การเรียนการสอนแบบ Montessori
มอน เตสเซอรี่ (Montessori) นวัตกรรมใหม่เรียนไปพร้อมกับลูก..เจาะรายละเอียด 6 นวัตกรรมการเรียนรู้ของเด็กอนุบาล วอลดอร์ฟ ,มอนเตสเซอรี่, นีโอฮิวแมนนิสต์ ,โฮล แลงเกวจ, โปรเจคท์ แอพโพรช และ ชายด์ เซ็นเตอร์ แต่ละแบบมีข้อดีข้อจำกัดอย่างไร เพื่อให้พ่อแม่เข้าใจ และแนวทางในการ หาโรงเรียนที่เหมาะสมกับลูกต่อไป ดร.พัชรี ผลโยธิน อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการศึกษาปฐมวัย จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จะมาช่วยวิเคราะห์ให้ฟัง
มอนเตสเซอรี่ (Montessori)
อ.พัชรี เล่าถึงการให้การศึกษาเด็กของมอนเตสเซอรี่ว่า ค่อนข้างจะ ให้อิสระแก่เด็ก เด็กสามารถเลือกที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จากสภาพ แวดล้อมที่ครูจัดให้ไว้ในห้อง ซึ่งสิ่งที่เด็กเลือก ที่จะเข้า ไปเรียนรู้นี้ทาง มอนเตสเซอรี่เรียกว่า "งาน" "งาน" ของมอนเตสเซอรี่ จะวางอยู่บนชั้นให้เด็กๆ ไปเลือกหยิบมาทำ จะหยิบอันไหนมาก็ได้ จากนั้นคุณครูจะแนะนำงานนี้และสาธิตวิธีการ "ทำงาน" แล้วเด็กๆ ก็จะ ลงมือทำงานนั้นๆ อยู่บนเสื่อเล็กๆ ของตัวเองคนเดียว เมื่อเล่นเสร็จเมื่อไหร่ก็เอา "งาน" ชิ้นนั้นไปเก็บที่ งานของมอนเตสเซอรี่เป็นงานในลักษณะที่ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ปาก และกายสัมผัส เพื่อให้เด็กได้พัฒนาและใช้ประสาทสัมผัสครบทุกด้ามอนเตสเซอรี่ยังมองว่า เด็กไม่ควร เรียนรู้ด้วยการท่องจำ และการเรียนรู้ผ่านการทำงานของเด็กๆ นี้จะช่วยให้เด็ก ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีสมาธิอยู่กับการทำงานของตัวเอง และเมื่อทำงานประสบความสำเร็จ ก็จะเกิด ความ พึง พอใจ มีความสุข และจะเป็นแรงจูงใจให้เรียนรู้ต่อไป
จุดเด่นของมอนเตสเซอรี่ คือการให้เด็กได้เลือก มีเสรีภาพในการเลือกทำงาน และเมื่อเด็ก ทำงานจนเกิด ความสำเร็จจะทำให้เกิดแรงจูงใจจากภายในทำให้เด็กอยากที่จะทำงานอย่างอื่นให้ สำเร็จต่อไป โดยใช้สื่อในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก ซึ่งเมื่อเด็กๆ ได้เรียน จากของจริงแล้วจะสามารถนำไปสู่การเรียนรู้ที่เป็นนามธรรมต่อไปได้ (เช่น การเรียนรู้เรื่อง พยัญชนะต่างๆ) อีกจุดเด่นหนึ่งที่เห็นได้ชัดของมอนเตสเซอรี่ ก็คือ ครูจะรู้จักสังเกตเด็ก ซึ่งเป็นทักษะ ที่ครูบ้านเรายังขาดอยู่ แต่สำหรับครูมอนเตสเซอรี่จะต้องฝึกสังเกตเด็ก และรู้ว่าเด็กแต่ละคน มีความ สามารถ มีศักยภาพอย่างไร เพื่อจะส่งเสริมได้ถูกทางต่อไป โดยพื้นฐานเริ่มของมอนเตสเซอรี่เอง จริงๆแล้วมาจากวิธีการสอน ที่ใช้กับเด็กบกพร่อง ทางสติ ปัญญา เพราะเชื่อว่าเด็กสามารถเรียนรู้ได้ และในที่สุดเด็กคนนั้นก็สามารถ เรียนได้ เหมือนเด็ก ปกติ ซึ่งต่อมามีการปรับให้เหมาะสมที่จะใช้สอนเด็กปกติได้ ครูของมอนเตสเซอรี่จึงต้อง ฝึกการ สังเกตเด็กด้วย ขณะเดียวกันตรงจุดนี้ก็กลับมาเป็นข้อจำกัดของครูมอนเตสเซอรี่ ซึ่งถ้า หากไม่ได้ ฝึกมาโดยเฉพาะ การเรียนการสอนก็จะทำได้ไม่เต็มรูปแบบจริงๆ มอนเตสเซอรี่เป็นระบบที่ครูยอมรับ มีเจตคติที่ดีต่อเด็ก ยอมรับเด็กอย่างที่เขาเป็น และจุดนี้ก็เป็น ทั้งจุดเด่นและเป็นข้อจำกัดที่ตัวครูด้วยเหมือนกัน ว่าครูบางคนจะทำได้หรือไม่ ส่วนข้อจำกัด ที่เห็นได้ชัดก็คือ การเรียนการสอนแบบมอนเตสเซอรี่จะเป็นขั้นเป็นตอน มีรูปแบบมาแล้วคือ
1. คุณครูแนะนำงานให้เด็กได้รู้จักชื่อของสิ่งนั้นว่าคืออะไร
2. คุณครูสาธิตวิธีการทำงานให้เด็กดู และ
3. ให้เด็กลงมือทำงาน เพราะมอนเตสเซอรี่ถือว่าการทำงานต้องมีระบบ แล้วจึงให้เสรีภาพในการเลือกทำงานว่าจะทำงานอะไร
ในตรงจุดนี้ทำให้เด็กไม่ได้รู้จักลองผิดลองถูก เพราะครูแนะมาแล้วว่าของชิ้นนี้จะเล่นแบบนี้ เป็นขั้นเป็นตอนแบบนี้ แล้วเวลาเด็กไปเล่นเองก็จะเล่นแบบครูบอกตามขั้นตอน เมื่อเล่นเสร็จ ก็เอาไปเก็บที่ ซึ่งตรงจุดนี้ จะเห็นว่าเด็กมอนเตสเซอรี่สามารถควบคุมตัว เองได้ มีสมาธิ มีระเบียบเรียบร้อย ในมุมมองของ อ.พัชรีมองดูว่าธรรมชาติของเด็ก เขาใฝ่รู้ใฝ่เห็น อยากลองผิด ลองถูก แต่มอนเตสเซอรี่ให้เด็กทำตามคุณครูที่เป็นตัวแบบ เด็กมอนเตสเซอรี่จึงมีความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์น้อยกว่าเด็กอื่นๆ และอีกข้อหนึ่งก็คือ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กด้วยกันจะมีน้อย เพราะในระหว่างการทำงาน เด็กจะ ทำงานอยู่กับตัวเองเงียบๆ คนเดียวทางออก จะเอานวัตกรรมของเขามาใช้ควรจะรู้ว่าในสถานการณ์ไหนควรใช้วิธีการนี้ และใช้กับเด็กคนไหน คนที่จะนำไปใช้จึงควรศึกษานวัตกรรมให้ถี่ถ้วนว่าเหมาะกับเด็กก็หยิบมาใช้ ใช้ให้เหมาะกับบริบทของเด็กอนุบาล และสังคมไทย
อีก 5 นวัตกรรมที่เหลือ คือ ชายด์ เซ็นเตอร์,วอลดอร์ฟ,นีโออิวแมนนิสต์, โปรเจคต์ แอพโพรช และโฮล แลงเกวจ