หลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิต (หลักสูตรต่อเนื่อง)
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- 1. ชื่อหลักสูตร
แพทย์แผนไทยบัณฑิต (ต่อเนื่อง)
Bachelor of Thai Traditional Medicine Program
- 2. ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม : แพทย์แผนไทยบัณฑิต
อักษรย่อ : พท.บ.
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Bachelor of Thai Traditional Medicine
อักษรย่อภาษาอังกฤษ : B.T.M.
- 3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- 4. ปรัชญาหลักสูตร
คณาจารย์หลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีความเชื่อว่าการแพทย์แผนไทยเป็นศาสตร์และศิลปะที่เกี่ยวข้องกับปรัชญา องค์ความรู้และวิธีการปฏิบัติเพื่อการดูแลสุขภาพและการบำบัดรักษาความเจ็บป่วยที่สอดคล้องกับหลักศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมไทย สมควรอนุรักษ์ ส่งเสริมและพัฒนาสู่มาตรฐานวิชาการในระดับอุดมศึกษาและต่อมนุษยชาติในสังคมปัจจุบัน และมีคุณค่ายิ่งต่อสังคมในการประยุกต์เพื่อการให้บริการสุขภาพอนามัยทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ในการที่จะธำรงรักษาดุลยภาพของมนุษย์ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
ผู้ให้บริการสุขภาพโดยอาศัยหลักการการแพทย์แผนไทยที่มีคุณภาพมาตรฐานนั้น ควรเป็นผู้ผ่านการศึกษาและพร้อมเป็นพลเมืองดีในสังคม มีจิตสำนึกของผู้มีความเอื้ออาทรและมีความรู้อย่างลึกซึ้งในศาสตร์การแพทย์แผนไทยตลอดจนศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะดังกล่าวในการให้บริการการดูแลสุขภาพให้ตอบสนองการแก้ไขปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ โดยการดูแลทั้งบุคคล ครอบครัวและชุมชนแบบองค์รวมที่ครอบคลุมทั้งมิติด้านกาย จิต สังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ มีความสำนึกในความแตกต่างของบุคคล เคารพและพิทักษ์คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้รับบริการด้วยการให้การบริการที่ถูกต้องตามมาตรฐานจรรยาวิชาชีพ คำนึงถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์แผนไทย และวัฒนธรรมไทย ตลอดจนสามารถจรรโลงภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยให้เป็นมรดกของชาติสืบไป
- 5. วัตถุประสงค์หลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตหลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิต(ต่อเนื่อง) ให้มีคุณสมบัติและความสามารถ ดังนี้
5.1 ประยุกต์ความรู้ในศาสตร์การแพทย์แผนไทย ให้การบริการสุขภาพโดยคำนึงถึงปฏิกิริยาที่ตอบสนองที่เกิดขึ้นกับคน ค่านิยม และความสนใจของแต่ละบุคคลได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.2 สามารถใช้หลักวิธีการการแพทย์แผนไทยในการบริการสุขภาพเพื่อการส่งเสริม สุขภาพ ป้องกันโรค ดูแลรักษา และฟื้นฟูสภาพ ตามขอบเขตที่กฎหมายวิชาชีพกำหนด
5.3 สามารถใช้หลักการวินิจฉัยโรคตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทยได้
5.4 สามารถปรุงยาไทยและยาสมุนไพรได้อย่างเหมาะสมตามหลักวิชาชีพ
5.5 สามารถบริหารจัดการการให้บริการการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสุขภาพได้
5.6 แสวงหาความรู้ ค้นคว้า ศึกษาวิจัยทางการแพทย์แผนไทยและนำมาประยุกต์ใช้
5.7 มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า และแสวงหาสารสนเทศเพื่อนำไปวิเคราะห์ใช้ตามสภาวะและสถานการณ์ที่เหมาะสม
5.8 มีคุณธรรม จริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ
5.9 ส่งเสริม และดำรงไว้ซึ่งการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ขนบธรรมเนียม ประเพณี และศิลปะวัฒนธรรมไทย
- 6. กำหนดการเปิดสอน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จะดำเนินการเปิดสอนหลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิต (ต่อเนื่อง) ในปีการศึกษา 2547
- 7. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ต้องเป็นผู้มีวุฒิการศึกษาอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
7.1 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงประเภทวิชาเวชกรรม สาขาวิชาแพทย์แผนไทยแบบประยุกต์ หรือ
7.2 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (การแพทย์แผนไทยประยุกต์) หรือ
7.3 ประกาศนียบัตรการแพทย์แผนไทย
7.4 สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือสูงกว่าและสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรการศึกษาด้านการแพทย์แผนไทย
หมายเหตุ
1) ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตามข้อ 7.2 –7.4 จะได้รับการยกเว้นชุดวิชาหรือต้อง
ศึกษาชุดวิชาเพิ่มตามที่ระบุไว้ในโครงสร้างหลักสูตร
2) ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตามข้อ 7.4 ต้องแนบสำเนาประกาศนียบัตรการศึกษาด้านการแพทย์แผนไทยที่ผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขหรือกระทรวงศึกษาธิการ
3) หากรับเข้าศึกษาแล้วมีการเจ็บป่วยทางจิตที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จนไม่สามารถจะศึกษาต่อได้หรือเป็นภัยต่อผู้อื่นจะพิจารณาให้พ้นสภาพจากการเป็นนักศึกษา
- 8. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
เป็นไปตามระเบียบการสมัครเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจะประกาศให้ทราบเป็นคราวๆไป ทั้งนี้โดยไม่มีการสอบคัดเลือก และการสมัครเป็นนักศึกษาสามารถสมัครเข้าศึกษาได้เพียงสาขาวิชาเดียวและหลักสูตรเดียวเท่านั้น
- 9. ระบบการศึกษาและการจัดการศึกษา
9.1 ระบบการศึกษา เป็นระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2
ภาคการศึกษาปกติ และ 1 ภาคการศึกษาพิเศษ แต่ละภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ภาคการศึกษาพิเศษมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 สัปดาห์
9.2 การคิดหน่วยกิต พิจารณาจากชุดวิชา ซึ่งมหาวิทยาลัยกำหนดให้ใช้เอกสารการสอนเรียกว่า ชุดวิชา ที่มีลักษณะการบูรณาการเนื้อหาที่สมบูรณ์ในตัวเอง โดยแต่ละชุดวิชามีค่าไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต การศึกษาใน 1 ชุดวิชานักศึกษาต้องใช้เวลาการศึกษาต่อสัปดาห์ ดังนี้
1) ศึกษาจากสื่อการสอนทางไปรษณีย์ ซึ่งประกอบด้วย เอกสารการสอน แบบฝึกปฏิบัติ เทปเสียง และสื่ออื่นๆ(ถ้ามี) ใช้เวลาประมาณ 6-12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
2) ศึกษาจากสื่อทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วีดิทัศน์หรือสื่ออื่นๆที่จัดไว้ที่ศูนย์บริการการศึกษาต่างๆ หรือศูนย์วิทยพัฒนา ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
3) การทำกิจกรรมภาคปฏิบัติ หมายถึง การทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ หรือการศึกษาจากการสังเกตและการทำงานตามที่มอบหมายใช้เวลาประมาณ 0 -12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
4) การศึกษาเสริม โดยการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเอง เช่น การศึกษาจากหนังสืออ้างอิงหรือตำราที่กำหนดให้ค้นคว้าที่ห้องสมุด จากสื่อต่างๆที่เตรียมไว้ ณ ศูนย์บริการการศึกษาเฉพาะกิจ ศูนย์วิทยพัฒนาของมหาวิทยาลัย ตลอดจนเข้ารับการฟังสอนเสริม ปรึกษาและอภิปรายกับอาจารย์ใช้เวลาประมาณ 1-4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
9.3 การจัดการศึกษาในหลักสูตรโดยใช้ระบบการสอนทางไกล มีดังนี้
9.3.1 การจัดการเรียนการสอนสำหรับชุดวิชาภาคทฤษฎี
ชุดวิชาภาคทฤษฎี มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยอาศัยสื่อประสมต่างๆ คือ
1) สื่อสิ่งพิมพ์ ประกอบด้วย เอกสารการสอนและแบบฝึกปฏิบัติ
2) รายการวิทยุกระจายเสียง
3) รายการวิทยุโทรทัศน์
4) สื่ออิเล็กทรอนิกส์
5) การสอนเสริม
9.3.2 การจัดการเรียนการสอนสำหรับชุดวิชาภาคปฏิบัติ
ชุดวิชาในหลักสูตรที่มีการสอนภาคปฏิบัติมีจำนวน 3 ชุดวิชา ได้แก่
1) การฝึกปฏิบัติเภสัชพฤกษศาสตร์และเภสัชกรรมแผนไทย
2) การฝึกปฏิบัติเวชกรรมและนวดแผนไทย
3) ประสบการณ์วิชาชีพการแพทย์แผนไทย
ซึ่งมีชั่วโมงในการฝึกปฏิบัติชุดวิชาละ 240-360 ชั่วโมง โดยลักษณะและประเภทของการฝึกปฏิบัติเป็นดังนี้
ก. การฝึกด้วยตนเอง เป็นการฝึกปฏิบัติทางการแพทย์แผนไทยในด้านที่
ศึกษาในเอกสารการสอน การให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา และการแก้ไขปัญหาสุขภาพแก่ผู้รับบริการในขณะปฏิบัติหน้าที่ประจำ หรือฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง ณ สถานบริการที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ข. ฝึกปฏิบัติตามมอบหมาย เป็นการฝึกปฏิบัติเฉพาะด้านตามที่ชุดวิชา
นั้นๆกำหนด ด้วยการศึกษาด้วยตนเองเป็นรายกรณี และทำการสังเกต ปฏิบัติหรือทดลองจนได้ทักษะตามที่กำหนดให้ศึกษา โดยมีอาจารย์ที่มีความสามารถเฉพาะ(อาจารย์ในท้องถิ่น)ให้คำแนะนำและรับรอง
ค. ฝึกเสริมทักษะ(โดยการนัดหมาย) เป็นการฝึกปฏิบัติในเฉพาะด้าน
ตามลักษณะของชุดวิชา โดยมหาวิทยาลัยจะกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนเพื่อเข้ารับการฝึกตามสถานที่ที่กำหนด โดยมีอาจารย์สอนเสริมฝึกเสริมทักษะที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งเป็นผู้ควบคุมและประเมินผล
ง. ฝึกอบรมเข้ม เป็นการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพ การ
ทำงานเป็นทีม การวิเคราะห์สถานการณ์จำลองเพื่อการแก้ไขปัญหา การจัดการด้วยการวางแผนในการดำเนินการ การพัฒนางาน