ผู้บริโภคมั่นใจอาหารปลอดภัยด้วยความสะอาดทุกขั้นตอน...ตรวจสอบย้อนกลับได้


1,416 ผู้ชม


ผู้บริโภคมั่นใจอาหารปลอดภัยด้วยความสะอาดทุกขั้นตอน...ตรวจสอบย้อนกลับได้
ผู้บริโภคมั่นใจอาหารปลอดภัยด้วยความสะอาดทุกขั้นตอน...ตรวจสอบย้อนกลับได้  น.สพ. ศักดิชญ์ อนุโลมสมบัติ
ผู้จัดการฝ่ายประกันคุณภาพกลาง
สำนักความปลอดภัยด้านอาหารและประกันคุณภาพกลาง
เครือเบทาโกร
[email protected]

ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ เป็นระบบที่จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคต่อความมั่นใจในการซื้อสินค้าว่าสินค้าที่ซื้อจะไม่มีสิ่งปนเปื้อน มีความปลอดภัยต่อการบริโภค สามารถตรวจสอบเส้นทางในทุกขั้นตอนการเลี้ยง การผลิต และขนส่งของอาหาร รวมไปถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาหารนั้นได้ และยังรวมไปถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาหาร. และในกรณีที่พบว่าเกิดปัญหาในสินค้า ผู้ผลิตสามารถเรียกคืนสินค้าได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว  
 

 

ผู้บริโภคมั่นใจอาหารปลอดภัยด้วยความสะอาดทุกขั้นตอน...ตรวจสอบย้อนกลับได้  ระบบการตรวจสอบย้อนกลับประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ 2 กระบวนการ คือ กระบวนการติดตามเป็นระบบที่จะสามารถติดตามได้ว่าสิ่งที่สนใจนั้นไปอยู่ ณ ที่ใด  และกระบวนการสอบย้อนกลับ เป็นการสอบย้อนกลับโดยอาศัยการเชื่อมกันของข้อมูลตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตอาหาร โดยมุ่งไปที่ข้อมูลที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับผลิตภัณฑ์ และเชื่อมเข้ากับผลิตภัณฑ์อื่นๆที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต และการกระจายสินค้า สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประชาคมที่ริเริ่มพัฒนาระบบดังกล่าวอย่างจริงจัง และบรรจุไว้ใน White Paper on Food Safety ซึ่งต่อมาได้ถูกบัญญัติเป็นกฎระเบียบกำหนดให้ระบบการตรวจสอบย้อนกลับเป็นความรับผิดชอบสำคัญส่วนหนึ่งของผู้ประกอบการ   ดังนั้นระบบการตรวจสอบย้อนกลับได้กลายมาเป็นมาตรการที่ประเทศคู่ค้าสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ได้กำหนดเป็นกฎระเบียบในการนำเข้าสินค้าให้ประเทศผู้ส่งออกต้องนำไปปฏิบัติ     ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการนำเอาระบบการตรวจสอบย้อนกลับมาใช้ ทำให้ผู้ผลิตสามารถเรียกคืนเฉพาะสินค้าชุดที่มีปัญหา ทำให้เรียกคืนได้อย่างรวดเร็ว เป็นการรับประกันคุณภาพและสามารถสืบค้นแหล่งที่มาของสินค้าได้ทั้งระบบของวงจรอาหาร ช่วยลดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคที่ต้องบริโภคสินค้าที่มีปัญหา เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าจะได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัย
 

 

ผู้บริโภคมั่นใจอาหารปลอดภัยด้วยความสะอาดทุกขั้นตอน...ตรวจสอบย้อนกลับได้  คุณสมบัติพื้นฐานของระบบการตรวจสอบย้อนกลับที่ดีนั้น จะต้องประกอบไปด้วย ระบบชี้บ่ง ข้อมูลและความสามารถในการเชื่อมต่อของข้อมูล และการทวนสอบระบบ ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นจัดเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน แต่ในทางปฏิบัติอาจมีความแตกต่างกันในชนิดของสินค้า กระบวนการผลิตและระบบการควบคุม การสอบกลับของสินค้าอยู่บนพื้นฐานของการกำหนดตัวชี้บ่ง ณ จุดใดจุดหนึ่งในห่วงโซ่การผลิต ผู้ประกอบการสามารถกำหนดขนาดของหน่วยการผลิต เพื่อเป็นตัวชี้บ่ง ในห่วงโซ่การผลิตจะมีตัวชี้บ่งเกิดขึ้นใหม่เสมอ เนื่องจากมีการผสมผสานของส่วนประกอบอื่นๆเข้าไปในกระบวนการผลิต เมื่อหน่วยการผลิตถูกจัดส่งแยกไปตามลูกค้า ดังนั้นระบบการตรวจสอบย้อนกลับจึงต้องสามารถระบุหน่วยการผลิตที่ใช้เพื่อการเชื่อมข้อมูลกับประวัติของสินค้าได้  
ระบบชี้บ่งที่ดีนั้นจะต้องสามารถติดไปกับสินค้า เช่น กล่องบรรจุสินค้า ฉลากจัดเป็นตัวชี้บ่งที่ธรรมดาที่สุด โดยมีชื่อ หรือตัวเลขระบุอยู่บนฉลาก อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาเครื่องอ่านฉลากขึ้น เพื่ออ่านฉลากที่ติดอยู่บนสินค้าเมื่อมีการรับเข้า หรือจำหน่าย ปัจจุบันมีระบบการชี้บ่งหลากหลายรูปแบบ ได้แก่  optical system ได้แก่ ระบบบาร์โค้ด ระบบ EAN.UCC เป็นต้น  ระบบ radio frequency identification และระบบ feature identification ระบบชี้บ่งเหล่านี้ จะต้องมีการบันทึกข้อมูลที่อธิบายถึงตัวชี้บ่งว่ามาจากไหนและเคลื่อนที่ไปที่ไหน และข้อมูลจะถูกเพิ่มเติมเมื่อผ่านขั้นตอนต่างๆในห่วงโซ่การผลิต ข้อมูลเหล่านี้อาจจัดเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ หรือรหัสแถบ (bar code)  ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์ต่อการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ในกรณีที่มีปัญหาเรื่องความปลอดภัยอาหาร หรือปัญหาคุณภาพอาหาร โดยการสอบกลับผ่านการเชื่อมโยงของข้อมูล
 

 

ผู้บริโภคมั่นใจอาหารปลอดภัยด้วยความสะอาดทุกขั้นตอน...ตรวจสอบย้อนกลับได้  
 

 

 การเชื่อมข้อมูลภายในธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมมีการใช้ระบบการเชื่อมข้อมูลที่มีความแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีลักษณะพื้นฐานแบบเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นใช้ระบบสารสนเทศ หรือการใช้ระบบเอกสาร ในบริษัทขนาดใหญ่หรือบริษัทที่มีการผลิตแบบครบวงจร มักจะมีการใช้การเชื่อมต่อข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น เครือเบทาโกร เป็นกลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารครบวงจร  ทั้งส่งออกและจำหน่ายในประเทศ ได้มีการพัฒนาและนำซอฟต์แวร์มาใช้ในการตรวจสอบย้อนกลับอย่างเต็มรูปแบบนับเป็นครั้งแรกของวงการปศุ.และอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2545   ขั้นแรกมุ่งเน้นที่ธุรกิจไก่ครบวงจร  ครอบคลุมตั้งแต่ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ไปจนถึงโรงงานผลิตอาหารปรุงสุก  รวมทั้งกระบวนการผลิตอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง   ซึ่งจะสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาสินค้าได้ทุกขั้นตอน  ด้วยความถูกต้องและรวดเร็ว  ปัจจุบันได้พัฒนาในธุรกิจสุกรครบวงจร เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจสูงสุด แต่เนื่องจากการพัฒนาระบบการเชื่อมต่อข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีการลงทุนค่อนข้างสูง ดังนั้นบริษัทส่วนใหญ่จึงใช้ระบบเอกสารเป็นหลัก ตัวอย่างการเชื่อมต่อระหว่างตัวบ่งชี้และข้อมูลในต่างประเทศ เช่น สหภาพยุโรปได้ริเริ่มโปรแกรมการตรวจสอบกลับโดยใช้ชื่อว่า “EU project FoodTracE” เริ่มเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 โดยเน้นที่การสอบกลับผลิตภัณฑ์ทั้งในแง่คุณภาพและความปลอดภัย และระบบชี้บ่งอิเล็กทรอนิกส์ และ DNA tracing เป็นต้น
 

 

ผู้บริโภคมั่นใจอาหารปลอดภัยด้วยความสะอาดทุกขั้นตอน...ตรวจสอบย้อนกลับได้  
 

 

 เนื่องจากการตรวจสอบกลับเกี่ยวข้องอย่างมากกับข้อมูลและการบันทึกข้อมูลที่มีความถูกต้องตลอดทั้งห่วงโซ่ รวมถึงมาตรการการป้องกันการแก้ไขข้อมูล เพราะถ้าสามารถแก้ไขข้อมูลได้ก็จะทำให้ระบบขาดความน่าเชื่อถือ ในการตรวจประเมินระบบสอบกลับจะประเมินจากการปฏิบัติและความเร็วในการสอบกลับของข้อมูล โดยเลือกสินค้าโดยวิธีสุ่มและหาตัวบ่งชี้ย้อนกลับไปในกระบวนการผลิตและวัตถุดิบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ความเร็วในการสอบกลับจากลูกค้าไปถึงผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ควรใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง   การทวนสอบและการประเมินระบบสอบกลับสามารถทำได้ทั้งการสอบกลับและสืบค้นไปข้างหน้า การรวบรวมข้อมูลของวัตถุดิบทุกตัวและส่วนประกอบอื่นๆ ที่ใช้ในการผลิต ระยะเวลาที่ใช้เพื่อสอบกลับ เป็นต้น
  
โดยหลักการของระบบตรวจสอบย้อนกลับ หากเกิดอันตรายอันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้าอาหารนั้น ผู้บริโภคสามารถแจ้งข้อมูลรายละเอียดสินค้ากับผู้จัดจำหน่ายเพื่อทำการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของสินค้า หรือในทางกลับกันผู้ประกอบเมื่อตรวจพบว่าสินค้าที่ได้จำหน่ายไปแล้วอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภค ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบจำนวนสินค้า และจำนวนร้านค้าที่เป็นตัวแทนในการจัดจำหน่าย และทำการเรียกคืนสินค้ากลับได้อย่างรวดเร็ว ภายใต้การบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบในขั้นตอนต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ดังนั้นระบบการตรวจสอบกลับจึงเป็นระบบที่มีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมและผู้บริโภคเป็นอย่างยิ่ง
 

 


 


 แหล่งที่มา :  ประชาคมวิจัย ฉบับที่ 88

อัพเดทล่าสุด