เรื่องน่ารู้ อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ สถิติอุบัติเหตที่ผ่านมามีอะไรบ้าง และมีผลกระทบอย่างไรบ้าง


1,061 ผู้ชม

การใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในสภาวะปกติจะทำให้ประชาชนได้รับรังสีน้อยกว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินประมาณ 1.5 เท่า


อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

  การใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในสภาวะปกติจะทำให้ประชาชนได้รับรังสีน้อยกว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินประมาณ 1.5 เท่า เนื่องจากการเผาไหม้ถ่านหินจะทำให้สารกัมมันตรังสีในธรรมชาติที่ปะปนอยู่ใน ถ่านหินฟุ้งกระจายออกสู่บรรยากาศ ในขณะที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทำงานภายใต้ระบบที่ปิดมิดชิด ป้องกันการฟุ้งกระจายของสารกัมมันตรังสี

  อย่างไรก็ตาม หากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วอาจมีการแพร่กระจายของสาร กัมมันตรังสี ซึ่งจะส่งผลกระทบทางรังสีอย่างรุนแรงถึงแม้ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ออกแบบ และก่อสร้างให้มีความปลอดภัยสูงสุด (โดยค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่สูงมากนั้นส่วนหนึ่งประมาณ 30% ใช้ในการติดตั้งระบบความปลอดภัยต่างๆ) เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล แต่อุบัติเหตุย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ อาจมาจากความบกพร่องของอุปกรณ์หรือความประมาทเลินเล่อของผู้ปฏิบัติงาน อุบัติเหตุส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นเพียงเหตุขัดข้อง ธรรมดาที่เกิดขึ้นตามโรงไฟฟ้าทั่วไปเช่น ท่อน้ำรั่ว ไฟฟ้าลัดวงจร เป็นต้น เนื่องจากเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จึงทำให้ได้รับความสนใจเป็นพิเศษทำให้รู้สึกเหมือนกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มี อุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

  สถิติในรอบ 40 ปีที่ผ่านมาพบว่าเกิดอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบ เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูจำนวน 9 ครั้ง โดยอุบัติเหตุทั้งหมดมีเพียงอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลเท่า นั้นที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต

  อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในปี พ.ศ.2529 เป็นอุบัติเหตุที่ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากการเดินเครื่องไฟฟ้าตามปกติ แต่เป็นการจงใจฝ่าฝืนกฎระเบียบด้านความปลอดภัยเพื่อดำเนินการทดลองภายในโรง ไฟฟ้า โดยตัดระบบความปลอดภัยทั้งหมดออกส่งผลให้เกิดระเบิด เนื่องจากไอน้ำความดันสูงและเพลิงลุกไหม้ มีเจ้าหน้าที่ของโรงไฟฟ้าและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเสียชีวิต 31 คนผู้บาดเจ็บเนื่องจากรังสี 203 คนและต้องอพยพประชาชนโดยรอบรัศมี 30 กิโลเมตร

  ต่อมาในปีพ.ศ.2539 เมื่ออุบัติเหตุผ่านไปได้ 10 ปี องค์การอนามัยโลกได้สรุปผลการดำเนินงานการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้น พบว่ามีอัตราการเกิดโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ในเด็กเพิ่มขึ้นโดยมีผู้เสียชีวิต แล้ว 3 คน คาดว่าเป็นผลมาจากการได้รับไอโอดีนรังสีเข้าสู่ร่างกาย อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งชนิดนี้สามารถรักษาให้หายได้หากอาการยังไม่ลุกลาม ทั้งนี้ไม่พบความผิดปกติของการเกิดโรคมะเร็งในเม็ดโลหิตขาว แต่ประชาชนซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีผลกระทบทางรังสีมีอาการทางประสาทเพิ่ม ขึ้น เนื่องจากความหวาดกลัวอันตราย ซึ่งต้องได้รับการฟื้นฟูดูแลให้หมดความวิตกกังวลต่อไป

  ดังจะเห็นได้ว่านอกจากระบบความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว มาตรการด้านการควบคุมความปลอดภัยจึงเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการ ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

สถิติอุบัติเหตุทางอุตสาหกรรมที่ร้ายแรง

ปี พ.ศ.

สถานที่

เหตุการณ์

จำนวน ผู้เสียชีวิต

จำนวน ผู้บาดเจ็บ

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

2464

Oppau เยอรมนี

แอมโมเนียมไนเทรต 3000 ตันเกิดระเบิด

561

1500

-

2487

Cleveland สหรัฐอเมริกา

เพลิงไหม้ก๊าซธรรมชาติเหลว 3000 ตัน

128

200-400

-

2491

Ludwigshafen เยอรมนี

เกิดการระเบิดของไอระเหย

207

3818

-

2509

Aberfan สหราชอาณาจักร

เกิดการถล่มของกองกากถ่านหิน

147

*

-

2519

Seveso อิตาลี

สารไดออกซีนรั่ว

*

634

พื้นที่ได้รับความเสียหาย เป็นระยะทาง 4 กม. สัตว์เลี้ยงเสียชีวิตนับพัน

2522

Mississauga แคนาดา

คลอรีนรั่วจากอุบัติเหตุทางรถไฟ

-

-

-

2527

Mexico City เม็กซิโก

เพลิงไหม้จากก๊าซ LPG 6000 ตันเป็นเวลานาน 18 ชม.

>500

7097

-

 

Bhopal อินเดีย

ก๊าซเมทธิลไอโซไซยาเนต 30 ตันเกิดการรั่ว

>2000

200000

-

2529

Basle สวิสเซอร์แลนด์

เพลิงไหม้อาคารเก็บสารเคมี

   

เกิดผลกระทบ แก่สิ่งมีชีวิตในแม่น้ำไรน์ เป็นระยะทาง 250 กม. และก่อให้เกิด มลภาวะทางอากาศ

สถิติอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่สำคัญ

ปี พ.ศ.

สถานที่

เหตุการณ์

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

2498

EBR-1
(0.2 MW)
สหรัฐอเมริกา

เชื้อเพลิงหลอมละลาย เกิดการเปรอะเปื้อนรังสี ภายในโรงไฟฟ้า

-

2512

Fermi-1
สหรัฐอเมริกา
(66 MW)

เชื้อเพลิงหลอมละลายต้องใช้เวลา ซ่อมแซม 4 ปี

-

Lucens
สวิสเซอร์แลนด์
(7.5 MW)

ท่อชำรุดทำให้เชื้อเพลิง หลอมละลายและเกิดการ เปรอะเปื้อนทางรังสีภายในโรงไฟฟ้า

-

2518

Browns Ferry
สหรัฐอเมริกา
(2x1080 MW)

เกิดเพลิงไหม้สายเคเบิลต้องหยุดเดินเครื่อง 17 เดือน

-

2522

Three-Mile
Island-2
(880 MW)
สหรัฐอเมริกา

สูญเสียน้ำระบายความร้อน ทำให้ เชื้อเพลิงทั้งหมดหลอมละลาย

เกิดการรั่วของสารกัมมันตรังสีเล็กน้อย ต่ำกว่ามาตรฐานนานาชาติ

2523

Saint-Lauren A2
ฝรั่งเศส
(450 MW)

เชื้อเพลิงหลอมละลายต้องหยุดเดินเครื่อง 2.5 ปี

เกิดการรั่วของสารกัมมันตรังสีเล็กน้อย ต่ำกว่ามาตรฐานนานาชาติ

2529

Chernoby 1-4
ยูเครน
(950 MW)

เพลิงไหม้หลังจากการระเบิดของไอน้ำ

มีผู้เสียชีวิต 31 คน มีผู้บาดเจ็บ 203 คน และอพยพประชาชนในรัศมี 30 กม. สารกัมมันตรังสีแพร่กระจายไปทั่วยุโรป

2532

Vandellos
สเปน
(950 MW)

ระบบความปลอดภัยชำรุด

-

2534

Mihama-2
ญี่ปุ่น
(500 MW)

ท่อที่ใช้ผลิตไอน้ำแตกทำให้หยุดเดินเครื่องโดยอัตโนมัติ

-

2535

Lenigrad
รัสเซีย
(1000 MW)

ท่อบรรจุแท่งเชื้อเพลิงเกิดความเสียหาย

เกิดการรั่วของสารกัมมันตรังสีเล็กน้อย ต่ำกว่ามาตรฐานนานาชาติ

จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในการใช้เชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ผลิตไฟฟ้า (พ.ศ.2521-2529)

เชื้อเพลิง

จำนวนอุบัติเหตุ

จำนวนผู้เสียชีวิต

จำนวนผู้เสียชีวิต / ไฟฟ้าที่ผลิตได้
(คน/จิกะวัตต์.ปี)

ถ่านหิน
- เหมืองถล่ม

62

3600

0.34

น้ำมัน
- ฐานขุดเจาะถล่ม
- เพลิงไหม้โรงกลั่น
- อุบัติเหตุในการขนส่ง


6
15
42

*
450
1620


-
0.02
0.08

ก๊าซธรรมชาติ
- เพลิงไหม้ / การระเบิด ของถังเก็บท่อส่งก๊าซ และการขนส่ง

24

1440

0.17

พลังน้ำ
เขื่อนพัง/น้ำล้นเขื่อน

8

3839

1.41

นิวเคลียร์
- เชอร์โนบิล

1

31

0.03

ที่มา : ศูนย์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Knowledge Center)

อัพเดทล่าสุด