เทคนิคในการพยากรณ์เกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน
เทคนิคในการพยากรณ์เกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน
ในการพยากรณ์เกี่ยวกับการวางแผนกำลังคนนั้น เทคนิควิธีการที่สำคัญมักจะมีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน นั่นคือ การพยากรณ์เกี่ยวกับแผนกำลังที่กระทำโดยสำนักงานใหญ่ หรือจุดรวมระดับสูงของฝ่ายบริหารที่จะพยากรณ์ความต้องการรวมของพนักงานทั้งหมด หรือนั่นก็คือ วิธีการวางแผนจากส่วนกลางในระดับให้สำหรับหน่วยงานต่างๆที่อยู่ด้านล่าง หรือ “Top-down approach”
ในทางกลับกัน คือ วิธีการพยากรณ์ความต้องการต่างๆ จากแต่ละหน่วยงานในระดับทั่วไปเพื่อรวบรวมเข้ามายังจุดศูนย์กลาง หรือการวางแผนจากล่างขึ้นบน “Bottom-Up approach” หรืออาจจะใช้ทั้งสองวิธีผสมกัน การใช้เทคนิคเพื่อการพยากรณ์ต่างๆ ในแต่ละหน่วยงานย่อมแตกต่างกันไปแต่จะกระทำได้ละเอียดสมบูรณ์และมีคุณภาพดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ได้เคยมีการพยากรณ์เกี่ยวกับการวางแผนกำลังคนมาแล้วว่ามีมากน้อยเท่าใด โดยปกติเทคนิควิธีการที่ใช้มักจะเริ่มต้นจัดทำขึ้นโดยง่ายๆ ในระยะแรก และใช้อย่างไม่เป็นทางการก่อน แล้วค่อยๆ วิวัฒนาการขึ้นมาจนเป็นวิธีการที่มีคุณภาพสูงขึ้น
สำหรับเทคนิคเกี่ยวกับการพยากรณ์เพื่อการวางแผนกำลังคนนั้นมี 4 วิธีด้วยกัน ซึ่ง 3 วิธีแรกเป็นเทคนิคการพยากรณ์จากส่วนกลางที่ทำให้หน่วยงานต่างๆ ข้างล่าง นั้นคือ วิธีที่ 1 ให้ผู้ชำนาญการเป็นผู้ประมาณการ วิธีที่ 2 คือ การทำการพยากรณ์แนวโน้ม (trend projection) วิธีที่ 3 คือสร้างรูปแบบ(Modeling) และวิธีสุดท้าย คือการวางแผนจากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งจะเป็นการใช้เทคนิคโดยทำการคาดการณ์จากหน่วยข้างล่างเพื่อรวบรวมเข้ามาในส่วนกลาง
การใช้เทคนิคโดยใช้ผู้ชำนาญการเป็นผู้ประมาณการ วิธีนี้นับเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการวางแผนกำลังคน ซึ่งอาศัยผู้ชำนาญเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ช่วยพยากรณ์ความต้องการเกี่ยวกับการว่าจ้างทั้งนี้โดยขึ้นอยู่กับดุลพินิจและประสบการณ์ของผู้ชำนาญผู้นั้น ซึ่งผู้บริหารงานบุคคลที่ปฏิบัติโดยใช้เทคนิคนี้มักจะดำเนินโดยใช้ความคิดของตนเข้าประกอบพิจารณา โดยดูจากระดับของการว่าจ้างในอดีตและตั้งคำถามเกี่ยวกับความต้องการในอนาคตขึ้นอย่างง่ายๆ การใช้ผู้ชำนาญการเพื่อคาดการณ์เกี่ยวกับความต้องการในอนาคตขึ้นอย่างง่าย การใช้ผู้ชำนาญการเพื่อคาดการณ์ดังกล่าวนี้อาจจะกระทำโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นอิสระก็ย่อมจะได้คุณภาพไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร วิธีที่ดีกว่า คือ การใช้ผู้ชำนาญการมาให้ความเห็นตามวิธีการของ The Delphi Techniques อันเป็นวิธีการปฏิบัติที่มีขั้นตอนที่คิดขึ้นโดยบริษัท Rand Corp. ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1940 เพื่อให้มีหนทางที่จะได้ข้อมูลที่เป็นข้อยุติของความเห็นของกลุ่มผู้ชำนาญการที่ค่อนข้างจะเชื่อถือได้มากยิ่งขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้น วิธีการง่ายๆของ The Delphi Techniques ได้กำหนดไว้ที่พยายามมิให้มีการพบปะกันโดยตรงในระหว่างผู้ชำนาญการ แต่ให้มีการแยกพิจารณาและกลั่นกรองความคิดมาจากหลายๆ ทางเพื่อกลั่นกรองข้อแตกต่างหรือข้อผิดเพี้ยนให้ ออกไปเป็นลำดับ จนได้ความคิดจากจุดต่างๆ ที่เหมือนกันซึ่งน่าจะยอมรับได้ว่ามีความถูกต้องที่สุด
วิธีการพยากรณ์แนวโน้ม (Trend projection Techniques) เทคนิควิธีที่สองนี้ คือ การพยายามใช้ วิธีการพยากรณ์จากข้อมูลในอดีตเพื่อจะพิจารณาความสัมพันธ์จากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการว่าจ้างและคาดการณ์ไปถึงอนาคต ตัวอย่างเช่น ในธุรกิจหลายๆแห่ง ระดับของยอดขายมักจะมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อการว่าจ้าง ดังนั้น ผู้วางแผนพนักงานก็จะพัฒนาตารางหรือกราฟ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างยอดขายกับการว่าจ้างขึ้น
ปี ข้อมูลจริง | ยอดขายจริง | จำนวนพนักงาน | จำนวนพนักงานที่คาดการณ์โดยปรับปรุงผลผลิตที่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ |
2547 2548 2549 | 1,000,000 1,200,000 1,400,000 | 50 60 70 | 50 59 66 |
ปี ข้อมูลพยากรณ์ | ยอดขาย (พยากรณ์) | จำนวนพนักงาน (พยากรณ์) | |
2550 2551 2552 | 1,400,000 1,600,000 1,800,000 | 80 80 100 | 74 80 87 |
ตารางแสดง ตัวอย่าง การวางแผนกำลังคนตามวิธีคาดการณ์แนวโน้มของบริษัท
เทคนิคในการสรรหา Model หรือการพยากรณ์จากหลายๆ ทาง (Multiple predictive techniques) เป็นวิธีพยากรณ์ความต้องการจากข้างบนลงข้างล่างที่ใช้เทคนิคในการพยากรณ์ค่อนข้างสมบูรณ์มากกว่า วิธีนี้จะต่างจากวิธีที่สองตรงที่ การพยากรณ์แนวโน้มจะมีการพิจารณาความสัมพันธ์แต่เพียงปัจจัยหนึ่งปัจจัยเดียวเท่านั้น เช่น ยอดขาย เป็นต้น แต่ในกรณีของการสร้าง model นี้ได้พยายามหาความสัมพันธ์จากปัจจัยหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องโดยมีขอบเขตของการวิเคราะห์สมบูรณ์กว่าและครบถ้วนถูกต้องมากกว่า เช่น การพิจารณาถึงปัจจัยด้านยอดขาย ผลิตภัณฑ์ประชาชาติที่ผลิตได้ สภาพการทำงาน และอื่นๆ ซึ่งต้องมีการนำเอาคณิตศาสตร์ชั้นสูงเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ เช่น การสร้าง Model ของ Markov และการวิเคราะห์ด้วยสูตรคณิตศาสตร์อื่นๆ ความยุ่งยากดังกล่าว วิธีนี้จึงมีใช้เฉพาะในบริษัทขนาดใหญ่มากๆ เท่านั้น
การใช้เทคนิคการพยากรณ์จากหน่วยงานต่างๆ การให้หน่วยงานต่างๆ ทำการพยากรณ์ความต้องการจากข้างล่างขึ้นมา และสำนักงานใหญ่ทำการรวบรวมสรุปผลเป็นกำลังคนที่พยากรณ์ว่าจะจ้างนั้น วิธีการจะทำโดยให้หัวหน้าหน่วยงานแต่ละคนทำการพยากรณ์ความต้องการของตนโดยการพิจารณาจากงานในจุดของตัวเองขึ้นมา โดยตรวจสอบกำลังคนจากปัจจุบันก่อนและทำการพยากรณ์สำหรับอนาคตควบคู่กัน
ที่มา : รองศาสตราจารย์ ธงชัย สันติวงษ์