คำสุภาพ เป็นคำทีดีงาม แม้เเต่พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศก็ยังทรงนิยมใช้อยู่เสมอ
คำสุภาพที่ใช้กับบุคคลทั่วไป
คำสุภาพที่ใช้กับบุคคลทั่วไป
คำสุภาพ เป็นคำทีดีงาม แม้เเต่พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศก็ยังทรงนิยมใช้อยู่เสมอ สังเกตได้จากพระบรมราโชวาท และพระราชดำรัสของพระองค์ที่พระราชทานแก่ข้าราชการ และประชาชนชาวไทยในโอกาสต่างๆ
ลักษณะของคำสุภาพ
๑. เป็นถ้อยคำที่ดีงาม ไม่เป็นคำที่เหยียดหยามผู้ใด
๒. เป็นถ้อยคำที่ใช้ให้เหมาะสมกับกาลเทศะ และบุคคล
๓. เป็นถ้อยคำที่บุคคลทุกระดับใช้สื่อความหมายกันได้โดยมีการคารวะและให้เกียรติกัน
๔. ไม่ใช้คำหยาบ คำกระด้างอันเป็นที่ระคายหูระคายใจของผู้อื่น
๕. ไม่ใช้คำผวน คำที่มีความหมายสองเเง่เป็นไปในทางหยาบโลน และคำเเสลง ซึ่งคำเเสลง หรือคำคะนองนี้ เป็นคำที่นิยมพูดกันเฉพาะกลุ่มเป็นครั้งคราวแล้วก็มีคำใหม่ขึ้นมาอีก
ตัวอย่าง พระบรมราโชวาท
"เด็กเป็นผู้ที่จะรับช่วงทุกสิ่งทุกอย่างต่อจากผู้ใหญ่ รวมทั้งการรับผิดชอบในการธำรงรักษาอิสรภาพและความสงบสุขของบ้านเมือง ดังนั้นเด็กทุกคนจึงสมควรและเลี้ยงดูอย่างถูกต้องเหมาะสม ให้มีความสามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ต่างๆ พร้อมทั้งการฝึกหัดขัดเกลาความคิดจิตใจให้ประณีต ให้มีศรัทธามั่งคงในคุณความดี มีความประพฤติเรียบร้อยสุจริต และมีปัญญาฉลาดแจ่มใสในเหตุในผล หน้าที่นี้เป็นของทุกคนที่จะร่วมมือกันกระทำโดยพร้อมเพรียงสม่ำเสมอ ผู้ที่เกิดก่อน ผ่านชีวิตมาก่อนจะต้องสงเคราะห์อนุเคราะห์ผู้ที่เกิดตามมาภายหลังด้วยการ ถ่ายทอความรู้ ความดี และประสบการณ์อันมีค่าทั้งปวงให้ด้วยความเมตตาเอ็นดูเเละด้วยความบริสุทธิ์ ใจให้เด็กไทยได้ทราบเข้าใจ และสำคัญที่สุดให้รู้จักคิดด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง จนสามารถเห็นจริงด้วยตนเองได้ในความเจริญและความเสื่อมทั้งปวง"
พระ บรมราโชวาท พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็กประจำปี ๒๕๒๒
คำสุภาพที่ใช้ในโอกาสต่างๆ
๑. ถ้อยคำขอความเห็นใจ จะใช้คำสุภาพจูงใจให้ผู้ฟังเกิดความเมตตา
๒. ถ้อยคำเตือนใจให้เเง่คิด
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ภาษาไทย ป.๖. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.