การประเมินผลงานฝึกอบรม : วิธีการในการประเมินโครงการฝึกอบรม "ตามหลักของ Parker"


659 ผู้ชม


การประเมินผลงานฝึกอบรม : วิธีการในการประเมินโครงการฝึกอบรม "ตามหลักของ Parker"




        ปัจจุบันมีผู้ให้ความสำคัญและความสนใจในการติดตามและตรวจสอบผลการฝึกอบรมมากว่าในอดีต เนื่องจากความตื่นตัวของผู้บริหารที่จะต้องบริหารองค์กรให้ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนการปรับโครงสร้างการบริหารงานให้มีการบริหารค่าใช้จ่ายอย่างเกิดผลสูงสุด ทำให้มีผู้พัฒนาเทคนิคและวิธีการประเมินโครงการฝึกอบรมออกมาหลายรูปแบบ โดยที่เราจะกล่าวถึงแนวทางหรือวิธีการในการประเมินโครงการฝึกอบรมที่นิยมใช้งาน ต่อไปนี้

วิธีของ Parker

      Parker  มองการประเมินในแง่ของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาใช้ในการวิเคราะห์ โดยแบ่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินออกเป็น 4 กลุ่ม ต่อไปนี้

การประเมินผลงานฝึกอบรม : วิธีการในการประเมินโครงการฝึกอบรม "ตามหลักของ Parker"

2.1  การปฏิบัติงาน (Job Performance)  การศึกษาว่าผู้เข้าโครงการฝึกอบรมนั้นได้ปรับปรุงตนเองในการปฏิบัติงานหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด การประเมินการปฏิบัติงานอาจำได้โดยการวัดเชิงวัตถุวิสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติงา ซึ่งจะรวมถึงผลงาน (Work Outputs)  คุณภาพของงานความเหมาะสมของเวลา การลดต้นทุน นอกจากนี้ผู้ประเมินอาจจะดูได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงาน (On – the – job Behavior) ที่บ่งชี้ให้เห็นถึงการปฏิบัติงานที่ดีขึ้น

2.2  การปฏิบัติงานกลุ่ม (Group Performance) เป็นการประเมินผลกระทบของโครงการฝึกอบรมที่มีต่อกลุ่ม หรือต่อองค์กรที่ผู้เข้าอบรมต้องทำงานด้วย ซึ่งเป็นการยากต่อการประเมินมาก เพราะมีปัจจัยอื่นๆอีกที่นอกเหนือจากการฝึกอบรม ที่อาจจะมีผลต่อการปฏิบัติงานของกลุ่มการประเมินการปฏิบัติงานกลุ่ม จึงครอบคลุมถึงการวัดการปฏิบัติงานกลุ่มในด้ายผลิตภาพ เช่นผลผลิตรวม อัตราการผิดพลาดและของเสียต้นทุน อัตราการขาดงานและอื่นๆ โดยรูปแบบการวิจัยที่เหมาะสมกับการประเมินการปฏิบัติงานของกลุ่ม คือ การเก็บรวมรวมข้อมูลก่อนและหลังเพื่อการศึกษาเปลี่ยนแปลง โดยพยายามแยกผลของตัวแปลอื่นๆออกให้มากที่สุด

2.3  ความพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม (Participants’Satisfaction) เป็นการประเมินว่า ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมมีความพอใจกับโครงการฝึกอบรมมากน้อยเพียงใด โดยอาจใช้แบบสอบถามตอนสิ้นสุดโครงการ และการสัมภาษณ์ในการรวบรวมข้อมูลควบคู่กัน เพื่อให้เห็นภาพของความรู้สึกของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อโครงการ

2.4  ความรู้ที่ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม (Participants’s Knowledge Gained)  เป็นการประเมินให้ทราบว่า ผู้เข้าร่วมได้รับอะไรบ้างจากการอบรม ในด้านของข้อเท็จจริง เทคนิค หรือทักษะ ซึ่งถ้าเป็นเรื่องความรู้อาจจะต้องใช้วิธีการทดสอบความรู้ก่อนและหลัง แต่ถ้าเป็นเรื่องของทักษะอาจต้องใช้วิธีการฝึกปฏิบัติทักษะ หรือการจำลองสถานการณ์ (Simulations) เพื่อวัดว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้อะไรบ้าง

        โดยทั่วไปการประเมินในทางปฏิบัติมักจะมุ่งไว้ที่ 2 ประเภทคือ ความพอใจและความรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ว่ามีมากน้อยเพียงใด และมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อองค์กร ซึ่งจะมากกว่าการประเมินความสามารถในการประยุกต์ความรู่ หรือสิ่งที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้จากโครงการ


                                        ข้อมูลอ้างอิง : การประเมินผลงานฝึกอบรม

โดย  : ดร. ณัฎฐพงษ์ เขจรนันทน์

 

อัพเดทล่าสุด