ชนิดของคำหมายถึง มีตัวอย่างง่ายๆให้จดจำ


2,675 ผู้ชม


ความหมายของชนิดของคำ

๑.ความหมายของคำนาม

             คำนามหมายถึง  คำที่ใช้เรียกชื่อ  คน  สัตว์  พืช  สิ่งของ  สถานที่  สภาพ  อาการ  ลักษณะ  ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิต  หรือสิ่งไม่มีชีวิต  ทั้งที่เป็นรูปธรรม  และนามธรรม  เช่นคำว่า  คน   ปลา  ตะกร้า   ไก่  ประเทศไทย  จังหวัดพิจิตร  การออกกำลังกาย  การศึกษา  ความดี  ความงาม  กอไผ่  กรรมกร  ฝูง  ตัว  เป็นต้น  

๒.ความหมายของคำสรรพนาม

                                   *******************

            คำสรรพนาม  หมายถึง  คำที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวถึงมาแล้ว  เพื่อจะได้ไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำอีก  เช่นคำว่า  ฉัน  เรา  ดิฉัน  กระผม  กู  คุณ   ท่าน  ใต้เท้า  เขา  มัน   สิ่งใด  ผู้ใด  นี่  นั่น  อะไร  ใคร  บ้าง  เป็นต้น

๓.ความหมายของคำกริยา

             คำกริยา  หมายถึง  คำแสดงอาการ  การกระทำ  หรือบอกสภาพของคำนามหรือคำสรรพนาม  เพื่อให้ได้ความ  เช่นคำว่า  กิน  เดิน  นั่ง   นอน  เล่น  จับ  เขียน  อ่าน  เป็น  คือ  ถูก  คล้าย  เป็นต้น

  ๔.ความหมายของคำวิเศษณ์

              คำวิเศษณ์  หมายถึง  คำที่ใช้ประกอบหรือขยายคำนาม  สรรพนาม  คำกริยา  หรือคำวิเศษณ์  เพื่อให้ได้ใจความชัดเจนและละเอียดมากขึ้น  เช่น
        -   คนอ้วนกิน
จุ
      
   ("อ้วน" เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำนาม "คน" "จุ" เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำกริยา "กิน"

        -   เขาร้องเพลงได้ไพเราะ
            ("ไพเราะ"  เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำกริยา "ร้องเพลง")

        -  เขาร้องเพลงได้ไพเราะมาก
           ("มาก"  เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำวิเศษณ์  "ไพเราะ")

๕.ความหมายของคำบุพบท
               คำบุพบท  หมายถึง  คำที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำหรือประโยค  เพื่อให้ทราบว่าคำหรือกลุ่มคำที่ตามหลังคำบุพบทนั้นเกี่ยวข้องกับกลุ่มคำข้างหน้าในประโยคในลักษณะใด  เช่น  กับ  แก่  แต่  ต่อ  ด้วย  โดย  ตาม  ข้าง  ถึง  จาก  ใน  บน  ใต้  สิ้น  สำหรับ  นอก  เพื่อ  ของ  เกือบ  ตั้งแต่ แห่ง  ที่  เป็นต้น  เช่น
               เขามาแต่เช้า
               บ้านของคุณน่าอยู่จริง
               คุณครูให้รางวัลแก่ฉัน
               เขาให้รางวัลเฉพาะคนที่สอบได้ที่หนึ่ง

๖.ความหมายของคำสันธาน
                คำสันธาน  หมายถึง  คำที่ใช้เชื่อมประโยค  หรือข้อความกับข้อความ  เพื่อทำให้ประโยคนั้นรัดกุม  กระชับและสละสลวย  เช่นคำว่า  และ   แล้ว  จึง  แต่  หรือ  เพราะ  เหตุเพราะ  เป็นต้น  เช่น
                                    -  เขาอยากเรียนหนังสือเก่งๆ แต่เขาไม่ชอบอ่านหนังสือ
                                    -  เขามาโรงเรียนสายเพราะฝนตกหนัก

 ๗.ความหมายของคำอุทาน
             คำอุทาน  หมายถึง  คำที่แสดงอารมณ์ของผู้พูดในขณะที่ตกใจ  ดีใจ  เสียใจ  ประหลาดใจ หรืออาจจะเป็นคำที่ใช้เสริมคำพูด  เช่นคำว่า  อุ๊ย  เอ๊ะ  ว้าย  โธ่  อนิจจา  อ๋อ  เป็นต้น  เช่น
                      -  เฮ้อ!  ค่อยยังชั่วที่เขาปลอดภัย
                      -  เมื่อไรเธอจะตัดผมตัดเผ้าเสียทีจะได้ดูเรียบร้อ

คำ เป็นหน่วยของภาษาที่สื่อถึงความหมายซึ่งประกอบด้วยพยางค์หนึ่งคำหรือมากกว่า ปกติแล้วในแต่ละคำจะมีรากศัพท์ของคำแสดงถึงความหมายและที่มาของคำนั้น โดยการนำคำหลายคำมาประกอบกันจะทำให้เกิดวลีหรือประโยคซึ่งใช้สื่อความหมายใช้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นไป

ประเภทของคำ

Wikibooks
วิกิตำรา มีคู่มือ ตำรา หรือวิธีการเกี่ยวกับ:
หน้าที่ของคำ

ใช้หน้าที่ในประโยคเป็นเกณฑ์

  • คำนาม (noun) เป็นคำที่ใช้เป็นประธานหรือกรรมของประโยค บางทีก็ใช้ขยายคำนามด้วยกันได้ (มักจะหมายถึงวัสดุที่ใช้ทำ) เช่น ขวานทองคำ leather bag
  • คำสรรพนาม (pronoun) เป็นคำที่ใช้แทนคำนามในประโยค เมื่อคำนามนั้นถูกกล่าวถึง หรือเป็นที่รู้กันอยู่แล้ว เช่น ฉัน คุณ he she it
  • คำกริยา (verb) เป็นคำหลักของภาคแสดงในประโยค ใช้บอกถึงท่าทาง อาการและสภาพของสิ่งต่างๆ เช่น เดิน หนาว have
  • คำวิเศษณ์ หรือ คำคุณศัพท์ (adjective) เป็นคำที่ใช้ขยายความของคำต่างๆ เช่น ฉันหิวมาก the beautiful day
  • คำบุพบท (preposition) เป็นคำที่ใช้เชื่อมคำนามกับคำนาม และแสดงความสัมพันธ์ของคำนามนั้น เช่น กระเป๋า ของ ฉัน the revolution in 2006
  • คำสันธาน (conjunction) เป็นคำที่เชื่อมประโยคกับประโยค ให้กลายเป็นประโยคความรวมหรือประโยคความซ้อน เช่น เพราะฉะนั้น therefore
  • คำอุทาน (interjection) เป็นคำที่เสริมขึ้นมาในประโยค เพื่อให้ประโยคมีอรรถรสยิ่งขึ้น เช่น โอ้โห อืม

ในภาษาอื่นๆ อาจมีคำประเภทอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น เช่น

  • คำกริยาวิเศษณ์ (adverb) เป็นคำขยายคล้ายกับคำวิเศษณ์ แต่ขยายเฉพาะคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ด้วยกันเท่านั้น เช่น generally continuously
  • คำกริยานุเคราะห์ (auxiliary verb) เป็นคำกริยาที่ช่วยเสริมไวยากรณ์ อาจไม่มีความหมายในตัวเอง เช่น do have may
  • คำนำหน้านาม (article) เป็นคำขยายคำนามใช้บ่งบอกสิ่งทั่วไป หรือสิ่งที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว เช่น a an the le la

ใช้วิธีการสร้างคำเป็นเกณฑ์

  • คำมูล เป็นคำโดดซึ่งไม่ได้เกิดจากการประกอบของคำมูลอื่นเพิ่มเติม (ในกรณีนี้หมายถึง การจงใจประกอบคำอื่นเพื่อเป็นคำประสม แต่สำหรับตัวอย่างเช่น นารี ถึงแม้ว่า นา และ รี จะมีความหมาย แต่ นารี ไม่ได้เกิดจากการจงใจของการประกอบคำว่า นาและรี เลย) ไม่ได้ประกอบจากรากศัพท์สองรากศัพท์ขึ้นไป เช่น นาฬิกา dog 人 เป็นต้น
  • คำรวม เป็นคำที่เกิดจากการรวมคำมูลหรือคำประสมอื่นเข้าด้วยกันเป็นคำใหม่ มีการรวมอยู่ด้วยกัน 2 แบบคือ
    • คำประสม เป็นการใส่คำใหม่โดยการเรียงคำไปเรื่อยๆ คล้ายวลี แต่กลุ่มคำนั้นกลับมีความหมายในลักษณะเจาะจงโดยไม่ได้เป็นการขยาย อาทิเช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ (มะม่วง+น้ำ+ดอกไม้) เป็น มะม่วงพันธุ์หนึ่ง หรือ deadlock (dead+lock) หมายถึงภาวะชะงักงัน เป็นต้น
    • คำที่ถูกรวมตามภาษา เกิดจากกฎการรวมตามไวยากรณ์ของภาษาเช่น คำสมาสสนธิในภาษาบาลี-สันสกฤต การประกอบคำจากรากศัพท์ในภาษาละติน ตัวอย่างเช่น กุศโลบาย (กุศล+อุบาย) Sphygmomanometer (Sphygmo+mano+meter) เป็นต้น
ที่มา - วิกิพีเดีย

อัพเดทล่าสุด