การปฐมพยาบาลเมื่อผู้ป่วย “ช็อค” สสส. (6,646 views) first post: Mon 24 May 2010 last update: Mon 24 May 2010 ร่างกายของเราประกอบด้วยเส้นเลือดมากมาย หากระบบการไหลเวียนเลือดดังกล่าวล้มเหลวหรือเกิดความผิดปกติ ทำให้เลือดไม่สูบฉีดไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ เซลล์จะขาดออกซิเจนจากเลือด ผู้ป่วยจึงเกิดอาการ “ช็อค” |
หน้าที่ 1 - การปฐมพยาบาลเมื่อผู้ป่วย “ช็อค”
ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของ สสส. และ วิชาการดอทคอม
www.thaihealth.or.th
ไม่ทันอาจตายได้
การปฐมพยาบาล
เมื่อผู้ป่วยช็อค ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด ระหว่างนั้นให้ปฐมพยาบาลเพื่อให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น ดังนี้
-ให้ผู้ป่วยนอนราบ ไม่ต้องใช้หมอนหนุนศีรษะ เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้อย่างเพียงพอและทำให้หัวใจทำงานน้อยลงด้วย ควรยกเท้าให้สูงขึ้น แต่ไม่ควรให้นอนศีรษะต่ำ เพราะจะทำให้อวัยวะในช่องท้องดันกะบังลมเข้ามาเบียดที่อกทำให้หายใจไม่สะดวก
-คลายเสื้อผ้าผู้ป่วยให้หลวม
-ห้ามเลือดกรณีที่มีเลือดออก
-หากผู้ป่วยอาเจียน ให้นอนตะแคงข้าง
-ห่มผ้าให้ความอบอุ่นกับร่างกายผู้ป่วย
-หากผู้ป่วยกระหายน้ำมาก ให้หยดน้ำที่ริมฝีปากในปริมาณเล็กน้อย และหยุดให้น้ำหากผู้ป่วยอาเจียน ยกเว้นผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ท้อง ควรงดให้น้ำ
ข้อควรระวัง
- หากผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง ห้ามเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ควรโทรเรียกรถพยาบาล ระหว่างนั้นให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกขาสูง
- หากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ อย่ายกขาผู้ป่วยขึ้นและอย่าให้อวัยวะใดอยู่สูงเกินศีรษะ
- หากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บที่ใบหน้า ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลเข้าปากและจมูก เพราะจะทำให้หายใจลำบากหรือหายใจไม่ออก
- หากผู้ป่วยถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย ให้แผลนั้นอยู่ต่ำกว่าระดับของหัวใจ
อาการช็อคเกิดได้จากหลายสาเหตุ สาเหตุสำคัญส่วนใหญ่เกิดจากการเสียเลือดมาก ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก อยู่ในที่ที่อากาศร้อนจัดนานเกินไป อาเจียนหรือท้องเสียอย่างรุนแรง ไฟฟ้าช็อต โรคหัวใจกำเริบ ได้รับยาเกินขนาดหรือแพ้ยา การสัมผัสสารพิษและการติดเชื้ออย่างรุนแรง เป็นต้น
อาการช็อค
อาการเริ่มแรกจะเหมือนกับเป็นลม คือ มีอาการหน้ามืด ตาลาย วิงเวียน มือเท้าอ่อนแรง อ่อนเพลีย ใจหวิวๆ หรือกล้ามเนื้อเกร็ง เป็นตะคริว ตัวซีดหรือเขียวจนถึงเขียวคล้ำ เหงื่อออก กระสับกระส่าย กระหายน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน ชีพจรเต้นเร็วแต่เบา ความดันเลือดตก หายใจหอบ อาการขั้นรุนแรง คือ ตามตัวเป็นรอยจ้ำสีดำ ม่านตาขยาย หากช็อคอยู่นานสมองจะขาดเลือดมากทำให้หมดสติได้
ผู้ป่วยอาจมีอาการไม่ครบทุกอย่างดังที่กล่าวมา แล้วแต่ความรุนแรงของอาการ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการอะไรให้เห็น แต่หากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บและเสียเลือดมาก ควรสังเกตอาการและดูแลอย่างใกล้ชิด
ร่างกายของเราประกอบด้วยเส้นเลือดมากมาย ทำหน้าที่ส่งผ่านเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย และเป็นตัวนำของเสียกลับไปทำความสะอาดที่ปอด จากนั้นจึงส่งเลือดกลับไปยังหัวใจ เพื่อสูบฉีดกลับไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย เป็นวงจรเช่นนี้ หากระบบการไหลเวียนเลือดดังกล่าวล้มเหลวหรือเกิดความผิดปกติ ทำให้เลือดไม่สูบฉีดไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ เซลล์จะขาดออกซิเจนจากเลือด ผู้ป่วยจึงเกิดอาการ“ช็อค”
หากไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที อาจทำให้ผู้ป่วยพิการหรือเสียชีวิตได้ ความเสียหายของอวัยวะภายในที่เกิดจากอาการช็อค ขึ้นอยู่กับความเปราะบางของอวัยวะ อวัยวะที่ทนต่อการขาดเลือดได้น้อยที่สุด คือ สมอง หัวใจและไต โดยเฉลี่ยแล้ว เซลล์สมองขาดออกซิเจนได้นานประมาณ 4-5 นาที อวัยวะภายในช่องท้องสามารถขาดออกซิเจนได้นานถึง 45 นาที ส่วนผิวหนังและกล้ามเนื้อขาดออกซิเจนได้ประมาณ 3 ชั่วโมง เป็นต้น