การสัมภาษณ์งานแบบมีโครงสร้าง : หลักการของการประมวลผลข้อมูลพฤติกรรมในการสัมภาษณ์งาน


703 ผู้ชม


การสัมภาษณ์งานแบบมีโครงสร้าง : หลักการของการประมวลผลข้อมูลพฤติกรรมในการสัมภาษณ์งาน




การสัมภาษณ์งานแบบมีโครงสร้าง : หลักการของการประมวลผลข้อมูลพฤติกรรมในการสัมภาษณ์งาน

 

        การสัมภาษณ์งานแบบมีโครงสร้างมุ่งให้เกิดความได้มาตรฐานของการประมวลผลข้อมูลเชิงพฤติกรรม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์อย่างเสมอหน้าไม่เลือกปฏิบัติ ดังนั้น ในที่นี้จึงขอกล่าวถึงหลักการของการประมวลข้อมูลเชิงพฤติกรรมได้ดังนี้

1.  ให้ความยุติธรรม  (fairness) แก่ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ทุกคนอย่างเสมอภาค

2. โปร่งใส (transparent) กรรมการต้องสามารถอธิบายย้อนหลังให้แก่ผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจได้ว่าทำไมถึงให้คะแนนแก่ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์แต่ละคนเช่นนั้นจากข้อมูลเชิงพฤติกรรมในการบันทึกของตน

3.  ตรวจสอบได้ (verifiable)  จากการเก็บข้อมูลประเมิน บันทึกไว้เป็นหลักฐานทำให้เอื้อต่อการเปรียบเทียบการให้คะแนนแต่ละครั้งของกรรมการ และสามารถหาความสอดคล้องในการประเมินของกรรมการแต่ละคนต่อผู้เข้ารับการสัมภาษณ์คนเดียวกัน รวมทั้งการหาความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ของการสัมภาษณ์เมื่อเทียบกับตัวแปรเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการปฏิบัติงานของผู้ที่ผ่านการคัดเลือกที่เสนอให้งาน โดยทำไว้อย่างมีหลักฐาน

4. เป็นประชาธิปไตย (democratic) ผลการประเมินจะมิใช่การชี้นำของกรรมการคนใดคนหนึ่ง แต่ละเป็นผลของความเห็นร่วมกันของคณะกรรมการที่ดำเนินการอย่างเปิดเผย รับฟังความคิดเห็นด้านบวกด้านลบเกี่ยวกับผู้สมัครทุกคนจากกรรมการผู้ทำการสัมภาษณ์ก่อนจัดอันดับเสนอให้งานแก่ผู้รับการสัมภาษณ์ที่เห็นว่ามีความเหมาะสม

5. เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม (participatory) กรรมการทุกคนมีสิทธิประเมินทุกมิติที่ประเมินโดยกรรมการสัมภาษณ์ แม้จะได้รับมอบหมายให้ซักถามบางมิติ ก็ตาม

6. ชี้แจงปกป้องตนได้ (defensible)  หากมีการร้องเรียนจากผู้สมัครหรือผู้เสียหายใดๆ อาทิ ตามพระราชบัญญัติข่าวสารข้อมูล หน่วยงาน ผู้บริหาร หรือบุคลากรของบริษัท ขององค์การที่รับผิดชอบดำเนินการสัมภาษณ์นั้นสามารถที่จะอธิบาย แก้ต่างให้แก่ผู้เสียหาย หรือศาลให้รับฟังได้อย่างมีเหตุผล ยืนยันถึงขั้นตอนการดำเนินการต่างๆได้


อ้างอิงจาก : การสัมภาษณ์งานแบบมีโครงสร้าง  ฉบับปรับปรุง พิมพ์ครั้งที่ 3

โดย :  ดร.วีระวัฒน์ ปันนิตามัย

อัพเดทล่าสุด