิบัติ หน้าที่ในโครงการไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ซึ่งไม่ได้กำหนดเบี้ยเลี้ยง แก่โจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเบี้ยเลี้ยง เป็นเงิน 96,000
บาท คำสั่งเลิกจ้างโจทก์ ชอบด้วยกฎหมายโดย โจทก์ทำงานโครงการไทรน้อย
ซึ่งได้เสร็จสิ้นแล้วจึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้ยกฟ้อง

3. ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่า ขณะที่โจทก์รับผิดชอบโครงการไทรน้อยแต่เหลือ
งานเก็บอีกเพียงเล็กน้อยเมื่อจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่
เป็นธรรม ให้จ่ายค่าเสียหายให้เท่าค่าจ้างในช่วงระยะเวลาก่อนที่โครงการไทรน้อย
จะเสร็จสมบูรณ์ เป็นเงิน 185,000 บาท และให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่า เบี้ยเลี้ยงตาม
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จำเลยที่ 1 ทำกับ โจทก์ เดือนละ 8,000 บาท
รวม 10 เดือน เป็นเงิน 80,000 บาท จำเลยที่ 2 มีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตาม
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 (2) แต่ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
เป็นส่วนตัวตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 และมาตรา 820 พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วม
กันชำระเบี้ยเลี้ยงจำนวน 80,000 บาท ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำนวน 185,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย

4. ศาลฎีกาพิพากษายืน

   
เงื่อนไขการจ่ายเบี้ยเลี้ยงที่ดีควรเขียนอย่างไร เงื่อนไขการจ่ายเบี้ยเลี้ยงที่ดีควรเขียนอย่างไร
  (รวบรวมโดยนายไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น) 1/22


อัพเดทล่าสุด