วัดดัชนีมวลกาย และ หาค่าดัชนีมวลกาย ข้อมูลเชิงลึก (สำนักงานแพทย์ทหาร)


1,741 ผู้ชม


ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5

คุณมีน้ำหนักน้อยเกินไป ซึ่งอาจจะเกิดจากนักกีฬาที่ออกกำลังกายมาก และได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ วิธีแก้ไขต้องรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และมีปริมาณพลังงานเพียงพอ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

ดัชนีมวลกายระหว่าง 18.5-22.9

คุณมีน้ำหนักปกติและมีปริมาณไขมันอยู่ในเกณฑ์ปกติ มักจะไม่ค่อยมีโรคร้าย อุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงต่ำกว่าผู้ที่อ้วนกว่านี้

ดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 23-24.9

คุณเริ่มจะมีน้ำหนักเกิน หากคุณมีกรรมพันธ์เป็นโรคเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูงต้องพยายามลดน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 23

ดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 25-29.9

คุณจัดว่าเป็นคนอ้วนระดับ1 และหากคุณมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม.(ชาย) 80 ซม.(หญิง) คุณจะมีโอกาศเกิดโรคความดัน เบาหวานสูง จำเป็นต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย

ดัชนีมวลกายมากกว่า 30

คุณจัดว่าอ้วนระดับ2 คุณเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วน หากคุณมีเส้นรอบเอวมากกว่าเกณฑ์ปกติคุณจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง คุณต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างจริงจัง

------- [การหาดัชนีมวลกาย คลิกเพื่อคำนวณ] -----------www.siamhealth.net

-------[การหาดัชนีมวลภาย คลิกเพื่อคำนวณ] ----------- มหิดล

----------[ การหาดัชนีมวลกาย คลิกเพื่อคำนวณ ]---------------www..teenee.com

การประเมินค่าดัชนีมวลกาย

BMI
มาตรฐานสากล(ยุโรป)

BMI
มาตรฐานอาเซียน(เอเชีย)

การแปรผล

< 18.5 < 18.5 น้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐาน
18.5-24.9 18.5-22.9 ปกติ
25-29.9 23-24.9 อ้วนระดับ 1
30-34.9 25-29.9 อ้วนระดับ 2
35-39.9 มากกว่าหรือเท่ากับ 30 อ้วนระดับ 3
มากกว่าหรือเท่ากับ  - อ้วนระดับ 4

กรมอนามัย 2543 และ ACSM 2001

เครื่องมือในการคำนวณค่า BMI 
   
รายละเอียด : คำนวณหาค่า BMI วัดความอ้วน เพื่อประเมินหาไขมันส่วนเกินในร่างกาย เพื่อคำนวณความเสี่ยงในการเป็นโรค

ข้อมูลเพิ่มเติม : Body Mass Index (BMI) คือ ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว / ความสูง ยกกำลังสอง

ความสำคัญของการรู้ค่าดัชนีมวลร่างกาย เพื่อประเมินหาส่วนไขมันในร่างกาย ซึ่งค่าดังกล่าวนิยมใช้ในการคำนวณอย่าง แพร่หลาย เนื่องจากคำนวณง่าย และสามารถใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัย และทุกเชื้อชาติ

------------

ค่า BMI (Body Mass Index) หรือ ดัชนีมวลกาย คือ การวัดค่าไขมันร่างกายโดยใช้พิจารณาว่าเมื่อใดจึงจะเรียกว่า

"อ้วน" หรืออ้วนเพียงใด โดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนสูงและน้ำหนัก โดย

BMI=น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม/ความสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง


ค่า BMI ืัที่สูงขึ้นมีึความสัมพันธ์กับความเสี่ยงและอัตราการตาย
(ค่า BMI ในนักกีฬาเนืิ่องมาจากนักกีฬามีมวลกล้ามเนื้อ มาก เพราะฉะนั้น
จึงควรพิจารณาเปอร์เซนต์ไขมันร่างกายร่วมด้วย)
โดยเกณฑ์ของ BMI ควรอยู่ระหว่าง 18.5-22.9
ถ้า    BMI  น้อยกว่า 18.1 หมายถึง ผอมเกินไป (Under Weight)
        BMI  อยู่ระหว่าง 18.5 - 22.9 หมายถึง ปกติ (Normal)
        BMI  มากกว่าหรือเท่ากับ 23   หมายถึง น้ำหนักเกิน (Overweight)
        BMI  อยู่ระหว่าง 23-24.9  หมายถึง โรคอ้วนประเภทที่ 1 
        BMI  อยู่ระหว่าง 25-29.9  หมายถึง โรคอ้วนประเภทที่ 2
        BMI  มากกว่า 30 หมายถึง อ้วนมากถึงขั้นอันตราย

เมื่อคำนวณแล้วท่านมีค่า BMI มากกว่า 25 ถือว่ามีน้ำหนักตัวมากเกิน (over-weight)

และ ถ้ามีค่าBMI มากกว่า 30 ถือว่า "อ้วน" (obesity)

นอก จากนี้มีการจำแนกประเภทดัชนีมวลกาย (BMI) ตามเกณฑ์ของ International Obesity Task Force (IOTF) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงต่อ การเกิดการเจ็บป่วยเมื่อมีค่า BMI ในระดับต่าง ๆ ดังตาราง

ประเภท

ดัชนีมวลกาย (BMI)

ความเสี่ยงต่อการเกิดการเจ็บป่วย(BMI)

น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์

น้อยกว่า 18.5

ต่ำ (เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ)

น้ำหนักตัวปกติ

18.5 - 24.9

ปกติ

น้ำหนักตัวเกิน

25-29.9

เพิ่มกว่าปกติ

โรคอ้วนขั้นที่ 1

30-34.9

เพิ่มขึ้นอย่างมาก

โรคอ้วนขั้นที่ 2

35-39.9

ต่ำ (เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ)

โรคอ้วนขั้นที่ 3

40 ขึ้นไป

เพิ่มขึ้นถึงขั้นรุนแรง

จาก ตารางข้างต้นจะพบว่าผู้มีน้ำหนักตัวเกิน (ค่า BMI มากกว่า 25) และผู้ที่เป็นโรคอ้วน (ค่า BMI มากกว่า 30) จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดการเจ็บป่วยอย่างมาก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าการที่มีน้ำหนักตัว
เกินหรือความอ้วนนั้นสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลายชนิด และมีผลต่อระบบการทำงานในร่างกายหลายระบบ
ด้วยกัน ได้แก่
-ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งได้แก่ โรคหลอดเลือดและหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
โรคหลอดเลือดโคโรนารี
-โรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี (gallbladder disease)
-โรคเกี่ยวกับตับ เช่น ตับแข็ง (cirrhosis)
-มะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ปากมดลูก เยื่อบุมดลูก ต่อมลูกหมาก มดลูก รังไข่ เต้านม ถุงน้ำดี
ตับอ่อน
-โรคทางเดินหายใจและปอด หายใจลำบากขณะนอนหลับ นอนกรน (snoring) เพราะทางเดิน
หายใจเริ่มตีบตัน ร่างกายจะขาดออกซิเจน ทำให้ ร่างกายพักผ่อนไม่เต็มที่ ส่งผลให้ง่วงนอนในเวลากลางวัน
บางคนอาจเป็นมากขนาดหลับในขณะขับรถ จนเกิดอุบัติเหตุได้
-โรคเกี่ยวกับไต เช่น นิ่ว ไตวายจากความดันโลหิตสูง
-โรคกระดูกและข้อต่อ โรคข้อต่อเสื่อม (os-teoarthritis in joints) โดยเฉพาะบริเวณสะโพก หัวเข่า ข้อศอก
-โรคเก๊าท์ (gout)
-โรคเบาหวาน (diabetes mellitus)
-เส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน (stroke)
-ซึมเศร้า (depression)
-เส้นเลือดขอด (varicose vein)
-เหงื่อออกมาก (sweating)
-การเป็นหมัน (infertility)

อ่านต่อ (คลิก) สำนักงานแพทย์ทหาร

อัพเดทล่าสุด