สรุปแนวปฏิบัติ ในการ สร้างหลักสูตรฝึกอบรม


926 ผู้ชม


สรุปแนวปฏิบัติ ในการ สร้างหลักสูตรฝึกอบรม




จากข้อเขียนของ กริช อัมโภชน์ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมด จะเห็นได้ว่าการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ถึง 10 ขั้นตอน คือ
                  1. การทบทวนความจำเป็นในการฝึกอบรม
                  2. ระบุภารกิจที่เป็นปัญหาหรือต้องการพัฒนา
                  3. การกำหนดวัตถุประสงค์การฝึกอบรม
                  4. การจัดระดับความสำคัญของภารกิจที่เป็นปัญหา
                  5. การกำหนดหัวข้อวิชา
                  6. การกำหนดวัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชา
                  7. การกำหนดแนวการอบรม
                  8. การกำหนดเทคนิคการฝึกอบรม
                  9. การกำหนดระยะเวลาของหัวข้อวิชาและหลักสูตร
                10. การเรียงลำดับหัวข้อวิชา
                  หากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจัดโครงการฝึกอบรมสามารถสร้างหลักสูตรฝึกอบรมได้ตามกระบวนการ และขั้นตอนที่ระบุ มาแล้วทั้งหมด ผู้เขียนเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า จะทำให้ได้หลักสูตรฝึกอบรมที่มีคุณภาพ สามารถก่อให้เกิดประสิทธิผล ในการฝึกอบรม ได้อย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติอาจมีข้อจำกัดที่ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถปฏิบัติตามกระบวนการ และขั้นตอน ดังกล่าวได้ทั้งหมด ข้อจำกัดที่สำคัญคือ การที่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการสร้างหลักสูตรยังขา ดความรอบรู้ทางวิชาการ เกี่ยวกับ หลักสูตรฝึกอบรมนั้นๆ อย่างเพียงพอ ทำให้ไม่สามารถกำหนดวิชาซึ่งตรงกับความจำเป็นในการฝึกอบรมได้ จึงต้องแสวงหา ความช่วยเหลือจากผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อขอรับการให้คำปรึกษา 
                  นอกจากนั้น ข้อจำกัดอื่น ๆ อาจได้แก่ ข้อจำกัดในเรื่องของเวลาในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการสร้างหลักสูตร ทั้งในการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น และในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ตามขั้นตอนของกระบวนการสร้างหลักสูตร ส่วนข้อจำกัดอื่นๆ ที่อาจมีได้ทั้งในด้านเงินงบประมาณในการฝึกอบรม การขาดแคลนวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ ตลอดจนจำนวนระยะเวลา ที่กลุ่มบุคลากรเป้าหมายจะสามารถมาเข้ารับการฝึกอบรมได้นั้น อาจดูเหมือนไม่ได้มีผลกระทบโดยตรง แต่ก็ล้วนเป็นข้อจำกัด ซึ่งจะมีส่วนทำให้หลักสูตรการฝึกอบรม ต้องมีลักษณะที่มิใช่เป็นไปตามความจำเป็นในการฝึกอบรมแต่เพียงอย่างเดียวทั้งหมด
                  อนึ่ง ในการกำหนดหัวข้อวิชาในหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับความจำเป็นในการฝึกอบรมนั้น ผู้เขียนเห็นว่า ในทางปฏิบัติ ผู้สร้างหลักสูตรอาจใช้วิธีการศึกษาจาก ตัวอย่างหลักสูตรฝึกอบรมของกลุ่มบุคลากรซึ่งมีลักษณะงานเทียบเคียงกัน หรือมีความจำเป็น ในการฝึกอบรมคล้ายคลึงกันได้ แต่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสร้างหลักสูตรก็จะต้องระมัดระวัง หากจะนำหัวข้อ วิชาเช่นเดียวกัน กับ หลักสูตรตัวอย่างมาใช้ จะต้องคำนึงอยู่เสมอถึงข้อแตกต่างของกลุ่มผู้เข้าอบรม และความจำเป็นในการฝึกอบรมที่แตกต่างกัน หลักสูตร ฝึกอบรมที่นำมาใช้เป็นตัวอย่างควรจะช่วยได้ดีในแง่ของการเปรียบเทียบและขยายความคิดของผู้สร้างหลักสูตรให้กว้างขวาง ขึ้นเท่านั้น ทางที่ดีที่สุดในทางปฏิบัติในการสร้างหลักสูตรซึ่งผู้สร้างอาจไม่มีความรู้กว้างขวางเพียงพอ คือการรับฟังความคิดเห็น ของผู้บริหาร และนักวิชาการในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรม อาจโดยการขอความคิดเห็นเป็นรายบุคคล หรือจากการ จัดประชุมเพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ นการกำหนดหลักสูตรและหัวข้อวิชา ตามความจำเป็น ในการ ฝึกอบรมก็ได้


 กริช อัมโภชน์, การสร้างหลักสูตรและโครงการฝึกอบรม, เอกสารประกอบการบรรยายในการฝึกอบรมหลักสูตรการ
บริหารงาน ฝึกอบรม, สำนักฝึกอบรม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, หน้า 2
 กริช อัมโภชน์ , อ้างแล้ว หน้า 5 - 55
 William R. Tracy , Designing Training and Development System. American Management Association, Inc. 1971 pp.86-95
กริช อัมโภชน์ , อ้างแล้ว, หน้า 59
ขจรศักดิ์ หาญณรงค์ , "ขั้นตอนการฝึกอบรม", วารสารทรัพยากรมนุษย์, ปีที่ 2, ฉบับที่ 7, 2521, หน้า 38
 พลเทพ จันทรสีประเสริฐ , การฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาบุคคล : ศึกษาเฉพาะกรณีปัญหาการฝึกอบรมข้าราชการพลเรือน
ในประเทศไทย, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2524, หน้า 19.
สายสอางค์ แกล้วเกษตรกรณ์, คู่มือการเขียนโครงการฝึกอบรม/สัมมนา , สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน,
สำนักงาน ก.พ. ,2534 , หน้า 60-61.

อัพเดทล่าสุด